การสังหารหมู่หนานจิง : A History of the Nanjing Massacre
นึ่คือหนังสือประวัติศาสตร์ "การสังหารหมู่หนานจิง" ที่ละเอียดและครบถ้วนที่สุด
ผู้เขียน จางเซี่ยนเหวิน, จางเหลียนหง, หวังเว่ยซิง
ผู้แปล ชาญ ธนประกอบ
วันที่ 18 กันยายน ปี ค.ศ. 1931 ทหารญี่ปุ่นระเบิดรางรถไฟสายหนานหม่าน (หนานจิง-แมนจูเรีย) โดยใส่ความว่าเป็นฝีมือกองทัพจีน และใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการเปิดฉากสงครามบุกประเทศจีนครั้งใหม่
วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 หนานจิงแตก ทหารญี่ปุ่นจี้ดาบสังหารไปที่ชาวเมืองผู้รักสันติจำนวนมาก ในจำนวนนี้ที่อนาถที่สุดเป็นการสังหารหมู่แบบรวมกลุ่ม ปฏิบัติการสังหารหมู่เหล่านี้ มีผู้ถูกสังหารจำนวนกว่าสองแสนคน
สตรีสาวจนถึงสตรีสูงวัยหกสิบเจ็ดสิบปีตกเป็นผู้ถูกทำร้ายจำนวนมาก ข่มขืน รุมโทรม ถือเป็นความบันเทิง และยังมีการตัดเต้านม แทงซี่โครง ตบฟันร่วง ร่างกายส่วนล่างบวมช้ำ สภาพต่าง ๆ อเนจอนาถยากจะทนทาน
ที่เรียกว่า "ผู้หญิงปลอบขวัญ" ในความเป็นจริงก็คือทาสกามของกองทัพญี่ปุ่น ทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงวิธีการโดยจัดตั้งสถานบริการผู้หญิงปลอบขวัญ บังคับสตรีชาวจีนและชาวเกาหลีนับหมื่นให้เป็นเหยื่อการข่มขืน
วันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1947 ศาลได้พิพากษาตัดสินว่า "พลเอกอิวาเนะ มัตสึอิ ในระหว่างสงครามได้ร่วมกันยุยงส่งเสริมให้ท้ายทหารในการสังหารหมู่เชลยศึกและบุคคลที่มิใช่ผู้นำการสู้รบ อีกทั้งทำการข่มขืน ปล้นสะดม และทำลายทรัพย์สิน เห็นควรลงโทษประหารชีวิต"
สารบัญ
บทที่ 1 สงครามปกป้องหนามจิง
บทที่ 2 การสังหารหมู่ของกองทัพญี่ปุ่นที่สะเทือนขวัญทั้งในจีนและต่างประเทศ
บทที่ 3 พฤติกรรมโหดขนาดใหญ่ของทัพญี่ปุ่น
บทที่ 4 การปล้นสะดมวางเพลิงและการทำลายของกองทัพญี่ปุ่น
บทที่ 5 การช่วยเหลือของคณะกรรมการนานาชาติเขตปลอดภัยหนานจิง
บทที่ 6 ปฏิกิริยาของสังคมนานาประเทศต่อพฤติกรรมโหดของกองทัพญี่ปุ่น
บทที่ 7 การพิพากษาหลังสงคราม
คำนิยม
ในทางตรงกันข้าม การที่หนังสือ การสังหารหมู่หนานจิง ปรากฏในบรรณพิภพไทยย่อมถือเป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยก็ทำให้สังคมไทยได้รู้จักญี่ปุ่นในแง่มุมหนึ่ง เพื่อที่จะได้สำนึกในอันที่จะมิให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดกับมนุษย์ร่วมโลกขึ้นมาอีก ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยากยิ่งเมื่อดูจากความจริงที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ ที่มีแต่ความโหดร้ายไม่ต่างกับเหตุการณ์ครั้งนั้นก็ตามวรศักดิ์ มหัทธโนบล- อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์