นครวัดทัศนะสยาม รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ
นครวัดทัศนะสยาม-รศ-ดร-ศานติ-ภักดีคำ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
330.00 297.00 บาท
ร้านค้า
นครวัดทัศนะสยาม รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๔ มี ๒๗๒ หน้า ISBN9789740217121

ก่อนหน้าการค้นพบบนครวัดของฝรั่งเศส ความรู้เกี่ยวกับนครวัดของคนท้องถิ่นนั้นก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ในรูปแบบของตำนาน ความทรงจำ และพงศาวดาร

เรื่องความรู้ ความทรงจำต่อนครวัดของคนท้องถิ่น คงมิต้องพูดถึงชาวกัมพูชาเจ้าของดินแดน นับแต่เฉพาะชาวสยาม ก็มีความทรงจำต่อเมืองนครวัดหลากหลายและยาวนาน เพราะถ้าหากย้อนเวลากลับไป เราจะพบว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย-รัตนโกสินทร์ ระบุถึงความรู้ของชาวสยามที่มีต่อนครวัดไว้จำนวนมาก และไม่ใช่แค่ในระดับชนชั้นสูงเท่านั้นที่รู้จักนครวัดและสั่งให้สร้างวัด-วังเลียนแบบ แต่ชาวบ้านร้านตลาด-พระสงฆ์องค์เจ้าต่างก็รู้จักนครวัดเช่นกัน และคนเหล่านี้ต่างเคยเดินทางไปเมืองนครวัดด้วยกันทั้งนั้น

ดังนั้น จึงไม่ใช่เลยที่นครวัดจะเป็นเมืองที่ถูกทิ้งร้าง และแวดล้อมไปด้วยชนป่าเถื่อนอย่างที่อองรี มูโอต์บอกเล่าเอาไว้ เพราะที่แท้เรื่องราวของนครวัดยังคงไหลเวียนอยู่ในความทรงจำของคนท้องถิ่นมาตลอดสายธารของประวัติศาสตร์ เพียงแต่ไม่ใช่ในแบบที่คนปัจจุบันเข้าใจ

รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ ได้รวบรวมหลักฐานความรู้ ความเข้าใจนครวัดของชาวสยามมาร้อยเรียงเป็นหนังสือเรื่อง นครวัดทัศนะสยาม เพื่อบอกเล่าความเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ของชาวสยามที่มีต่อนครวัดที่ปรับเปลี่ยน ผันแปรไปตามบริบทของยุคสมัย และตอกย้ำให้เห็นว่า "นครวัดไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ในความทรงจำของผู้คนตลอดมา"

“นครวัด-นครธม”
ในการรับรู้ของไทยก่อนสุโขทัย

ร่องรอยการรับรู้เกี่ยวกับ “เมืองพระนคร” ในดินแดนไทยก่อนสมัยสุโขทัย

“ศรีโสธรปุระ” เมืองพระนครในการรับรู้ของสุโขทัย

การเมืองและศาสนากับเมือง “พระนครหลวง” ในสมัยอยุธยาตอนต้น

กษัตริย์กรุงศรีอยุธยามาจากเมืองพระนคร?
จาก “ศรียโสธรปุระ” สู่ “ยโสธรนครหลวง”
เมืองนครหลวง หรือพระนครหลวง
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ตีเมืองพระนคร
เมื่อกรุงศรีอยุธยาปกครอง “เมืองพระนครศรียโศธรปุระ”
“สยาม” พ่ายที่เมืองพระนคร ที่มาของชื่อ “เสียมราบ” หรือ “เสียมเรียบ”

เมืองพระนคร ศูนย์กลางการจาริกแสวงบุญ ในกัมพูชาสมัยอยุธยาตอนกลาง

จาก “บรมวิษณุโลก” สู่ “พระพิษณุโลก” และ “นครวัด”
เมืองพระนคร ศูนย์กลางการจาริกแสวงบุญ ในกัมพูชาสมัยอยุธยาตอนกลาง
พระราชมุนีมาแต่ศรีอยุธยาไปไหว้พระที่ “เมืองพระนคร”
จาก “พระพิษณุโลก” สู่ “พระนครวัด” ในฐานะสถานที่แสวงบุญ

สัญลักษณ์ทางการเมือง “นครหลวง” และความทรงจำสมัยอยุธยาตอนปลาย

เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจำาลอง “เมืองพระนคร” มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
“ปราสาทบายน” กับความทรงจำในวรรณคดีไทย สมัยอยุธยาตอนปลาย

“นครวัด-นครธม” และ “เสียมราบ” กับความรับรู้สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ตอนต้น

การขยายอำานาจในกัมพูชา กับความสนใจ “นครวัด-นครธม” สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
การสร้างเมืองเสียมราบในสมัยรัชกาลที่ ๓
ความรับรู้เกี่ยวกับตำนานกษัตริย์เขมรโบราณ ใน “นิพพานวังหน้า”
นิพพานวังหน้ากับตำานานบรรพกษัตริย์เขมรโบราณ

“นครวัด-นครธม” กับการเมือง สมัยรัชกาลที่ ๔

การรับรู้เรื่อง “เมืองพระนคร” ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๔
นครวัด-นครธมใน “พระเจ้าประทุมสุริย์วงษ์” การรับรู้เรื่องเมืองพระนครในสมัยรัชกาลที่ ๔
เมื่อรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้จำาลอง “ปราสาทนครวัด” มาไว้ที่กรุงเทพฯ

นครวัดในการรับรู้ของคนไทย สมัยรัชกาลที่ ๕

เมื่อ “นครวัด-นครธม” กลายเป็นเรื่อง “โบราณคดี”

นิราศนครวัด : ปฐมบทการรับรู้เรื่องเมืองพระนคร จากการศึกษาของฝรั่งเศส
นิราศนครวัด ๓ สำนวน
เมื่อรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ “นครวัด”
คำที่เกี่ยวข้อง
ทัศนะยนต์คำวัดเทพภักดีจรัญ ภักดีวัดดอยคำวุฒินันท์ ภิรมย์ภักดีกันแดดจิตภักดีน้ำผึ้งเทพภักดีรองพื้นจิตภักดีปักรักภักดี

สินค้าใกล้เคียง