ณ บ้านวรรณกรรม หนังสือ เรื่อง จิตา / ทมยันตี บริการเก็บเงินปลายทาง
ข้อมูลสินค้า
ราคา
1,580.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า
- รายละเอียดสินค้า
-
- ชื่อเรื่อง: จิตา
- บทประพันธ์โดย ทมยันตี
- ประเภท: จิตวิญญาณ/พุทธศาสตร์/นิยายแห่งธรรม
- ปกอ่อน สองเล่มจบ
- จำนวนหน้า: 846 หน้า
- Edition: 11th (03/2564)
- ISBN (ปกอ่อน): 978-616-573-0303
- ISBN (ปกแข็ง): 978-616-573-0396
-
- เรื่องย่อ
-
- จิตา เป็นลูกสาวคนเดียวของ ทศพร และ จารวี ที่แยกครอบครัวออกมา ถึงมีอายุยังไม่เข้าอนุบาล แต่ก็ฉลาด เป็นผู้ใหญ่กว่าวัย แต่ที่ไม่เหมือนใครคือเธอมีพลังจิตพิเศษ เมื่อเริ่มก็ดูเหมือนจะใช้เพื่อความต้องการเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่นาน ก็เปลี่ยนเป็นการเหลือและน้อมนำให้สู่พระธรรม ทั้งญาติ เช่น ป้า และลูกพี่ลูกน้อง คนที่อยู่ใกล้ หรือ ผ่านมา โดยเฉพาะ คุณย่า ทัศนีย์
-
- คำนำ
-
- เมื่อครั้งที่บทประพันธ์เรื่อง ‘จิตา’ ซึ่งเป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีอำนาจพิเศษในตัวเองเรื่องนี้ตีพิมพ์เป็นตอนในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนั้น จิตาได้รับความสนใจอย่างสูงยิ่งจากผู้อ่านไทยรัฐ
- อำนาจพิเศษที่อยู่ในตัวของเด็กหญิงที่ชื่อ ‘จิตา’
- เป็นพลัง ‘สูงสุด’ แน่ เพียงแต่ข้อสงสัยคือ...เธอ ‘มีได้อย่างไร’ และ ‘ได้มาจากไหน’ แต่อะไรก็ไม่เท่ากับว่า จิตายังเด็ก ดังนั้นการจะสอนเธอในเรื่องของ ‘สติ’ เพื่อให้ควบคุมพลังงานอันสูงสุดได้
- เด็กหญิงตัวน้อยจะเข้าใจหรือ?
- พลังนั้นประจักษ์แล้ว มากด้วยพลานุภาพและอำนาจเพียงใด เช่นนั้น ยามควบคุมไม่ได้จะบังเกิดสิ่งใด
- คือพลังที่จะเผาผลาญสิ่งอื่นใดได้ กระทั่ง...มนุษย์
- คืออำนาจสูงสุดที่จะเผาผลาญได้ กระทั่ง...ตัวเอง!
-
- ทมยันตีมีความตั้งใจแน่วแน่มานานแล้วว่าก่อนตนเองจะ ‘กลับบ้าน’ จะพยายามถ่ายทอดความรู้ใน ‘พุทธปรัชญา’ และ ‘เทวศาสตร์’ ที่พอมีอยู่บ้างลงในรูปของนวนิยายเท่าที่สติและปัญญาพอมี พอทำ โดยเริ่มต้นเขียนนวนิยายตามความตั้งใจนี้ เรื่อง ‘ฌาน’ ในปี ๒๕๓๐ และ ‘จิตา’ เป็นลำดับถัดมาในปี ๒๕๓๔ ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าการอธิบายในศาสตร์ทั้งสอง เป็นเรื่องที่หนักใจพอสมควร ทว่าก็พยายามกระทำ เพราะอานิสงส์แห่งการปฏิบัตินี้ จะบังเกิดทั้งผู้อ่านและผู้เขียน
- ผู้อ่านที่ติดตามผลงานของทมยันตีมาอย่างสม่ำเสมอ จะเห็นความตั้งใจแน่วแน่นี้ ซึ่งผู้เขียนได้ลงมือกระทำไว้ในหลายแง่มุม ทั้งการประพฤติปฏิบัติธรรม ณ ล้านนาเทวาลัย เชียงใหม่ ทั้งในการบรรยาย ทั้งในงานเขียนอย่าง จิตตเทวะ, ทิพยอาภา คัมภีร์มรณะ, พิเธีย ผู้จารเทวศาสตร์ ผู้บันทึกเทวธรรม, ทิพยนิยาย, เดจาวู ฤๅมีทางอื่นไป รวมทั้งปรากฏในรูปนวนิยาย ดังเห็นได้จาก ฌาน, จิตา, มายา, ไวษณวี, ชามี และบางแง่มุมในนวนิยายอย่าง ราชาวดี, ทิพย์ และ ชามาช เปลวสุริยัน
- ที่สำคัญ ในบั้นปลายแห่งเส้นทาง ‘กลับบ้าน’ ผู้เขียนตั้งใจฝากงานชีวิตชิ้นสำคัญเรื่อง ‘จอมศาสดา’ มอบให้แก่ผู้อ่านไว้รำลึกร่วมกัน เมื่อถึงยามนั้น
-
- “การสะสมข้อมูลไว้ในวิญญาณเรียกว่า ‘สัญญา’ ภูมิแห่งวิญญาณจะสูงขึ้นเรื่อยไป ในโลกมนุษย์เราวัดฐานะคนด้วยทรัพย์สิน ด้วยตระกูล ด้วยการงาน แต่ในโลกวิญญาณเขาวัดกันด้วย ‘บารมี’ อันเป็นผลที่สะสมกันมา
- บางคนต้องเกิดมาท่ามกลางความทุกข์ยาก
- เพื่อจะได้รู้จักทุกข์ บำเพ็ญบารมีหาทางให้พ้นทุกข์
- บางคนเกิดมาท่ามกลางความร่ำรวย ทำไมต้องสละ
- เพราะรู้ว่ามีสมบัติก็ทุกข์
- คนที่เคยได้เคยมี ยากยิ่งที่จะวางในสิ่งที่เคยได้เคยมี การละวางจากสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาในทางโลกได้มากเท่าไร จะเป็นผีแก่วิญญาณเท่านั้น เวลาจึงไม่จำเป็น การประพฤติธรรมต่างหากจำเป็น”
- ‘กิเลส’ เป็นสิ่งต้องดับด้วยใจ เพราะเกิดจากใจ
- เกิดที่ใดต้องดับที่นั่น ‘ทุกข์’ อันเป็นกิเลสก็เช่นกัน!
- “ทุกคนรู้ ทุกคนเข้าใจชีวิต หากการปฏิบัติต่างหากยากหนักหนา มากแห่งมนุษย์ ‘รู้ทุกข์’ คนฉลาดอีกหลายคนรู้ถึง ‘เหตุแห่งทุกข์’ ตนด้วยซ้ำ แต่การ ‘วาง’ ยากยิ่ง!
- มีใครบ้างไม่รู้จักหน้าตาของกิเลส
- มีใครบ้างไม่รู้จักยางเหนียวร้อยรัดของตัณหา
- ‘รู้’ แต่ ‘ละ’ ไม่ได้ต่างหาก!”
-
- คนทั่วไปนับถือวิทยาศาสตร์มากกว่าพุทธศาสตร์ นับถือ ‘รูป’ มากกว่า ‘จิต’ ทั้งๆ ที่จริงแท้...โลกหมุนไปตามจิต วิวัฒนาการไปตามจิต และเป็นไปด้วยอำนาจของสิ่งเดียวคือ ‘จิต’
- ความเจริญทางวัตถุ เป็นสิ่งที่เห็นง่าย สัมผัสได้
- หากความเจริญทางจิตนั้น ‘ใครทำ ใครรู้ ใครได้’
- มนุษย์รู้จักสิ่งอื่นทั่วถ้วน หาก ‘กาย’ ตนสิ หารู้ไม่
- สิ่งใดเล่าซ่อนอยู่ สิ่งใดเล่าทรงอานุภาพ
- วัฏฏะ วนเวียน เกิด-ดับ เพราะจิตที่เกี่ยวข้องด้วยตัณหายึดเหนี่ยว และกิเลสนำให้เศร้าหมอง
- วางเถิด...วางทุกสิ่ง วางจึงว่าง
- ในความว่างจะมีพลังมหาศาล
- กุญแจ อันที่จะไขพลังนั้นมาใช้ มีประการเดียว...จิตา!
-
- ณ บ้านวรรณกรรม มีความภูมิใจยิ่ง ที่ได้ร่วมทำงานอันเป็นความตั้งใจแน่วแน่นี้ของ ทมยันตี นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ ทั้งหัวใจและวิญญาณ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน ฌาน จิตา มายา ไวษณวี ชามี จึงปรากฏเป็นนวนิยายแห่งจิตศาสตร์และวิญญาณศึกษาที่มอบไว้ให้ผู้อ่านตรึก ‘ไตร่ตรอง’ และ ‘รู้’ เป็นอานิสงส์ให้บังเกิดร่วมกันของผู้อ่านและผู้เขียน
-
- มนุษย์ที่ถูก ‘โลกวาง’ คือ ผู้แพ้
- มนุษย์ที่สามารถ ‘วางโลก’ ได้ คือผู้มีชัย!
-
- ขอให้ชัยยะแห่งจิตา จงบังเกิดแก่ทุกท่าน
-
- -
- รักชนก นามทอน
- บรรณาธิการ
- สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม
- เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
<html>
<head></head>
<body>
รายละเอียดสินค้า
ชื่อเรื่อง: จิตา
บทประพันธ์โดย ทมยันตี
ประเภท: จิตวิญญาณ/พุทธศาสตร์/นิยายแห่งธรรม
ปกอ่อน สองเล่มจบ
จำนวนหน้า: 846 หน้า
Edition: 11th (03/2564)
ISBN (ปกอ่อน): 978-616-573-0303
ISBN (ปกแข็ง): 978-616-573-0396
เรื่องย่อ
จิตา เป็นลูกสาวคนเดียวของ ทศพร และ จารวี ที่แยกครอบครัวออกมา ถึงมีอายุยังไม่เข้าอนุบาล แต่ก็ฉลาด เป็นผู้ใหญ่กว่าวัย แต่ที่ไม่เหมือนใครคือเธอมีพลังจิตพิเศษ เมื่อเริ่มก็ดูเหมือนจะใช้เพื่อความต้องการเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่นาน ก็เปลี่ยนเป็นการเหลือและน้อมนำให้สู่พระธรรม ทั้งญาติ เช่น ป้า และลูกพี่ลูกน้อง คนที่อยู่ใกล้ หรือ ผ่านมา โดยเฉพาะ คุณย่า ทัศนีย์
คำนำ
เมื่อครั้งที่บทประพันธ์เรื่อง ‘จิตา’ ซึ่งเป็นเรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีอำนาจพิเศษในตัวเองเรื่องนี้ตีพิมพ์เป็นตอนในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนั้น จิตาได้รับความสนใจอย่างสูงยิ่งจากผู้อ่านไทยรัฐ
อำนาจพิเศษที่อยู่ในตัวของเด็กหญิงที่ชื่อ ‘จิตา’
เป็นพลัง ‘สูงสุด’ แน่ เพียงแต่ข้อสงสัยคือ...เธอ ‘มีได้อย่างไร’ และ ‘ได้มาจากไหน’ แต่อะไรก็ไม่เท่ากับว่า จิตายังเด็ก ดังนั้นการจะสอนเธอในเรื่องของ ‘สติ’ เพื่อให้ควบคุมพลังงานอันสูงสุดได้
เด็กหญิงตัวน้อยจะเข้าใจหรือ?
พลังนั้นประจักษ์แล้ว มากด้วยพลานุภาพและอำนาจเพียงใด เช่นนั้น ยามควบคุมไม่ได้จะบังเกิดสิ่งใด
คือพลังที่จะเผาผลาญสิ่งอื่นใดได้ กระทั่ง...มนุษย์
คืออำนาจสูงสุดที่จะเผาผลาญได้ กระทั่ง...ตัวเอง!
ทมยันตีมีความตั้งใจแน่วแน่มานานแล้วว่าก่อนตนเองจะ ‘กลับบ้าน’ จะพยายามถ่ายทอดความรู้ใน ‘พุทธปรัชญา’ และ ‘เทวศาสตร์’ ที่พอมีอยู่บ้างลงในรูปของนวนิยายเท่าที่สติและปัญญาพอมี พอทำ โดยเริ่มต้นเขียนนวนิยายตามความตั้งใจนี้ เรื่อง ‘ฌาน’ ในปี ๒๕๓๐ และ ‘จิตา’ เป็นลำดับถัดมาในปี ๒๕๓๔ ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าการอธิบายในศาสตร์ทั้งสอง เป็นเรื่องที่หนักใจพอสมควร ทว่าก็พยายามกระทำ เพราะอานิสงส์แห่งการปฏิบัตินี้ จะบังเกิดทั้งผู้อ่านและผู้เขียน
ผู้อ่านที่ติดตามผลงานของทมยันตีมาอย่างสม่ำเสมอ จะเห็นความตั้งใจแน่วแน่นี้ ซึ่งผู้เขียนได้ลงมือกระทำไว้ในหลายแง่มุม ทั้งการประพฤติปฏิบัติธรรม ณ ล้านนาเทวาลัย เชียงใหม่ ทั้งในการบรรยาย ทั้งในงานเขียนอย่าง จิตตเทวะ, ทิพยอาภา คัมภีร์มรณะ, พิเธีย ผู้จารเทวศาสตร์ ผู้บันทึกเทวธรรม, ทิพยนิยาย, เดจาวู ฤๅมีทางอื่นไป รวมทั้งปรากฏในรูปนวนิยาย ดังเห็นได้จาก ฌาน, จิตา, มายา, ไวษณวี, ชามี และบางแง่มุมในนวนิยายอย่าง ราชาวดี, ทิพย์ และ ชามาช เปลวสุริยัน
ที่สำคัญ ในบั้นปลายแห่งเส้นทาง ‘กลับบ้าน’ ผู้เขียนตั้งใจฝากงานชีวิตชิ้นสำคัญเรื่อง ‘จอมศาสดา’ มอบให้แก่ผู้อ่านไว้รำลึกร่วมกัน เมื่อถึงยามนั้น
“การสะสมข้อมูลไว้ในวิญญาณเรียกว่า ‘สัญญา’ ภูมิแห่งวิญญาณจะสูงขึ้นเรื่อยไป ในโลกมนุษย์เราวัดฐานะคนด้วยทรัพย์สิน ด้วยตระกูล ด้วยการงาน แต่ในโลกวิญญาณเขาวัดกันด้วย ‘บารมี’ อันเป็นผลที่สะสมกันมา
บางคนต้องเกิดมาท่ามกลางความทุกข์ยาก
เพื่อจะได้รู้จักทุกข์ บำเพ็ญบารมีหาทางให้พ้นทุกข์
บางคนเกิดมาท่ามกลางความร่ำรวย ทำไมต้องสละ
เพราะรู้ว่ามีสมบัติก็ทุกข์
คนที่เคยได้เคยมี ยากยิ่งที่จะวางในสิ่งที่เคยได้เคยมี การละวางจากสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาในทางโลกได้มากเท่าไร จะเป็นผีแก่วิญญาณเท่านั้น เวลาจึงไม่จำเป็น การประพฤติธรรมต่างหากจำเป็น”
‘กิเลส’ เป็นสิ่งต้องดับด้วยใจ เพราะเกิดจากใจ
เกิดที่ใดต้องดับที่นั่น ‘ทุกข์’ อันเป็นกิเลสก็เช่นกัน!
“ทุกคนรู้ ทุกคนเข้าใจชีวิต หากการปฏิบัติต่างหากยากหนักหนา มากแห่งมนุษย์ ‘รู้ทุกข์’ คนฉลาดอีกหลายคนรู้ถึง ‘เหตุแห่งทุกข์’ ตนด้วยซ้ำ แต่การ ‘วาง’ ยากยิ่ง!
มีใครบ้างไม่รู้จักหน้าตาของกิเลส
มีใครบ้างไม่รู้จักยางเหนียวร้อยรัดของตัณหา
‘รู้’ แต่ ‘ละ’ ไม่ได้ต่างหาก!”
คนทั่วไปนับถือวิทยาศาสตร์มากกว่าพุทธศาสตร์ นับถือ ‘รูป’ มากกว่า ‘จิต’ ทั้งๆ ที่จริงแท้...โลกหมุนไปตามจิต วิวัฒนาการไปตามจิต และเป็นไปด้วยอำนาจของสิ่งเดียวคือ ‘จิต’
ความเจริญทางวัตถุ เป็นสิ่งที่เห็นง่าย สัมผัสได้
หากความเจริญทางจิตนั้น ‘ใครทำ ใครรู้ ใครได้’
มนุษย์รู้จักสิ่งอื่นทั่วถ้วน หาก ‘กาย’ ตนสิ หารู้ไม่
สิ่งใดเล่าซ่อนอยู่ สิ่งใดเล่าทรงอานุภาพ
วัฏฏะ วนเวียน เกิด-ดับ เพราะจิตที่เกี่ยวข้องด้วยตัณหายึดเหนี่ยว และกิเลสนำให้เศร้าหมอง
วางเถิด...วางทุกสิ่ง วางจึงว่าง
ในความว่างจะมีพลังมหาศาล
กุญแจ อันที่จะไขพลังนั้นมาใช้ มีประการเดียว...จิตา!
ณ บ้านวรรณกรรม มีความภูมิใจยิ่ง ที่ได้ร่วมทำงานอันเป็นความตั้งใจแน่วแน่นี้ของ ทมยันตี นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ ทั้งหัวใจและวิญญาณ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน ฌาน จิตา มายา ไวษณวี ชามี จึงปรากฏเป็นนวนิยายแห่งจิตศาสตร์และวิญญาณศึกษาที่มอบไว้ให้ผู้อ่านตรึก ‘ไตร่ตรอง’ และ ‘รู้’ เป็นอานิสงส์ให้บังเกิดร่วมกันของผู้อ่านและผู้เขียน
มนุษย์ที่ถูก ‘โลกวาง’ คือ ผู้แพ้
มนุษย์ที่สามารถ ‘วางโลก’ ได้ คือผู้มีชัย!
ขอให้ชัยยะแห่งจิตา จงบังเกิดแก่ทุกท่าน
-
รักชนก นามทอน
บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
</body>
</html>