หนังสือกฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 4 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
หนังสือกฎหมายอาญา-ภาคความผิด-เล่ม-4-เกียรติขจร-วัจนะสวัสดิ์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
260.00 234.00 บาท
ขายแล้ว
398 ชิ้น
ร้านค้า
กฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 4 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
ผู้แต่ง : เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่ 2 : กันยายน 2557
จำนวนหน้า: 352 หน้า
ขนาด : 18.5x26
รูปแบบ : ปกอ่อน
สารบัญ

บทที่ 1 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีรากฐานมาจากความผิดฐานลักทรัพย์
ตอนที่ 1 ความผิดฐาน “ชิงทรัพย์” (มาตรา 339)
เป็นการลักทรัพย์
– ลักทรัพย์ คือ การเข้าครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น โดยการแย่งการครอบครอง
– หากการกระทำไม่เป็น “ลักทรัพย์” ก็ไม่ผิดฐานชิงทรัพย์
แต่อาจเป็นความผิดต่อเสรีภาพ
– หากทรัพย์เป็นของผู้กระทำเอง การกระทำไม่เป็นลักทรัพย์
จึงไม่เป็นชิงทรัพย์
– เจ้าของรวมเอาทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมไป
โดยเจ้าของรวมคนอื่นไม่ได้อนุญาต ไม่เป็นลักทรัพย์
– หากเป็นการทำร้ายหรือขู่เข็ญฯ ให้ส่งทรัพย์ให้เพื่อนำมาทำลาย
ก็ไม่เป็นลักทรัพย์ จึงไม่เป็นชิงทรัพย์
– หากการกระทำเป็นฉ้อโกง การใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อยึดเอาทรัพย์นั้นไว้ ก็ไม่เป็นชิงทรัพย์
– หากการกระทำเป็นรับของโจร การใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อยึดเอาทรัพย์นั้นไว้ ก็ไม่เป็นชิงทรัพย์
– การลักทรัพย์จะเป็นชิงทรัพย์จะต้องมีการ “ใช้กำลังประทุษร้าย”
หรือ “ขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย” เพื่อ ฯลฯ
– ตัวอย่างอื่น ๆ ของการชิงทรัพย์
– “พยายามชิงทรัพย์” คือ พยายามลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย
หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
– หากการลักทรัพย์ถึงขั้นที่เป็น “ความผิดสำเร็จ” แล้ว
การกระทำจะเป็นพยายามชิงทรัพย์ไม่ได้
– หากการกระทำไม่ใช่การใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ
ก็ไม่ใช่การชิงทรัพย์ โดยเป็นเพียงลักทรัพย์เท่านั้น
“ใช้กำลังประทุษร้าย ”
– ความหมายของ “ใช้กำลังประทุษร้าย ”
– ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กาย
หรือจิตใจของบุคคล
– คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
– ตามมาตรา 138 วรรคสอง
– การกระชากหรือแย่งทรัพย์ เช่นกระชากสร้อยคอ เป็นการใช้กำลัง
ประทุษร้ายหรือไม่
– การกระทำต่อเนื้อตัวหรือกายของผู้เสียหาย นอกเหนือจากการกระชากสร้อยคอ
เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
– การแกะสร้อยที่ข้อมือผู้เสียหาย แล้วพาหนีไปต่อหน้า เป็นวิ่งราวทรัพย์
ไม่ใช่การชิงทรัพย์ เพราะไม่มีการใช้กำลังประทุษร้าย
– หากการกระทำต่อทรัพย์เป็นการกระทำต่อเนื้อตัวหรือกายด้วย
ก็เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
– ตัวอย่างอื่น ๆ ของการใช้กำลังประทุษร้าย
– การประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล “ด้วยวิธีอื่นใด”
– การกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่
ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธี
อื่นใดอันคล้ายคลึงกัน
– การกระทำต่อทรัพย์ ไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
– การกระทำต่อเสรีภาพ ไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
“ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย”
– ความหมายของคำว่า “ในทันใดนั้น”
– การขู่เข็ญฯ จะทำด้วยวาจา หรือกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ซึ่งแสดงออกให้ผู้ถูกขู่เข็ญทราบว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
– หากชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์แล้วคุมตัวเจ้าทรัพย์ไปด้วยเป็น
ตัวประกันจะถือว่าเป็นการขู่เข็ญเจ้าทรัพย์อยู่ตลอดเวลาหรือไม่
– หากไม่ใช่เป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย
ก็ไม่ใช่ชิงทรัพย์
– ผู้ที่ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ และผู้ลักทรัพย์ต้องเป็นคนเดียวกัน
หรือเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน
– ต้องเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ “ผู้ถูกลักทรัพย์ หรือ
บุคคลที่สาม” ไม่ใช่ตัวผู้กระทำความผิดเอง
– การใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ บุคคลหนึ่ง แล้วร้องตะโกนว่า
ทำไปเพื่อต้องการทรัพย์ แม้จะมิได้เจาะจงว่าต้องการทรัพย์จากผู้ใด
ก็เป็นชิงทรัพย์ได้
– การใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ ยังต้องไม่ “ขาดตอน” จากการลักทรัพย์
– ถ้ากำลังพาทรัพย์หนีติดต่อกันไป แม้จะไกลเท่าใด ก็ไม่น่าจะขาดตอน
– คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยว่า การลักทรัพย์ยังไม่ “ขาดตอน”
ดังนั้น การทำร้ายหรือขู่เข็ญจึง
– แม้ขณะที่คนร้ายทำร้ายหรือขู่เข็ญฯ คนร้ายจะทิ้งทรัพย์แล้ว
หากการลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน ก็เป็นชิงทรัพย์ได้
– หากทำร้ายหรือขู่เข็ญฯ กระทำเมื่อการลักทรัพย์ขาดตอนแล้ว
ผู้กระทำผิดฐานลักทรัพย์กรรมหนึ่ง และทำร้ายอีกกรรมหนึ่ง
– หากทำร้ายหรือขู่เข็ญฯ กระทำในขณะที่การลักทรัพย์
ยังไม่ขาดตอน เป็นกรณีกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
– การใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ ผู้กระทำต้องมีเจตนาธรรมดา
กล่าวคือประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผล
ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ เพื่อ ฯลฯ ตามที่ระบุไว้ใน
มาตรา 339 (1)-(5) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
– มาตรา 339 (1)
เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์
เพื่อให้ความสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไป
– มาตรา 339 (2) เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
– มาตรา 339 (3) เพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
– มาตรา 339 (4) เพื่อปกปิดการกระทำความผิดนั้น
– มาตรา 339 (5) เพื่อให้พ้นจากการจับกุม
– การใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ เพื่อให้พ้นจากการจับกุม อาจจะ
– กระทำต่อผู้เสียหายที่ถูกลักทรัพย์ หรือ กระทำต่อบุคคลที่สามก็ได้
ตัวการในการชิงทรัพย์
– บุคคลสองคนขึ้นไป จะเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 ในการชิงทรัพย์
หรือปล้นทรัพย์ (แล้วแต่กรณี) จะต้องมีการกระทำร่วมกันและเจตนา
ร่วมกันทั้งในการลักทรัพย์ และในการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ
– หากมีการกระทำร่วมกันและเจตนาร่วมกันทั้งในการลักทรัพย์ และในการ
ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญฯ แล้ว แม้การใช้กำลังประทุษร้าย หรือ
ขู่เข็ญฯ จะกระทำโดยผู้ร่วมกระทำเพียงคนเดียว ผู้ร่วมกระทำคนอื่น ๆ
ซึ่งไมได้ลงมือทำร้ายหรือขู่เข็ญฯ ด้วย ก็เป็นตัวการในการชิงทรัพย์
– เป็นตัวการในการชิงทรัพย์แล้ว มิได้เป็นตัวการในการฆ่าเจ้าทรัพย์
ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังด้วย ก็ไม่เป็นตัวการในความผิดฐานชิงทรัพย์
เป็นเหตุให้คนตายตามมาตรา 339 วรร
คำที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 2หนังสือกฎหมายอาญาภาคความผิดเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์กฎหมายอาญาภาคความผิดสรุปกฎหมายอาญาภาคความผิดกฎหมายอาญาภาคความผิดและลหุโทษคำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดกฎหมายอาญาภาคความผิด คณพลกฎหมายอาญา เกียรติขจรอาญาภาคความผิด ทวีเกียรติ

สินค้าใกล้เคียง