ข้าวฮางระยะน้ำนม
ข้าวฮางระยะน้ำนม
ข้อมูลสินค้า
ราคา
159.00 บาท
แบรนด์
No Brand
ร้านค้า

คนสมัยใหม่อาจจะไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยเห็นว่าข้าวฮางเป็นอย่างไร ข้าวฮาง เป็นข้าวที่ผลิตด้วยกรรมวิธีซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนภาคอิสาน โดยการนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำ แล้วนำมานึ่งตากให้แห้งและสีเป็นข้าวกล้องในบางรายอาจใส่สมุนไพรลงไปด้วยเรียกข้าวฮางสมุนไพร

ข้าวฮางคืออะไร.....?

เป็นข้าวน้ำนมที่มีระยะแก่เกินจะทำข้าวเม่า แต่ยังไม่สุกพอระยะเก็บเกี่ยวหรือระยะพลับพลึง ( รวงแก่ประมาณ 80%) นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำและนำข้าวเปลือกไปนึ่งก่อนที่จะนำมาสีเป็นข้าวกล้อง ข้าวฮางทำได้ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว

ดังนั้นการสีข้าวฮางเป็นการเอาเปลือกหรือเอาแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหน เส้นใยและโปรตีนที่มีคุณค่าจึงอยู่ในเมล็ดครบเนื่องจากการนึ่งข้าวให้สุก เมล็ดข้าวจะเหนียวไม่มีเมล็ดแตกร้าว เมื่อนำไปสีจึงทำให้ข้าวฮางมีสีเหลือง

ชนิด/ประเภทของข้าวฮาง 3 ชนิด คือ

1.ข้าวฮางระยะน้ำนม

2.ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปนึ่ง

3. ข้าวฮางที่นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมงนำมาบ่ม 48 ชั่วโมง แล้วนำไปนึ่ง หรือเรียก ข้าวฮางงอก

ข้าวฮางและข้าวฮางงอกดีอย่างไร ....?

การนำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการงอก ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเมล็ดข้าว โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของปริมาณสาร “ กาบ้า” GABA(Gamma Amino Butyric Acid) ในเมล็ดมากเป็น 10 เท่า ของข้าวสาร และเกิดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แกมมาออริซานอล วิตามินอี สารฟีโนลิค ไลซีน และสาร “กาบา” (Gamma aminobutyric acid) ในข้าวกล้องงอกมี

สารกาบ้าคืออะไร...มีประโชน์อย่างไร....?

สารกาบ้า GABA = Gamma aminobutyric Acid

เป็นสารอะมิโนชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการการงอกของเมล็ด สารกาบ้าที่อยู่ในเมล็ดข้าวจะเพิ่มขึ้นเมื่อข้าวงอกและจะเพิ่มถึง 15 เท่าเมื่อข้าวงอกมีอายุ 1-2 วัน หลังจากนั้นสารกาบ้าก็จะลดลงเรื่อยๆ

1. สารกาบ้า จะทำหน้าที่เป็นสื่อประสาทส่วนกลางและเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้งทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตและป้องกันไขมันชื่อ” ลิโพโทรปิค” ( Lipotropic)

2. สารกาบ้ายังช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสม่ำเสมอชะลอความแก่ชราควบคุมระดับน้ำตาลและคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือดร่วมทั้งขับเอ็นไซม์เพื่อขจัดสารพิษออกจากร่างกาย กระตุ้นการขับน้ำดีเสื่อม)ในวงการแพทย์มีการใช้สารกาบ้ารักษาโรคเกี่ยวกับประสาท เช่นโรควิตกกังวน โรคนอนไม่หลับ และโรคลมชัก นอกจากสารกาบ้าที่มีในข้าวฮางแล้ว ข้าวฮางยังมีสารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลายชนิด เช่น

3. โปรตีนในข้าวฮาง มี 6 -12

4. ธาตุแมงกานีส ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

6. วิตามินช่วยเผาผลาญพลังงานได้อย่างหมดทำให้ไม่อ้วน

7. แร่ธาตุไนอะซีน ช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่น (ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาว) และระบบประสาทไว

8. เส้นใยสูงกว่าข้าวขาวอย่างน้อย 3-8 เท่า มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย

9. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ตับอ่อนจะมีการผลิตอินซูลีนในระดับที่สมดุลระหว่างการกินกับการใช้น้ำตาลของร่างกาย การกินข้าวฮางจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

10. ในข้าวฮางยังมีวิตามิน อี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ซีเลเนียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กสร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโลหิตจาง ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะมีมากกว่าข้าวขาว

“ เห็นประโยชน์ของข้าวฮางมากขนาดนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเปลี่ยนมากินข้าวฮาง เพื่อสุขภาพ อนามัที่แข็งแรง ”

ลักษณะของข้าวฮางที่ดี

ข้าวฮางข้าวทุกพันธุ์สามารถนำมาทำข้าวฮางได้ แต่คนอีสานนิยมนำข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6 มาทำข้าวฮาง เนื่องจากปลูกเป็นประจำและข้าวหอมมะลิ จะมีกลิ่นหอม เหนียวนุ่มน่ารับประทานและถ้าใส่สมุนไพรลงไปอีกยิ่งเพิ่มคุณค่าของข้าวฮางให้น่ารับประทานข้าวฮางที่ดีมีข้อสังเกตดังนี้

จมูกข้าวอยู่เต็มเมล็ด ไม่มีรอยแหว่งตรงปลายเมล็ด ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่มีประโยชน์

สีของเมล็ดข้าวเป็นสีน้ำตาลทอง อาจมีสีเข้มหรือจางกว่านี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวแสดงว่าเส้นใยอาหารยังไม่ถูกขัดสีออก

ไม่มีข้าวพันธุ์อื่นหรือสิ่งเจือปน สะอาด

เป็นข้าวที่อบหรือตากจนแห้งสนิม

ไม่มีกลิ่นอับชื้นขึ้นราหรือมีมอด

บรรจุในภาชนะหรือถุงที่สะอาดปิดสนิท ระบุสถานที่ผลิตและราคาขาย

การซื้อมาบริโภคควรซื้อมาในปริมาณที่บริโภคหมดภายใน 2- 3 สัปดาห์

เมื่อเปิดภาชนะหรือถุงใช้แล้วควรปิดฝาให้สนิทและควรเก็บในที่แห้งสนิทสะอาด

วิธีการทำข้าวฮาง

1. นำข้าวเปลือกที่จะผลิตข้าวฮางลงแช่น้ำในภานะ ให้น้ำท่วมข้าว แช่ไว้ 12 ชั่วโมง

2. นำข้าวที่แช่ครบ 12 ชั่วโมง นึ่ง ( อาจใส่สมุนไพรหรือใบเตยด้วย) ระหว่างนึ่งถ้าข้าวแห้งให้พรมน้ำ 2-3 ครั้ง เมื่อเมล็ดข้าวแตก แสดงว่าข้าวสุกแล้ว 3. นำข้าวที่สุกตากแดด หรือผึ่งลม ควรหมั่นกลับข้าวเพื่อให้ข้าวแห้งสม่ำเสมอ

4. นำข้าวที่แห้งสนิทดีแล้วไปสีเป็นข้าวกล้อง

ข้าวฮางและข้าวฮางงอก แตกต่างกันอ่างไร

ข้าวฮางงอกจะมีประมาณสารกาบ้าในปริมาณมากกว่าข้าวฮางชนิดไม่งอกเนื่องจากข้าวฮางงอกมีการบ่มให้เกิดรากก่อนนำไปนึ่ง

วิธีการทำข้าวฮางงอก

นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำ 12 ชั่วโมง

นำข้าวที่แชน้ำมาบ่มในภาชนะที่มีอากาศถ่ายเทได้บ้าง เช่น บ่มในกระสอบ รดน้ำเช้า – เย็น บ่มไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง จีรกงอก ประมาณ 0.5 มม. หรือเท่า ปลายเข็ม

นำข้าวที่งอกไปนึ่งให้สุก

ตากแดด หรือผึ่งลมให้แห้ง (ระหว่างตากควรมีการกลับข้าวบ้าง)

สีเป็นข้าวกล้อง

แยกสิ่งเจือปนและเก็บในภาชนะที่แห้งสนิท หรือบรรจุในถุงสูญญากาศ

การเก็บรักษาข้าวฮาง

เก็บในภาชนะที่สะอาดและแห้งมีฝาปิดมิดชิด

เก็บบรรจุแบบถุงธรรมดา

3. เก็บบรรจุถุงแบบสุญญากาศ จะเก็บได้นานประมาณ 1 ปี

วิธีหุงข้าวฮาง

1. ล้างข้าวฮางล้างด้วยน้ำสะอาด ซาวน้ำเร็ว ๆ ครั้งเดียว ( ถ้าเป็นข้าวใหม่ไม่ต้องซาวก็ได้)

2. ข้าวฮาง 1 ส่วน น้ำ 1.5 ถึง 2 ส่วน ในการหุงข้าวฮางจะใช้น้ำมากกว่าการหุงข้าวขาว

3. ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที จะได้ข้าวฮางที่หอม นุ่น มีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทานImage

คำที่เกี่ยวข้อง
ข้าวฮางระยะน้ำนมข้าวระยะน้ำนมข้าวกล้อง กข.43 ระยะน้ำนมข้าวฮางข้าวฮางงอกข้าวฮางข้าวเหนียวข้าวฮางธัญพืชข้าวฮางงอกไรซ์เบอรี่ข้าวฮางงอกธัญพืชข้าวฮางแม่สุ

สินค้าใกล้เคียง