6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล
6-ตุลา-ลืมไม่ได้-จำไม่ลง-ผู้เขียน-ธงชัย-วินิจจะกูล
ข้อมูลสินค้า
ราคา
350.00 315.00 บาท
ขายแล้ว
2 ชิ้น
ร้านค้า
6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง
ผู้เขียน : ธงชัย วินิจจะกูล
จำนวนหน้า : 344 หน้า
ขนาด : 16.4 x 23.9 ซม.
รูปแบบ: ปกอ่อน
9786167667843
ฟ้าเดียวกัน

หนังสือ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2558 เป็นการรวมข้อเขียนเกี่ยวกับ 6 ตุลาของธงชัย วินิจจะกูล ตั้งแต่จดหมายฉบับแรกที่เขียนขึ้นในปี 2538 จนนำมาสู่การจัดงานครบรอบ 20 ปี 6 ตุลา ในปี 2539 ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญของการเปิดเผย “ความทรงจำ” ว่าด้วย 6 ตุลาต่อสาธารณะจากมุมมองของฝ่ายซ้ายผู้ตกเป็นเหยื่อ ในการตีพิมพ์ครั้งแรกนั้น บทความปิดท้ายคืองานศึกษาความทรงจำของ “ฝ่ายขวา” ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2550

ในปี 2558 นั้น กองบรรณาธิการไม่ได้คาดคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะกลายเป็นหนังสือ “ขายดี” จนต้องนำมาพิมพ์ใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ ทว่าในปีถัดมาคือปี 2559 มีการจัดงานครบรอบ 40 ปี 6 ตุลา ซึ่งปลุกความสนใจของสาธารณชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจเหตุการณ์ 6 ตุลาอีกครั้ง หนังสือ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง จึงถูกถามหาและกลายเป็นหนังสือขายดีติดอันดับของร้านหนังสือบางร้าน

ต่อมาในปี 2560 มีโครงการบันทึก 6 ตุลา (Documentation of Oct 6) เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ผ่านการจัดทำเว็บไซต์ในลักษณะแหล่งข้อมูลออนไลน์ (Online archives) ที่มุ่งเก็บรวบรวมรักษาและจัดระบบข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายเพื่อให้ผู้สนใจเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น ในปีนั้นเองคณะทำงานโครงการบันทึก 6 ตุลาก็ได้ค้นพบ “ประตูแดง” ซึ่งเป็นวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จังหวัดนครปฐม อันนำมาสู่การจัดทำหนังสั้นเรื่อง “สองพี่น้อง” ที่นำเสนอความทรงจำของครอบครัวผู้สูญเสีย ทั้งหมดนี้ทำให้ความสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

จนเมื่อปี 2562 มีการเปิดตัวโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา (October 6 Museum Project) โดยนำวัตถุจัดแสดงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลามาเปิดให้สาธารณชนได้รับชมเมื่อวันที่ 5-6 ตุลาคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีคนรุ่นหนุ่มสาวจำนวนมากเดินทางมาชมวัตถุจัดแสดงและนิทรรศการในงานดังกล่าว พร้อมกันนั้นสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยก็ทำบทสัมภาษณ์และสารคดีเรื่อง 6 ตุลาเผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทางการสื่อสาร

แม้ยังไม่อาจบอกได้ว่าพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาจะจัดตั้งได้สำเร็จหรือไม่ แต่หนังสือ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง ฉบับพิมพ์ครั้งแรกก็หมดลงอย่างรวดเร็ว

ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้มีการเพิ่มเติม 2 บทความเข้ามา ได้แก่ บทที่ 3 “ตามหาลูก : จดจำและหวังด้วยความเงียบ” และบทที่ 4 “การทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา : ใคร อย่างไร ทำไม” รวมถึง 1 ปาฐกถาในภาคผนวก 4 คือ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย : ปาฐกถา 40 ปี 6 ตุลา 2519” นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้เขียนคำนำขึ้นใหม่สำหรับการพิมพ์ครั้งนี้โดยเฉพาะอีกด้วย

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะได้รับความสนใจและตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้งเพื่อมีส่วนช่วยให้สังคมไทยได้คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์บาดแผลที่ “ลืมไม่ได้ จำไม่ลง” ซึ่งที่สุดแล้วอาจทำให้ผู้คนมองเห็นปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้นและไม่กระทำผิดซ้ำรอยอีกในอนาคต

ต่อมาในปี 2560 มีโครงการบันทึก 6 ตุลา (Documentation of Oct 6) เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ผ่านการจัดทำเว็บไซต์ในลักษณะแหล่งข้อมูลออนไลน์ (Online archives) ที่มุ่งเก็บรวบรวมรักษาและจัดระบบข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายเพื่อให้ผู้สนใจเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น ในปีนั้นเองคณะทำงานโครงการบันทึก 6 ตุลาก็ได้ค้นพบ “ประตูแดง” ซึ่งเป็นวัตถุพยานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จังหวัดนครปฐม อันนำมาสู่การจัดทำหนังสั้นเรื่อง “สองพี่น้อง” ที่นำเสนอความทรงจำของครอบครัวผู้สูญเสีย ทั้งหมดนี้ทำให้ความสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

จนเมื่อปี 2562 มีการเปิดตัวโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา (October 6 Museum Project) โดยนำวัตถุจัดแสดงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลามาเปิดให้สาธารณชนได้รับชมเมื่อวันที่ 5-6 ตุลาคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีคนรุ่นหนุ่มสาวจำนวนมากเดินทางมาชมวัตถุจัดแสดงและนิทรรศการในงานดังกล่าว พร้อมกันนั้นสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยก็ทำบทสัมภาษณ์และสารคดีเรื่อง 6 ตุลาเผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทางการสื่อสาร

แม้ยังไม่อาจบอกได้ว่าพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาจะจัดตั้งได้สำเร็จหรือไม่ แต่หนังสือ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง ฉบับพิมพ์ครั้งแรกก็หมดลงอย่างรวดเร็ว

ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้มีการเพิ่มเติม 2 บทความเข้ามา ได้แก่ บทที่ 3 “ตามหาลูก : จดจำและหวังด้วยความเงียบ” และบทที่ 4 “การทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา : ใคร อย่างไร ทำไม” รวมถึง 1 ปาฐกถาในภาคผนวก 4 คือ “คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย : ปาฐกถา 40 ปี 6 ตุลา 2519” นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้เขียนคำนำขึ้นใหม่สำหรับการพิมพ์ครั้งนี้โดยเฉพาะอีกด้วย

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะได้รับความสนใจและตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้งเพื่อมีส่วนช่วยให้สังคมไทยได้คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์บาดแผลที่ “ลืมไม่ได้ จำไม่ลง” ซึ่งที่สุดแล้วอาจทำให้ผู้คนมองเห็นปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้นและไม่กระทำผิดซ้ำรอยอีกในอนาคต

สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์
คำนำผู้เขียน
ภาค 1
บทที่ 1 ความทรงจำ/ความเงียบงันของประวัติศาสตร์บาดแผล:ความทรงจำอิหลักอิเหลื่อเรื่องการสังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519
บทที่ 2 “เราไม่ลืม 6 ตุลา” : การจัดงานรำลึกการสังหารหมู่ 6 ตุลา ในปี 2539
บทที่ 3 ตามหาลูก : จดจำและหวังด้วยความเงียบ
บทที่ 4 การทำร้ายศพเมื่อ 6 ตุลา : ใคร อย่างไร ทำไม
ภาค 2
บทที่ 5 6 ตุลาในความทรงจำของฝ่ายขวา 2519-2549 :จากชัยชนะสู่ความเงียบ (แต่ยังชนะอยู่ดี)
บทคัดย่อ
ออกโรง ออกตัว และขอบคุณ
1. ศึกษาอะไรและอย่างไร ?
2. 6 ตุลาคือชัยชนะที่น่ายินดี
3. วาทกรรม 6 ตุลาที่เปลี่ยนไประหว่าง 2520-2539
4. ความทรงจำประมาณ 30 ปีให้หลัง
5. อดีตในทัศนะของฝ่ายขวากับความเงียบที่จำเป็นและจำใจ
6. ทิ้งท้ายว่าด้วยความทรงจำและฝ่ายขวาขนานแท้
ภาคผนวก 1. เอกสารคดี 6 ตุลา ที่หอจดหมายเหตุสำนัก
คำที่เกี่ยวข้อง
จำไม่ลืมธงชัย วินิจจะกูลลบไม่ได้ช่วยให้ลืมจะได้ไม่ลืมจันทร์ชีวิตไม่ได้สอนให้ลืมคุณเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ปากกาเขียนลบไม่ได้ความจำไม่ดีเก่งจีนได้ไม่ต้องจำไม่ลืมเลือน

สินค้าใกล้เคียง