อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร
อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ-ผศ-ดร-ประภัสสร์-ชูวิเชียร
ข้อมูลสินค้า
ราคา
490.00 บาท
ร้านค้า
อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ มี ๓๘๔ หน้า
อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง
ความเฟื่องฟูของเมืองธนบุรี หรือ "บางกอก" ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่แถบนี้ได้รับความสนใจจากกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมากเพราะสามารถตั้งฐานกำลังควบคุมการเดินทางเข้าออกพระราชอาณาจักร และยังมีผลผลิตพิเศษ เช่น ของสวน อาหารทะเล ส่งผ่านแม่น้ำลำคลองขึ้นมาป้อนยังราชธานีอย่างอุดมสมบูรณ์ ข้อมูลดังกล่าวปรากฏชัดในเอกสารประวัติศาสตร์เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และท้ายที่สุดนั้น ด้วยความเหมาะสมพรั่งพร้อมด้านทรัพยากรกับยุทธศาสตร์ พื้นที่แถบนี้ก็ถูกเลือกขึ้นเป็นมหานครศูนย์กลางพระราชอาณาจักรแทนที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งถูกทำลายล้างไปใน พ.ศ. 2310 ภาพทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้คงแจ่มชัดขึ้นหากนำเอาหลักฐานศิลปกรรมโบราณมาวางไว้เคียงคู่กับข้อมูลสนเทศด้านภูมิศาสตร์แม่น้ำลำคลอง เพื่อเห็นความงอกเงยของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 24 สำหรับหนังสือ "อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง" นี้ผู้เขียนได้พัฒนาปรับปรุงมาจากงานวิจัยเรื่อง "หลักฐานศิลปกรรมอยุธยาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ในฐานะหัวเมือง "ปากใต้" สมัยอยุธยา" ซึ่งได้รับทุนวิจัยและสร้างสรรค์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2557 โดยเกิดจากความตั้งใจที่จะบันทึกร่องรอยเก่าแก่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในรูปของศิลปกรรมสมัยอยุธยาที่นับวันจะถูกคุกคามจากความเจริญอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมานี้ อาจทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของกรุงเทพฯ และเมืองโดยรอบสูญหายไปในเวลาอันสั้นดังที่ได้เกริ่นมาข้างต้น ผู้เขียนขอคารวะแก่ดวงจิตของ น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฎะ) ผู้ทุ่มเททำการสำรวจเผยแพร่หลักฐานศิลปกรรมของชุมชน วัดวาอารามในย่านบางกอกและใกล้เคียงไว้ด้วยใจรักและศรัทธา หาไม่แล้วคงไม่มีหลักฐานใดเหลือให้ศึกษาได้อีกต่อไป
ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร
บทที่ 1 แม่น้ำลำคลองกับชุมชนที่ "ปากใต้" พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสมัยอยุธยา
บทที่ 2 วัดปรางค์หลวง สถาปัตยกรรมอยุธยาที่เก่าแก่ที่สุดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
บทที่ 3 พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาที่พบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หลักฐานศิลปกรรมสำคัญของชุมชนยุคแรก
บทที่ 4 ใบเสมอ ร่องรอยการสถาปนาวัดวาอารามสมัยอยุธยาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
บทที่ 5 อาคารอุโบสถวิหาร หลักฐานความเฟื่องฟูของพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในสมัยอยุธยา
บทที่ 6 เจดีย์ศิลปะอยุธยาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับหลักฐานที่เหลืออยู่จำกัด
บทที่ 7 พัฒนาการของย่านกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสมัยอยุธยาวิเคราะห์จากความสัมพันธ์ระหว่างศิลปกรรมกับภูมิประเทศและชุมชน
บทที่ 8 บทสรุป ข้อเสนอแนะ การเผชิญหน้ากับอนาคตที่ไร้อดีตของกรุงเทพฯ และปริมณฑล
คำที่เกี่ยวข้อง
วิเชียรมาศปลาร้าวิเชียรวิเชียรชาติโจ๊ก ย่านชิ้น ย่านกำย่านสามย่านปลา ย่านย่านดาโอ๊ะกระเป๋า ย่าน

สินค้าใกล้เคียง