ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา-วรเจตน์-ภาคีรัตน์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
500.00 บาท
ขายแล้ว
314 ชิ้น
ร้านค้า
ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ผู้แต่ง : วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่ 2 : กุมภาพันธ์ 2564
จำนวนหน้า: 544 หน้า
ขนาด : 16.5X23 ซ.ม.
รูปแบบ : ปกอ่อน / 9786168300008
รูปแบบ : ปกแข็ง / 9786167158761

ถึงแม้ว่าโดยหลักแล้วผู้เขียนมุ่งหวังให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบการบรรยายวิชานิติปรัชญาของผู้เขียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หากหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์ วิชาปรัชญา หรือวิชาการทางสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไปที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับปรัชญาและกฎหมาย ผู้เขียนจะรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง หวังว่าหนังสือ ประวัติศาสตร์ความคิดนิติปรัชญา เล่มนี้จะช่วยทำให้นักศึกษาและผู้ที่สนใจ เห็นความหลากหลายในทางความคิดเกี่ยวกับการตอบคำถามที่เป็นปัญหารากฐานของกฎหมายมากขึ้น มีความรอบรู้ มีโลกทัศน์และมีจิตใจที่กว้างขวางขึ้นและหวังว่างานเขียนเรื่องนี้จะช่วยสร้างเสริมเติมแต่งสิ่งที่ยังขาดอยู่ในวงวิชาการทางนิติปรัชญาในประเทศไทยแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม
--บางตอนจากคำนำในการพิมพ์ครั้งแรก

แม้กระนั้นในฐานะที่เป็นผู้สอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และนิติปรัชญา การรับบทบาทจำเลยในคดีลักษณะเช่นนี้ก็มีด้านที่ท้่าทายอยู่ และเป็นโอกาสอันดีที่จะนำปัญหาทางกฎหมายอันเชื่อมโยงกับแนวความคิดในทางนิติปรัชญาไปสู่ทางปฏิบัติ นั่นคือ ปัญหาว่าประกาศ คสช. ที่กำหนดโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งซึ่งกำหนดขึ้นภายหลังจากที่ คสช. เข้าช่วงชิงอำนาจรัฐโดยใช้กำลังทหารถือเป็นกฎหมายหรือไม่ ถ้าหากเป็นกฎหมายแล้วจะใช้ับังคับได้หรือไม่ เพียงใด
--บางตอนจากคำนำในการพิมพ์ครั้งที่ ๒

เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ที่เกิดการล้มล้างรัฐธรรมนูญและการแย่งชิงอำนาจรัฐหรือการรัฐประหารหลายครั้งหลายหน เราจะพบว่าบรรดานักกฎหมายที่เข้าไปรับใช้คณะรัฐประหาร ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เข้าไปเพราะมีทัศนะหรือจุดยืนทางนิติปรัชญา แต่เข้าไปเพราะทัศนะทางการเมืองหรือเข้าไปเพราะแสวงหาผลประโยชน์หรืออำนาจ...อาจกล่าวได้ว่า นักกฎหมายไทยที่เข้าไปรับใช้อำนาจของคณะรัฐประหาร ไม่อาจจัดว่ามีความคิดทางนิติปรัชญาในสำนักไหนได้ทั้งสิ้น ความคิดหลักของนักกฎหมายเหล่านี้ ซึ่งก็คือการรับใช้อำนาจ ไม่มีทางจะถือเป็นสำนักความคิดทางนิติปรัชญาได้
--บางตอนจากบทที่ ๙

สารบัญ

คำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒
คำนำฉบับพิมพ์ครั้งแรก
บทนำ

บทที่ ๑ การอุบัติขึ้นของนิติปรัชญาและนิติปรัชญาในยุคเริ่มต้น
บทที่ ๒ นิติปรัชญาโสฟิสต์
บทที่ ๓ กฎหมายและความยุติธรรม: ว่าด้วยปรัชญาของโสคราตีส เพลโต และอาริสโตเติล
บทที่ ๔ นิติปรัชญาสโตอิกและนิติศาสตร์โรมัน
บทที่ ๕ นิติปรัชญาสมัยกลาง
บทที่ ๖ นิติปรัชญาช่วงรอยต่อระหว่างสมัยกลางและสมัยใหม่
บทที่ ๗ นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงแรก)
บทที่ ๘ นิติปรัชญาสมัยใหม่ (ช่วงหลัง)
บทที่ ๙ นิติปรัชญาปรายศตวรรษที่ ๑๘ และนิติปรัชญาในศตวรรษที่ ๑๙
บทที่ ๑๐ นิติปรัชญาในศตวรรษที่ ๒๐

บรรณานุกรม
ดัชนี
คำที่เกี่ยวข้อง
วรเจตน์ ภาคีรัตน์นิติปรัชญา วรเจตน์นิติปรัชญาหนังสือนิติปรัชญานิติปรัชญา ปรีดีนิติปรัชญา จรัญนิติปรัชญาเบื้องต้นนิติปรัชญา สมยศนิติปรัชญาแนววิพากษ์ประวัติศาสตร์ปรัชญา

สินค้าใกล้เคียง