ว่านไพลดำ 1เหง้า(L) เด่นด้านคงกระพันและสรรพคุณทางยา เหง้า หัว ไพลดำ ไพลม่วง สมุนไพร
ว่านไพลดำ-1เหง้า-l-เด่นด้านคงกระพันและสรรพคุณทางยา-เหง้า-หัว-ไพลดำ-ไพลม่วง-สมุนไพร
ข้อมูลสินค้า
ราคา
49.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า

***รับประกันสินค้าก่อนการรีวิวเท่านั้นไม่รวมการปลูกกรุณาทักแชท

ว่านไพลดำ

สมุนไพรว่านไพลดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูเลยดำ (ภาคเหนือ), ไพลดำ ไพลม่วง ไพลสีม่วง (กรุงเทพฯ), ไพลสีม่วง ดากเงาะ (ปัตตานี), จะเงาะ (มลายู-ปัตตานี), ว่านกระทือดำ เป็นต้น

ถึงเดือนพฤศจิกายน[2]

ในด้านของความเชื่อ ว่านไพลดำเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี[2] การนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี จะต้องเสกด้วยคาถา "พุทธังเป็นยา ธัมมังรักษา สังฆังหาย ตะหัง นะหิโสตัง" 3 จบ และ "นะโมพุทธายะ" 7 จบ[3] บางข้อมูลระบุว่า ว่านไพลดำจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ว่านไพลดำชนิดเนื้อในหัวเป็นสีม่วงอมน้ำตาล (เด่นในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน), และ ว่านไพลดำชนิดเนื้อในหัวเป็นสีดำ (เด่นในเรื่องการชักนำเงินทอง และปัจจุบันหายากมาก)

ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ว่านไพลดำเป็นพรรณไม้ที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษาทำได้ยาก[1] ต้องใช้ดินดำในการปลูก (ดินสะอาดกลางแจ้งที่นำไปเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียด) กลบหัวว่านอย่าให้มิด แต่ให้เหลือหัวโผล่ไว้ และก่อนรดน้ำต้องเสกด้วยคาคา "นะโมพุทธายะ" 3 จบ แล้วรดน้ำให้พอเปียกทั่ว[3]

สรรพคุณของว่านไพลดำ

ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะและยาบำรุงกำลัง (ทั้งต้น)[1] หรือจะใช้เหง้าสดตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังและเป็นยาอายุวัฒนะเช่นกัน (เหง้า)[2] ส่วนอีกตำรับให้ใช้เหง้าว่านไพลดำตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงผสมกับว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง และว่านเพชรน้อย (ที่นำมาบดแล้วเหมือนกัน และใช้อย่างละเท่ากัน) ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินก่อนอาหารครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา (เหง้า)[3]

เหง้าสดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้รับประทานเช้าและเย็น วันละ 2-3 เม็ด เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ (เหง้า)[2]

รากมีรสขื่นเอียน สรรพคุณเป็นยาแก้เลือดกำเดาออกทางปาก ทางจมูก (ราก)[2]

ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ราก)[2]

ใช้เป็นยาแก้บิด ขับลม ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กิน (เหง้า)[2]

ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)[1]

เหง้าสดนำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ (เหง้า)[2]

เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยารักษาลำไส้เป็นแผล สมานลำไส้ แก้แผลในกระเพาะ รวมไปถึงอาการปวดท้องบ่อย ๆ น้ำย่อยไม่ปกติและโรคลำไส้ต่าง ๆ (เหง้า)

เหง้าสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้กินเป็นยาระบายอ่อน ๆ (เหง้า)[2]

ช่วยขับประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาใช้กินเป็นยา (เหง้า)

ใบมีรสขื่นเอียน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ครั่นเนื้อครั่นตัว (ใบ)

เหง้านำมาฝนใช้เป็นยาทาสมานแผล (เหง้า)

ดอกมีรสขื่น สรรพคุณเป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยกระจายเลือดที่เป็นก้อนลิ่ม (ดอก)

ช่วยรักษาอาการบวม อาการช้ำทั้งตัว (ทั้งต้น)

ตำรายาไทยจะใช้เหง้านำมาฝนทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แก้เหน็บชา แก้เมื่อยขบ (เหง้า)[2] ใช้เป็นยาแก้ช้ำบวม ให้นำเหง้ามาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว แล้วกรองเอาแต่น้ำมากินก่อนอาหารครั้งละ 3 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 เวลา (เหง้า)

น้ำมันจากเหง้าใช้เป็นยาทาถูนวดแก้เหน็บชา แก้เส้นสายตามร่างกายตึง และแก้เมื่อยขบ (น้ำมันจากเหง้า)

ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย

คำที่เกี่ยวข้อง
เหง้าไพลว่านไพลดำไพลดำยาหม่องไพลดำหัวว่านไพลว่านไพลว่านไพลปลุกเสกว่านไพลสดครีมว่านไพลต้นว่านไพล

สินค้าใกล้เคียง