เหรียญพ่อปู่ ยี่กอฮง ตะกั่วไม่ตัดปีก หน้ากากนวะ หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2564
ข้อมูลสินค้า
ราคา
1,850.00 1,758.00 บาท
ร้านค้า
เหรียญพ่อปู่ ยี่กอฮง ปี 2564
หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง จังหวัดปราจีนบุรี
ยี่กอฮง 168 ครบรอบ 172 ปี ชาตกาล
(รุ่นแรก) หลวงปู่บุญมา โชติธรรม
สำนักสงฆ์ เขาแก้วทอง ปราจีนบุรี
เนื้อตะกั่วไม่ตัดปีก หน้ากากนวะ
จัดสร้าง 199 เหรียญ
มีโค๊ตและเลขกำกับ
ขนาดประมาณ 3.0 ซม x 4.0 ซม
พร้อมกล่อง รับประกันพระแท้
อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว หลวงปู่บุญมา โชติธรรม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง ปราจีนบุรี
ปลุกเสก 3 วาระ
วาระแรก 19 ส.ค. 2564 โดย อาจารย์ภานุเทพ สำนักพุทธาคม
วาระสอง 21 ส.ค. 2564 โดย พระอาจารย์แป๊ะ วัดสว่างอารมณ์
วาระสาม 22 ส.ค. 2564 โดย หลวงปู่บุญมา สำนักสงฆ์เขาแก้ว ปราจีนบุรี
เจ้าพ่อยี่กอฮง เทพแห่งการเสี่ยงโชค หากใครที่ขอโชคลาภและเป็นผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณ
ก็มักได้รับโชคดีจากการเสี่ยงโชคจากพ่อปู่ยี่กอฮงอยู่เสมอ ซึ่งหลายคนยกให้ท่านเป็น
เทพแห่งการเสี่ยงโชคเสี่ยงดวงทุกประเภทเลยก็ว่าได้ ทั้งยังขนานนามว่า “เทพเจ้าหวยองค์แรกแห่งสยามประเทศ”
ปัจจุบันผู้คนนิยมกราบไหว้บูชาเจ้าพ่อยี่กอฮงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชาวไทย หรือแม้กระทั่งชาวต่างประเทศ เพราะพวกเขาเหล่านั้นต่างมีความเชื่อที่ว่า ถ้าอยากมีความโชคดีจากการเสี่ยงโชคเสี่ยงดวง ซื้อหวยหรือกระทั่งเล่นการพนัน หรือใครมีเรื่องทุกข์ร้อนใดๆ ก็ขอให้ท่านช่วยเหลือได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกฎแห่งกรรม
วิธีการขอหวยจากพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง
ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วกล่าวว่า
"อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมว สะมิชฉะตุ สัพพะลาโภ ชะโย นิจจัง สัพพะลาโภ ภะวะตุ เม" กล่าว 3 จบ
ของแก้บนพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง ได้แก่ ข้าวขาหมู โอยั้ว / น้ำชา / ดอกดาวเรือง / หมากพลูบุหรี่ / ซิการ์
ประวัติ หลวงปู่บุญมา โชติธมฺโม วัดบ้านแก่ง จังหวัดปราจีนบุรี
(ปัจุจบันท่านย้ายมาอยู่ สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง) อย่างถาวร แบบเรียบง่าย
โลกยุคใหม่เจริญก้าวหน้าขึ้น สิ่งลี้ลับและความอาถรรพ์ต่างๆ ก็เริ่มลดน้อยลง สมัยก่อนพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ละรูปล้วนมีชื่อเสียง สาธุชนคนใจบุญรู้จักกันถ้วนทั่ว และพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นก็ล้วนแต่เป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งสิ้น และพระดีนั้นก็ย่อมไม่อวดอ้างคุณความดี ทำให้มองไปว่าพระเกจิอาจารย์ยุคใหม่หายากที่บ้านแก่ง ตำบลวังตะเคียน หมู่ 3 อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
มีผู้ไปพบพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเรืองวิชาอาคมจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านแก่ง ตำบลวังตะเคียน ความเล่าลือปากต่อปาก และจากประสบการณ์ทางวัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นมาแสดงพลังอิทธิปาฏิหาริย์อยู่ยงคงกระพัน ชื่อเสียงของ “พระครูสุนทรโชติธรรม” หรือ หลวงพ่อบุญมา โชติธมฺโม ค่อย ๆ เริ่มปรากฏและโด่งดังในพื้นที่อย่างรวดเร็วเมื่อกาลเวลาผ่านมา
ย้อนอดีต...ในปีพุทธศักราช 2473 ตรงกับวันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน ปีเถาะ ครอบครัว “จิตศรี” โดย นายพ่วง และ นางทองคำ จิตศรี ไผ่เจริญ ได้บุตรคนที่สองของครอบครัว คนแรกเป็นผู้หญิงชื่อ เด็กหญิงเลียบ จิตศรี คนที่สองตั้งชื่อเรียกขานว่า เด็กชายบุญมา จิตศรี และหลังจากให้กำเนิดเด็กชายบุญมาแล้ว ปีต่อ ๆ มานางทองคำได้ให้กำเนิดสมาชิกในครอบครัวอีก 2 คน คือ เด็กชายสุวิทย์ และ เด็กหญิงสมหมาย จิตศรี รวมลูก 4 คน สมาชิกทั้งบ้าน 6 คน
ทั้งนายพ่วงและนางทองคำ มีอาชีพทำนา ฐานะทางบ้านก็พอมีพอกินปานกลาง แต่มาระยะหลังมีลูก 4 คน ทำให้อาหารการกินฝืดเคือง เด็กชายบุญมาเจริญวัยตามกาลเวลา จวนจบกระทั่งถึงวัยที่จะต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียน ผู้เป็นพ่อส่งเด็กชายบุญมาให้ไปอยู่กับ หลวงพ่อเขียน หรือ พระครูประสารวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดบ้านกุง ซึ่งเด็กชายบุญมามีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อเขียน สมัยนั้นหลวงพ่อเขียนเป็นพระเกจิอาจารย์เก่งทางด้านอยู่ยงคงกระพัน
เด็กชายบุญมาอยู่รับใช้หลวงพ่อเขียน และศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดบ้านกุง จนกระทั่งจบการศึกษาประชาบาลชั้นประถมปีที่ 3 นายพ่วงผู้เป็นพ่อก็ไปรับตัวกลับให้มาอยู่กับ “หลวงปู่เอี่ยม” พระเกจิอาจารย์ที่มีคนให้ความเคารพนับถือกันมาก ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อใหญ่” หลวงปู่เอี่ยมนั้น มีวิชาอยู่ยงคงกระพันชาตรี หลวงปู่เอี่ยม รับเด็กชายบุญมาไว้เป็นลูกศิษย์แล้วก็ส่งให้เรียนต่อชั้นประถมปีที่ 4 จนจบพอโตเป็นหนุ่มหลวงปู่เอี่ยมก็สอนวิชาอาคม ให้ร่ำเรียนอักขระวิชาต่าง ๆ ฝึกให้ทำจิตให้เป็นสมาธิ สอนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานขั้นต้นให้
นายบุญมาใช้ชีวิตทางโลกอยู่จนกระทั่งอายุ ๒๕ ปี เข้าวัยเบญจเพศจึงหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นศิษย์พระตถาคตเจริญรอยตามพระพุทธองค์ โกนหัวปวารณาตัวอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดทุ่งแฝก หมู่ ๒ ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระครูศรีวิเลิศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สวัสดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการกรอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า“โชติธมฺโม”
เมื่อบวชแล้ว ภิกษุหนุ่มนามบุญมาก็ศึกษาพระธรรมวินัย จนสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในเวลาต่อมา จังหวะนั้นเองทางวัดบ้านแก่ง ว่างสมภารลง หลวงพ่อใหญ่ก็ได้สั่งให้ พระอธิการบุญมา มาเป็นสมภารวัดบ้านแก่ง สืบแทนหลวงพ่อทองดีที่มรณภาพ พระอธิการบุญมา พอมาอยู่วัดบ้านแก่ง ก็ทำนุบำรุงพัฒนาวัดตามแต่อัตภาพ
หลวงพ่อบุญมาทำกรรมฐานโดยกำหนดเอาแสงสว่างจากเปลวเทียนเป็นหลัก เพ่งกสิณจากเปลวแสงเทียนที่เรียกกันว่า “เตโชกสิณ” คือ การทำสมาธิจิตเพ่งแสงสว่างแห่งเปลวไฟ ภิกษุที่ทำได้ต้องมีสมาธิมั่นตั้งอยู่ในกรรมฐาน กำหนดเอาธาตุทั้ง 4 อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมั่นคง แล้วพุ่งกระแสจิตสู่สิ่งที่กำหนดนั้น จนดวงจิตสงบนิ่งบังเกิดความสว่างขึ้นกลางมโนจิต อันเป็นการบรรลุมรรคผลในระดับหนึ่ง นั่นคือการสามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิอันแน่วนิ่งและมั่นคงได้ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบของการบำเพ็ญพระกรรมฐานและการทำกสิณ หลวงพ่อบุญมา เพ่งกสิณเพ่งเปลวเทียนอยู่นาน กว่าจะบรรลุมรรคผลก็เล่นเอาดวงตาข้างขวาของท่านเสียเกือบจะบอดเลยทีเดียว
หลวงพ่อบุญมา พัฒนาวัดบ้านแก่งมาตลอดจนสามารถสร้างกุฏิ สร้างศาลาการเปรียญ