ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด
หูกวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa) เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
• หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม
• หูกวางนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
• ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ยาระบาย ยาแก้ท้องร่วง แก้บิด ช่วยขับน้ำนมของสตรี (ทั้งต้น)
• ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นยารักษาโรคทางเดินอาหารและตับ (ใบ)
• ใบใช้ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด นำมาทาหน้าอกจะช่วยแก้อาการเจ็บหน้าอก หรือใช้ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก (ใบและน้ำมันจากเมล็ด)
• เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย (เปลือก)
• ผลมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ผล)
• ใบที่มีสีแดงจะมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
• เมล็ดใช้รับประทานเป็นยาแก้ขัดเบา แก้นิ่วได้ (เมล็ด)
• เปลือกใช้เป็นยาแก้ตกขาวของสตรี ช่วยรักษาโรคโกนีเรีย (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) (เปลือก)
• รากช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาตามปกติ (ราก)
• เปลือกและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมาน (เปลือก,ทั้งต้น)
• ใบใช้ผสมกับน้ำมันจากเนื้อในเมล็ด เป็นยารักษาโรคเรื้อน (ใบและน้ำมันจากเมล็ด)
• ใช้แก้โรคคุดทะราด (ทั้งต้น)
• ใบมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
• ใบช่วยรักษาอาการผื่นคันตามผิวหนังและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังพบฤทธิ์ทางเภสัชว่า ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ แก้อาการปวด ลดอุณหภูมิภายในร่างกายหรือลดไข้ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว
• เมล็ดหูกวางสามารถนำมารับประทานได้
• เมล็ดสามารถนำเอาไปทำเป็นน้ำมันเพื่อนำไปใช้บริโภค (คล้ายน้ำมันอัลมอนด์) หรือทำเครื่องสำอางได้
• เปลือกและผลมีสารฝาดมาก สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมย้อมสีผ้า ฟอกหนังสัตว์ และทำหมึกได้ ในอดีตมีการนำเอาเปลือกผลซึ่งมีสารแทนนิน
• ใบเพื่อย้อมสีเส้นไหม พบว่าสีที่ได้คือสีเหลือง สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาลเขียว
• ใบแก่นำมาแช่น้ำใช้รักษาบาดแผลของปลาสวยงาม อย่างเช่น ปลากัด ปลาหางนกยูงได้ อีกทั้งยังช่วยบำรุงสุขภาพปลาและสีสันของปลา ช่วยทำให้ตับของปลานั้นดีขึ้น จึงส่งผลให้ปลาแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ปลาเป็นโรค
• เนื้อไม้หูกวาง สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำบ้านเรือน หรือเครื่องเรือนได้ดี เพราะเป็นไม้ที่ไม่มีมอดและแมลงมารบกวน หรือนำมาใช้ทำฟืนและถ่านได้
• หูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมาก เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางหรือตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ ริมถนน สวนป่า หรือปลูกในที่โล่งต่าง ๆ เป็นต้น
เมล็ดหูกวาง India Almond มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า โคน ดัดมือ ตัดมือ
ตาปัง ตาแปห์ หลุมปัง ใบไม้เปลี่ยนสี ใบหูกวางแห้ง ไม้ยืนต้น ไม้ผลัดใบ
ชาใบหูกวาง บ้านและสวน ไม้ย้อมสีธรรมชาติ