THE LOST EXECUTIONER A STORY OF TEH KHMER ROUGE เพชรฆาตแห่งตวลสเล็ง
ในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการตวลสเล็ง สหายดุจเป็นผู้กำหนดวิธีการสังหารหมู่ของเขมรแดง และเป็นพยานปากสำคัญในอาชญากรรมนี้ เขาปรากฎตัวในกระบวนการสอบปากคำที่ตวลสเล็งที่พร้อมไปด้วยอุปกรณ์เครื่องมือทรมาน ตั้งแต่อุปกรณ์ช็อตไฟฟ้า และเครื่องถอดเล็บจากนิ้วเท้า ไปจนถึงการกระหน่ำเฆี่ยน และกดน้ำให้หายใจไม่ออก คำยืนยันฐานะของเขาที่เป็นหนึ่งในผู้นำอดีตเขมรแดงเป็นหลักฐานชิ้นใหญ่สำคัญที่เป็นหนึ่งในผู้นำอดีตเขมรแดงเป็นหลักฐานชิ้นใหญ่สำคัญที่จะนำไปสู่เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นเอกสารต่างๆ ที่เก็บอยู่ในอดีตคุกตวลสเล็ง บ่งชัดเจนถึงความผิดที่เขาบงการ ทั้งลายมือที่เขาเขียนคำสั่งสังหารและรายละเอียดอันน่าสะพรึงกลัวถึงการทรมานเพื่อเค้นคำสารภาพ
หนึ่งในรายงานบันทึก ผู้คุมคนหนึ่งถามสหายดุจว่าจะใช้วิธีการเค้นจากเด็กๆ ชายหญิง 9 คนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศอย่างไร สหายดุจเขียนหวัดๆ ทับไปว่า"ฆ่าให้หมดอย่าให้เหลือสักคน"
นิค ดันลอปนำผู้อ่านไปสัมผัสกับมุมมองต่างๆ อย่างน่าชื่นชมในความเป็นนักหนังสือพิมพ์และช่างภาพที่ใส่ใจรายละเอียดซึ่งอาจถูกมองข้ามโดยเฉพาะ "สีหน้า" "แววตา" "ท่าทาง" และ "ความหมาย" ในภาพถ่ายที่ยืนยันการมีตัวตนของคนในภาพ แต่ที่ตวลสเล็งสิ่งเหล่านั้นกลับว่างเปล่าภาพถ่ายกลายเป็นสิ่งยืนยันว่าตัวตนของนักโทษหายไปตลอดกาลหลังจากช่างภาพกดซัตเตอร์
The Lost Executioner หรือ เพชฌฆาตแห่งตวลสเล็ง ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดทั้งของนิค ดันลอป ผู้เขียน ตลอดจนบุคคลต่างๆ ที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายได้ครบถ้วนเหมาะเจาะบอกเล่าเรื่องราวของกัมพูชาและเขมรแดง รวมถึงบทบาทของสหรัฐอเมริกา เวียดนาม จีน ไทย และสหประชาชาติ เช่นเดียวกับการถ่ายทอดความเป็น "ที่ที่เมื่อใครเข้าไปแล้ว ไม่ได้กลับออกมาอีก"
สำนักพิมพ์ยิปซี