"ต้นหางนกยูงไทย" มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นแตกกิ่งกานสาขามาก เรือนยอดโปร่งเป็นทรงพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเล็ก กิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่จะเป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ตามกิ่งก้านมีหนาม (บางพันธุ์ก็ไม่มีหนาม) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ต้นหางนกยูงไทยมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ หมู่เกาะเวสต์อินดีส ในบ้านเราพบได้มากตามบ้านทั่วไปทั้งในเมืองและชนบท หรือตามสวนสาธารณะริมทางก็มีให้เห็นบ่อย ๆ
• นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะดอกมีความสวยงาม ปลูกได้ในดินทุกชนิดและยังมีความทนทาน ปลูกง่ายและขึ้นง่าย และยังเหมาะที่จะปลูกเป็นรั้ว เพราะหางนกยูงไทยบางสายพันธุ์จะมีหนามและกิ่งก้านเยอะ สามารถปลูกเกาะกลุ่มเป็นแนวได้ดี
• รากของต้นดอกสีแดง ปรุงเป็นยารับประทานขับประจำเดือน
• เมล็ดในฝักรับประทานได้โดยแกะเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป เนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย
• รากมีรสเฝื่อน นำมาต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้วัณโรคในระยะที่สาม (การนำมาใช้เป็นยาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต้นที่มีดอกสีแดง) (รากของต้นดอกแดง)
• เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
• รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บวม (ราก)
• ดอกสามารถนำมาใช้บูชาพระได้
• สามารถปลูกเพื่อจำหน่ายต้นกล้าเพื่อเป็นไม้ประดับและจำหน่ายดอกเพื่อหารายได้เสริมให้ครอบครัวได้
• ใบนำมาวางตามห้องหรือใกล้ตัวเพื่อป้องกันแมลงหวี่ หรือใช้ใบแห้งนำมาจุดไฟให้มีควันเพื่อไล่แมลงหวี่ได้
• ราก รสเฝื่อน รากต้นหางนกยูงดอกสีแดงนิยมนำมาปรุงเป็นยารับประทานเพื่อขับโลหิตระดู หรือขับประจำเดือน และแก้วัณโรคระยะบวม
เมล็ดพันธุ์หางนกยูง Flower fence Peacock’s crest นกยูงไทยPride of Barbados
ขวางยอย จำพอ ซำพอ ซมพอ ส้มผ่อ ส้มพอ พญาไม้ผุ
หนวดแมว ต้นอินทรีย์ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น นนทรี
ต้นขี้เหล็ก ประดู่แดง ชงโค คูน กาหลง กัลปพฤกษ์ จามจุรี