ไกล กะลา อัตชีวประวัติ โดย เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน A Life Beyond Boundaries ไอดา อรุณวงศ์ แปล
ไกล-กะลา-อัตชีวประวัติ-โดย-เบเนดิกท์-แอนเดอร์สัน-a-life-beyond-boundaries-ไอดา-อรุณวงศ์-แปล
ข้อมูลสินค้า
ราคา
330.00 บาท
ขายแล้ว
2 ชิ้น
ร้านค้า
ไกลกะลา อัตชีวประวัติ โดย เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน A Life Beyond Boundaries ไอดา อรุณวงศ์ แปล สำนักพิมพ์ อ่าน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๒๔๘ หน้า ปกอ่อน

หมายเหตุผู้แปล ถึงผู้เขียนและผู้อ่าน

หนังสือเล่มนี้เลือกใช้ชื่อไทยว่า ‘ไกลกะลา’ เพื่อเป็นการถ่ายความกลับมาสู่ต้นธารของมัน คือความรู้สึกจับใจของผู้เขียนต่อสํานวน ‘กบในกะลา’ อันเขาอธิบายแก่ผู้อ่านในโลกภาษาอังกฤษว่ามีใช้ในภาษาไทยและอินโดนีเซีย แต่ในเมื่อต้นร่างหนังสือของเขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อหนังสือจึงเป็นในเชิงอธิบายความว่า ‘A Life Beyond Boundaries’ คือชีวิตที่ไปพ้นจากกรอบจํากัดของความเป็นเขตแดนหรือพรมแดน อันหมายรวมได้ในหลายแง่ รวมถึงในแง่ของความเป็นชาติ ครั้นยามนี้เมื่อแปลเป็นฉบับพากย์ไทย จึงช่วยไม่ได้ที่ข้าพเจ้าจะแปลให้ชื่อนั้นย้อนกลับมาหาจินตภาพเดิมของผู้เขียนในโลกภาษาไทย อันเป็นจุดตั้งต้นที่กลายมาเป็นปลายทาง

สำนวนไทยว่า ‘กบในกะลา’ นั้น เป็นที่เข้าใจกันอยู่ว่ามีความหมายถึงภาวะโลกแคบ คือไม่รู้เรื่องรู้ราว หรือมีความรับรู้น้อย หรือไม่เปิดหูเปิดตา ยึดมั่นแต่โลกแคบๆ ของตนว่าคือโลกทั้งใบ ครั้นในยุคร่วมสมัย สํานวนนี้กลายมามีนัยถึงสังคมอันจําเพาะว่าคือไทย ที่มักถือว่าตนนั้นในทางหนึ่งสากลเสียยิ่งกว่าโลกทั้งใบ และในอีกทางก็เป็นโลกที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จนเกิดเป็นวิสามานยนามพันทางของชื่อประเทศขึ้นใหม่ว่า กะลาแลนด์ ในแง่นี้ กะลา จึงเพิ่มนัยต่อความเป็นชาตินิยมขึ้นมาได้เหมาะเจาะโดยปริยาย สอดคล้องกับเจตนาของผู้เขียนที่จะสนทนาในประเด็นชาตินิยมนี้ อันเป็นประเด็นที่วงวิชาการระดับโลกยกให้เขาเป็นนักคิดคนสําคัญผู้สร้างคําอธิบายเชิง ‘ทฤษฎี’ เกี่ยวกับมันขึ้นมา

ในฉบับแปลไทยนี้ ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าทุกข้อความไม่ว่าอยู่ในวงเล็บ ( ) หรือ [ ] ล้วนเป็นของผู้เขียน รวมทั้งเชิงอรรถที่เป็นดอกจันท้ายหน้า การขยายความใดๆของผู้แปลจึงเป็นเชิงอรรถตัวเลขซึ่งไปกองไว้ที่ท้ายเล่มทั้งหมดเพื่อมิให้สับสนกัน แต่แม้จะได้ขยายความไว้ให้บ้าง ก็ขอได้อย่าคาดหวังว่าข้าพเจ้าจะขยายความให้ถ้วนทั่วทุกจุดไป เนื่องจากข้าพเจ้าถือว่าในเมื่อสุดท้ายเรามีอันต้องมาแปลจากฉบับที่เขียนสําหรับผู้อ่านในโลกภาษาอังกฤษเสียแล้ว ข้าพเจ้าก็ขอเรียนว่าข้าพเจ้าจะไม่พยายามช่วยผู้อ่านมากไปกว่าที่ผู้เขียนไม่ได้พยายามไว้ให้ ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจอยู่ว่ามันคือการลงทัณฑ์ (หากมิใช่การเอาคืน) อย่างสมน้ำหน้า ที่ข้าพเจ้าไม่ยอมตกลงใจร่วมทําต้นฉบับภาษาไทยสำหรับผู้อ่านไทยโดยตรงกับเขาตั้งแต่แรกที่เขาเคยมาพยายามหยอดไว้ ตอนที่เขานำฉบับภาษาญี่ปุ่นเล่มน่าเอ็นดูที่เขียนสำหรับผู้อ่านญี่ปุ่นเป็นการเฉพาะมาอวดข้าพเจ้าว่าเขาอยากเขียนในภาษาจำเพาะสำหรับผู้อ่านกลุ่มจำเพาะแบบนี้ มากกว่าภาษา ‘สากล’ ที่ทำให้เขาไม่นึกสนุก เพราะไม่รู้ว่าตัวเองคุยอยู่กับใคร

อย่างไรก็ดี ในเมื่อข้าพเจ้ามิใช่เป็นแต่เพียงผู้แปล หากยังเป็นบรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์เองด้วย มีหรือที่ข้าพเจ้าจะไม่ฉวยโอกาสนี้เอาคืนกับผู้เขียนอย่างเขาเช่นกัน ดังนั้นจึงขอให้ผู้อ่านทราบว่าดัชนีของหนังสือเล่มนี้ก็มาจากฐานของการที่ข้าพเจ้าเคยเถียงกับเขาผู้เขียนว่า ข้าพเจ้าแอบ
รําคาญขนบของการมีดัชนีให้นักวิชาการ นักศึกษา นักวิจัยได้ใช้งาน เพราะมันแปลว่าพวกเขาส่วนใหญ่มักลงเอยด้วยการไม่อ่านหนังสือเล่มน้ันๆเองจนจบ แต่อาศัยเปิดคําค้นเป็นทางลัดโกงน้ำใจคนเขียนหนังสืออยู่ร่ำไป รวมถึงตัวเขาเองด้วยที่พอเจอดัชนีที่ไม่ละเอียดแล้วก็บ่นกับข้าพเจ้าว่า ดูสิ คนทําดัชนีนี่ขี้เกียจเหลือใจ

ดัชนีของเล่มนี้จึงดัดหลังให้เป็นดัชนีสำหรับคนเขียนและคนอ่านที่อ่านจริงๆ ไม่ใช่แค่คนที่ค้นคว้าวิจัย คำค้นต่างๆจึงมีเพื่อให้ข้อมูลในวงเล็บสำหรับผู้อ่านที่ได้อ่าน ว่าคำหรือชื่อภาษาต่างประเทศนั้นสะกดในต้นฉบับว่าอย่างไร บางคําในภาษาอินโดนีเซียนั้นไม่ได้บอกแค่ว่าต้นฉบับของผู้เขียนสะกดอย่างไร แต่แถมให้ว่าการสะกดแบบปัจจุบันสะกดแบบไหน การเก็บชื่อบุคคลก็เก็บอย่างบ้าจี้บนฐานว่าเก็บไปเสียทุกชื่อไม่ว่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือไม่ ต่อให้มีแค่ชื่อต้นหรือถูกเอ่ยถึงเพียงผ่านๆก็จะเก็บไว้ เพราะมันจะเป็นดัชนีสําหรับผู้เขียน ที่เขียนหนังสือนี้ในฐานะบันทึกความทรงจํา ซึ่งหมุดหมายในการเล่าของเขานั้นข้าพเจ้าจับสังเกตว่ามันแวดล้อมอยู่กับชื่อและตัวบุคคลที่เขาจําได้ไม่ว่าลางเลือนแค่ไหน รวมถึงข้อเขียนสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ที่ข้าพเจ้าคงชื่อไว้ในภาษาต้นฉบับโดยไม่แปลหรือถ่ายเสียง แล้วทิ้งรายชื่อไว้ในดัชนีเป็นลิสต์ยาวอย่างที่สมัยเรียนเขาเคยจดลงสมุดบันทึกไว้ทุกรายการที่อ่านไม่ว่ามันจะเข้าท่าหรือไม่ เขาประทับใจกับลำพังแค่จำนวนของมัน

และในฐานะที่เขาเป็นนักวิเคราะห์การเมืองผู้ชอบใช้สายตาแบบประวัติศาสตร์ระยะยาวอย่างน่าหมั่นไส้เวลาถกเถียงกับข้าพเจ้าถึงสถานการณ์เฉพาะหน้าอันสาธารณ์อย่างสถานการณ์การเมืองในชาติสยามไทย ข้าพเจ้าจึงเก็บดัชนีโดยประชดไว้ให้ถึงประดาชื่อสถานการณ์หรือวิกฤติใหญ่ๆในประวัติศาสตร์โลกที่เขาชอบใช้เป็นหมุดหมาย

แลแน่นอนว่าเมื่อดัชนีเล่มนี้ไม่ใช่สำหรับคนขี้เกียจอ่าน ข้าพเจ้าจึงไม่ช่วยชี้เบาะแสคำที่เป็นแนวคิดสำเร็จรูปใดๆไว้ให้ แต่ข้าพเจ้าจงใจเก็บคำจำพวก ‘โชค’ และ ‘ความบังเอิญ’ ที่เขาบ่นว่าไม่เห็นมีคนให้ความสนใจ อันที่จริงข้าพเจ้ายังอยากเก็บอีกบางคำเป็นการดักทางเขา เช่น คําว่า ‘เปิดหูเปิดตา’ (revelation) ซึ่งข้าพเจ้าจับได้ว่าเขาใช้บ่อยจนดูจงใจ (น. 32, 37, 91, 97, 187 แถมคําว่า เบิกเนตร น. 82 ฮ่าฮ่า!)

ที่ข้าพเจ้าเล่นเรื่อยเปื่อยแบบนี้ได้ก็เพราะได้รับน้ําใจจากบุคคลจํานวนหนึ่ง ซึ่งจู่ๆ ข้าพเจ้าก็ติดต่อไปขอความช่วยเหลือจากพวกเขา บนฐานของความเกี่ยวพันในความทรงจําระหว่างข้าพเจ้ากับผู้เขียน โดยที่พวกเขาอาจไม่ทันรู้ตัวแต่อย่างใด ข้าพเจ้าได้รับน้ำใจที่ล้นเหลือจาก อ.เพ็ญศรี
พานิช ในการถอดเสียงและขยายความชื่อเฉพาะต่างๆในภาษาอินโดนีเซีย ข้อมูลในเชิงอรรถผู้แปลที่เกี่ยวกับอินโดนีเซีย ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคือความอนุเคราะห์จากเธอ ผู้ซึ่งข้าพเจ้าตัดสินใจไปปรึกษามิใช่เพียงเพราะเป็นผู้เ
คำที่เกี่ยวข้อง
ไกลกะลานิดา แปลกะลาแอนเดอร์สันอัตชีวประวัติดากะบ้องกะลากระดุมกะลาหมวกกะลาน้ำตกกะลา

สินค้าใกล้เคียง