กระทือ 1เหง้า กะทือป่า กะแวน กะแอน เปลพ้อ เฮียวข่า เฮียวแดง แฮวดำ กะทือ หัวกะทือ เหง้ากระทือ
กระทือ-1เหง้า-กะทือป่า-กะแวน-กะแอน-เปลพ้อ-เฮียวข่า-เฮียวแดง-แฮวดำ-กะทือ-หัวกะทือ-เหง้ากระทือ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
19.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า

เหง้ามีขนาดเล็กตามสายพันธ์ขอคนรับได้ไม่ดราม่านะคะ

มีดอกที่ปลายของก้านนั้น ดอกปุ้มๆ กลมยาวคล้ายฟองไข่ เป็นเกล็ดเล็กๆ คล้ายเกล็ดปลา มีดอกเล็กสีเหลืองออกแทรกตามกลีบของเกล็ดนั้นการเพาะปลูกกระทือกระทือสามารถเพาะปลูกได้ทั่วไปในทุกฤดูกาล ชอบดินร่วนซุยและมีความชุ่มชื้น มีการระบายน้ำได้ดี เวลาปลูกใช้วิธีแยกเหง้าจากกอแม่และตัดใบที่ติดมาทิ้งไป เพื่อลดการสูญเสียน้ำ ปลูกลงดินไม่ต้องลึกมากนัก คอยดูแลให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ส่วนที่ใช้เป็นยาของกระทือคือหัวหรือเหง้าสด ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บส่วนเป็นยาคือ ช่วงฤดูแล้ง

แต่ละส่วนของกระทือมีสรรพคุณทางยาดังนี้

ตามสรรพคุณยาโบราณว่า ลำต้น ราก ดอกและเกสร รสขมขื่น ออกเฝื่อนๆ เล็กน้อย มีสรรพคุณแก้ผอมเหลือง แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น แก้เบื่ออาหาร แก้ลม บำรุงธาตุ โดยนำส่วนลำต้น ราก ดอกและเกสรมาต้มในน้ำแค่พอเดือด ไม่ต้องเคี่ยวให้น้ำงวดจนเกินไป รับประทานวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ติดต่อ 3-5 วันหัวและเหง้า มีรสขมขื่นปร่า มีสรรพคุณบำรุงน้ำนม บำรุงธาตุ วิธีใช้คือนำเหง้าไพลและกระทือฝ่านเป็นแว่น แล้วแช่น้ำ ให้สตรีหลังคลอดดื่มเพื่อให้น้ำนมออกมากขึ้น และบำรุงร่างกายของหญิงหลังคลอดเองด้วยหัวและเหง้า มีสรรพคุณขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ปวดมวน แก้บิด ขับลมผาย ขับปัสสาวะ โดยนำเหง้า เผาไฟให้สุกนำไปฝนกับน้ำปูนใส รับประทานแก้บิดปวดเบ่ง แก้ แน่นท้อง ปวดบวม แก้เบื่ออาหาร แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นอก ขับเสมหะ และยังกล่าวอีกว่ากะทือป่ามีสรรพคุณแรงกว่ากะทือบ้าน และขับน้ำย่อยอาหาร แก้จุกเสียดดีกว่ากะทือบ้านหัวกระทือประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ซึ่งประกอบด้วยสาร Methyl-gingerol, Zingerone, Citral เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ขับลมได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในระดับคลินิกที่รองรับว่า มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้เซลล์เต้านมนั้นเพิ่มการสร้างน้ำนมมากขึ้นได้ ส่วนด้านความเป็นพิษ กองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีรายงานว่า กระทือไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาความเป็นพิษในคน ฉะนั้นการรับประทานกระทือที่เหมาะสมคือไม่รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน ควรผลัดเปลี่ยนสมุนไพรตัวอื่นๆ ที่สามารถช่วยบำรุงน้ำนมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ระย่อม มะละกอ ขิง เป็นต้น

#กะทือป่า#กะแวน#กะแอน#เปลพ้อ#เฮียวข่า#เฮียวแดง#แฮวดำ#กะทื #หัวกะทือ#เหง้ากระทือ

คำที่เกี่ยวข้อง
ต้นกะทือเหง้ากระเจียวป่าข่าป่าเหง้ากล้วยแดงเหง้าบัวแดงกระทือหัวข่าข่า เกษตร แดงข่า เก แดงข่าหดแดง

สินค้าใกล้เคียง