1เหง้าใหญ่หากไม่ได้ขนาดทางร้านจะชดเชยจำนวนให้ค่ะ
**รับประกันสินค้าก่อนการรีวิวเท่านั้นไม่รวมการปลูกกรุณาทักแชท
ไพล เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เจริญงอกงามในทุกฤดูฝน ต้นโทรมในทุกฤดูหนาว
หัว ลงหัวในดินเป็นแง่งติดกันเป็นพืดเหมือนว่านหรือขิง สูงประมาณ 1 ถึง 1.5 เมตร
เหง้า มีขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้าสีเหลือง มีกลิ่นหอมร้อนเฉพาะตัว
ใบ รูปร่างเรียวยาว ปลายใบแหลม
ดอก เป็นช่อ ลักษณะเป็นแท่งกลมยาวปลายแหลมออกจากเหง้าใต้ดิน ดอกเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นปุ่มคล้าย ลูกตุ้มถ่วงนาฬิกา โตกลม ปลายแหลม คล้ายลูกมะกอก มีดอกเล็กๆ แซมออกตามเกล็ด ดอกมีความสวยงามเช่นเดียวกับดอกขิง หรือดอกกะทือ กลีบดอกสีนวลใบประดับสีม่วง
การขยายพันธุ์
ไพลสามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด หรือ ใช้แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดิน โดยทั่วๆ ไปจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก
สภาพดิน
ดินร่วนซุย หรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี หากมีน้ำท่วมขัง ไพลจะเน่าเสีย โดยเฉพาะดินที่มีสภาพเป็นกรด เมื่อมีฝนชุกหรือความชื้นในดินสูง จะทำให้เกิดโรคแง่งเน่า
การให้น้ำ
หลังปลูกในระยะแรก รดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า
เมื่อต้นโต เว้นระยะการรดน้ำ แต่ควรสังเกตสภาพอากาศ และสภาพดิน หากอากาศร้อนจัด ฝนทิ้งช่วง หรือดินแห้งไป ควรรดน้ำเพิ่ม
การให้ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก แต่ถ้าดินเป็นดินร่วนซุย หรือมีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย
การกำจัดวัชพืช
เมื่อมีวัชพืชขึ้น ควรรีบกำจัด หากปล่อยทิ้งไว้จะกำจัดยาก
***ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีกำจัดวัชพืช เนื่องจาก ไพล ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางยา***
การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช
โดยปกติแล้ว ไพล ไม่ค่อยจะมีโรคหรือแมลงศัตรูมาทำความเสียหาย แต่ควรระวังเรื่องการระบายน้ำ อย่าให้ท่วมขัง ป้องกันโรคแง่งเน่า ซึ่งหากเกิดปัญหานี้ ให้รีบแก้ไขเรื่องการระบายน้ำในทันที
การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงวันที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไพล จะใช้ระยะเวลานาน 2 ถึง 3 ปี เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้น้ำมัน ไพล ที่มีปริมาณและคุณภาพสูง
วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้ เสียมขุดเหง้าไพลขึ้นมาจากดิน ระวังไม่ให้เกิดแผลหรือรอยช้ำกับเหง้า เขย่าดินออก ตัดรากแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
หัวไพลที่ตัดราก และผึ่งลมให้แห้งแล้ว เก็บบรรจุกระสอบพร้อมที่จะนำไปสกัดน้ำมัน โดยเครื่องกลั่นไอน้ำ
สำหรับไพลที่จะนำไปผลิตเป็นลูกประคบแห้ง ให้คัดเลือกส่วนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง มาล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง จากนั้น นำสมุนไพรมาทำให้แห้ง โดยหั่นเหง้าไพลเป็นชิ้นบาง ๆ วางบนถาดหรือกระด้ง เกลี่ยให้บาง คลุมด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการปลิวนำไปตากแดดให้แห้ง หมั่นกลับบ่อย ๆ หรือโดยการอที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส สำหรับ 8 ชั่วโมงแรก แล้วลดอุณหภูมิลงเป็น 40 ถึง 45 องศาเซลเซียส หมั่นกลับบ่อยๆ จนแห้ง