ไตรโคเดอร์ม่า#ไตรซาน#ปุ๋ยยา#
ไตรโคเดอร์ม่า-ไตรซาน-ปุ๋ยยา
ข้อมูลสินค้า
ราคา
420.00 บาท
ร้านค้า
ถ้าพายุฝนจะตกกระหน่ำขนาดนี้ ⛈️ แนะนำให้ทุกสวนรีบมี "ไตรซาน" ไว้ในครอบครอง

โรครากเน่า - โคนเน่าในทุเรียนมีสาเหตุมาจากเชื้อรา Phytophthora palmivora โดยเชื้อราจะเข้าทำลายระบบราก และโคนต้นก่อน แล้วจึงลุกลามขึ้นไปที่บริเวณใบ ดอก และผล หรืออาจปลิวมากับกระแสลมและฝนเข้าสู่ใบ ดอก และผลโดยตรง พบการระบาดได้ในทุกฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง ⛈

🌳 อาการที่บริเวณรากและลำต้น ในช่วงแรกอาจไม่แสดงอาการ เนื่องจากเชื้อราจะเข้าทำลายระบบรากที่อยู่ใต้ดินก่อน จากนั้นจะปรากฎจุดฉ่ำน้ำ มีน้ำเยิ้มออกมาที่บริเวณโคนต้นและลำต้น เนื้อเยื่อเปลือกไม้และเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีน้ำซึมบริเวณรอยแผล แล้วเชื้อจะลามขึ้นไปตามท่อลำเลียงน้ำไปเข้าทำลายกิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผลอย่างรวดเร็ว

🍂 อาการที่ใบ ใบจะด้าน ไม่เป็นมันใส ส่วนสีเขียวของใบซีดลง แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอย่างรวดเร็ว บางใบมีอาการคล้ายแผลฉ่ำน้ำ ใบอ่อนที่ออกมาใหม่จะแห้ง อาจเกิดบนกิ่งใดกิ่งหนึ่ง หรือทั้งต้นพร้อมกัน ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย หากปล่อยไว้ใบจะทะยอยร่วงจนหมดต้น และยืนต้นตายในที่สุด

โดยเฉพาะในช่วงบำรุงผลใกล้ตัดแบบนี้ หากเชื้อไฟทอปธอร่าเข้าผล มักพบอาการจุดช้ำสีน้ำตาลจางๆ ปนเทา และขยายตัวออกตามรูปร่างของผล มักพบเกิดกับผลในช่วงประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และยังพบการเน่าเสียภายหลังการเก็บเกี่ยวในระหว่างการบ่มให้สุกอีกด้วย

🚑 วิธีการป้องกันและรักษา 🚑
✅ทางดิน ใช้ไตรซาน อัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดบริเวณโคนต้น และใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว ช่วงฤดูฝนราดเดือนละ 1 ครั้ง ฤดูอื่นๆ ราดทุกๆ 3 เดือน

✅แผลบริเวณลำต้น ใช้ไตรซาน อัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารจับใบ ทาให้ทั่วบริเวณแผลทุก 15-30 วัน เพื่อให้แผลแห้ง ไม่ลาม

⚠️สามารถใช้ได้กับทุเรียนทุกช่วง แม้ในช่วงเก็บเกี่ยวโดยไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตราย
คำที่เกี่ยวข้อง
ไตรโคเดอร์ม่าเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเชื้อไตรโคเดอร์ม่าไตรโคเดอร์ม่า คิงส์โชบุไมโคไรซ่าไตรโคเดอร์ม่าหัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่าไตรโครเดอร์ม่าไตรโคเดอร์ม่า ขนาด 1 กิโลกรัมไตรซาน ไตรโคเดอร์มาไตรโคเดอร์มา ไตรซาน

สินค้าใกล้เคียง