การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
การปฏิวัติสยาม-พ-ศ-2475-นครินทร์-เมฆไตรรัตน์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
400.00 360.00 บาท
ขายแล้ว
6 ชิ้น
ร้านค้า
การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้เขียน : นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
จำนวนหน้า : - หน้า
ขนาด : 16.4 x 23.9 ซม.
รูปแบบ: ปกอ่อน (P)
9786169023852
ฟ้าเดียวกัน

ผู้เขียนรู้สึกเป็นเกียรติและดีใจเป็นอย่างยิ่งที่หนังสือ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เล่มนี้ จะได้รับการพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 5 โดยที่ทางสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันได้แสดงความประสงค์ที่จะจัดพิมพ์ขึ้นในรูปลักษณ์ใหม่ที่มีขนาดเล็กและเหมาะสม เพื่อที่จะได้จัดวางจำหน่ายและคาดหวังว่าคงจะมีการเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

นับจากที่หนังสือเล่มนี้ได้ถูกจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ผู้เขียนได้ทำการแก้ไขครั้งใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นการปรับปรุงแก้ไขรวม 3 ครั้ง โดยได้เพิ่มเติมภาค ผนวกที่สำคัญลงไปในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นเป็นต้นมา ผู้เขียนเองก็มิได้ปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมอะไรอีกเลยในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2543 และครั้งที่ 4 ซึ่งจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2546

สำหรับในการพิมพ์ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2553 นี้ ผู้เขียนได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์สุวัสดี โภชน์พันธุ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้กรุณาอ่านและตรวจทานหนังสือต้นฉบับของผู้เขียนอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งเธอพบว่ามีคำผิดและข้อบกพร่องในภาษาและในคำอธิบายต่างๆ จำนวนหนึ่ง นับรวมกันแล้วประมาณหลายสิบแห่ง ฉะนั้นผู้เขียนจึงได้ทำการปรับปรุง แก้ไขต้นฉบับเสียใหม่ และขอเรียกการพิมพ์ครั้งนี้ว่าเป็นฉบับพิมพ์ใหม่ที่มีการปรับปรุง แก้ไขเป็นครั้งที่ 3

ในอันที่จริง ผู้เขียนได้รับคำแนะนำจากผู้อ่านหลายท่าน ให้เขียนบทสรุปของหนังสือเสียใหม่ เนื่องด้วยกาลเวลานั้นได้เปลี่ยนแปลงไปนานพอสมควรแล้ว อีกทั้งในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา การตีความที่เกี่ยวข้องกับ “การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นั้น กล่าวได้ว่าได้มีการอธิบายขยายความออกไปอีกพอสมควร

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเองมีความเห็นว่า การตีความเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งกับการรับรู้ ความเข้าใจในแนวความคิดต่างๆ ทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจการเมือง ตัวอย่างเช่นความเข้าใจว่าประชาชนคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างกับประชานิยมอย่างไร เป็นต้น อย่างไรก็ดี การตีความทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวและเป็นกิจกรรมที่สามารถโต้เถียงกันได้มากนั้น ในอีกทางหนึ่งคงต้องถูกควบคุม หรือถูกจำกัด หรือถูกกำหนดกรอบของการตีความโดยข้อมูลและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งในประการหลังนี้ผู้เขียนกลับมีความเห็นว่า เรื่องราวที่เป็นข้อมูลและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นั้น ยังไม่ได้มีอะไรที่งอกงามขึ้นมากนักภาย หลังจากที่ผู้เขียนได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นแล้ว

ฉะนั้น ผู้เขียนจึงยังคงมีความประสงค์ที่จะรักษาเนื้อหาต่างๆ ไว้ตามเดิมเกือบทั้งหมด ยกเว้นแต่คำผิดและข้อบกพร่องในเรื่องของการสะกดคำและในการอธิบายความบางตอน ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขใหม่ให้มีความสมบูรณ์ดังได้กล่าวไว้แล้ว

ขอขอบคุณ คุณธนาพล อิ๋วสกุล แห่งสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ที่ได้แสดงความกระตือรือร้นในการจัดพิมพ์หนังสือขึ้นใหม่อย่างสวยงามและประณีต รวมทั้งมิตรภาพ และกัลยาณมิตรทางปัญญา ซึ่งนักคิด นักเขียนและนักประวัติศาสตร์การเมืองรุ่นเยาว์ หลายท่านได้แสดงออกและมีความผูกพันกับผู้เขียนมาเป็นเวลาช้านาน แม้นว่าเราทั้งหลายจะมีการโต้เถียงและมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมากในหลายเรื่องหลาย ราวก็ตาม

สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์
คำนำ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
คำนำผู้เขียนในการพิมพ์ครั้งแรก
คำนำผู้เขียนในการพิมพ์ครั้งที่ 2
คำนำผู้เขียนในการปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 3
บทที่ 1 ความคิด กลุ่มสังคม และกระบวนการทางประวัติศาสตร์ของสยามใหม่
ภาคที่ 1 การเคลื่อนไหวทางภูมิปัญญาของกลุ่มสังคมต่างๆ ของสยามในทศวรรษ 2470
บทที่ 2 วัฒนธรรม ความคิด และการปรับตัวของกลุ่มเจ้านาย
บทที่ 3 วัฒนธรรมข้าราชการกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง
บทที่ 4 ความนึกคิดทางสังคมการเมืองของคนชั้นกลางในเขตเมืองหลวง
บทที่ 5 ความนึกคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจของราษฎร
บทที่ 6 อุดมคติและอุดมการณ์ของกลุ่มผู้นำทางความคิดในสมัยการปฏิวัติ
ภาคที่ 2 การปรับตัวของสถาบันการเมือง กระบวนการปฏิวัติ และผลสืบเนื่อง
บทที่ 7 การปรับตัวของสถาบันการเมืองในช่วงปลายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
บทที่ 8 การยึดอำนาจวันที่ 24 มิถุนายนกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงหนึ่งปีแรก
บทที่ 9 ความขัดแย้งทางความคิดกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่สอง
บทที่ 10 ภูมิปัญญากับสถาบันการเมืองของรัฐประชาชาติสยามในปลายทศวรรษ 2470
บทสรุปการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก : ลำดับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในทศวรรษ 2470
ภาคผนวก ข : นามานุกรมรายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา(เรียงตามลำดับตัวอักษร) ภาคผนวก ค : รายนามสมาชิกคณะราษฎรจำนวน 115 คน
บรรณานุกรม
ที่มาภาพ
ดรรชนี
คำที่เกี่ยวข้อง
การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475การปฏิวัติสยามปฏิวัติสยามสยามนครินทร์ปฏิวัติสยาม 2475ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475การปฏิวัติข้ออ้างการปฏิวัติการปฏิวัติฝรั่งเศสการปฏิวัติเวทมนตร์

สินค้าใกล้เคียง