หนังสือความรู้เบื้องต้นการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายฯ ทนายความฝึกหัด ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์
หนังสือความรู้เบื้องต้นการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายฯ-ทนายความฝึกหัด-ดร-ภูมินทร์-บุตรอินทร์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
280.00 252.00 บาท
ขายแล้ว
184 ชิ้น
ร้านค้า
ความรู้เบื้องต้นการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ทนายความฝึกหัด ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์
ผู้แต่ง: ภูมินทร์ บุตรอินทร์
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2556
จำนวนหน้า: 278 หน้า
ISBN: 978974
ขนาด : มาตราฐาน (18.5x26)
รูปแบบ : ปกอ่อน

คำนำ
(พิมพ์ครั้งที่ 2)

มีคำกล่าวว่า “หมอคนรักษาไข้ หมอความรักษาความยุติธรรม” ผู้เขียนเห็นว่าคำกล่าวนี้เป็นจริงเมื่อได้ประสบการณ์จากการทำงาน แต่การทำหน้าที่ทนายความนั้นเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง นักศึกษากฎหมายที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีความรู้ในเรื่องข้อกฎหมายและนำความรู้ความเชี่ยวชาญในข้อกฎหมายมาใช้งานเมื่อศึกษาในชั้นเนติบัณฑิต แต่ความรอบรู้ในวิชาข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ไม่มีสอนในระดับมหาวิทยาลัย ความรู้เหล่านี้เป็นทักษะที่ต้องปฏิบัติหน้าที่จนมีความชำนาญจนแยกแยะข้อเท็จจริงต่างๆ มาปรับกับข้อกฎหมายได้ ความรู้ในทางปฏิบัติในทางวิชาการของไทย ไม่มีการเขียนออกมาเป็นตำรามากนัก โดยเฉพาะความรู้ในระดับสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายสากล ผู้เขียนจึงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดเพื่อประโยชน์ในการทำหน้าที่ของนักศึกษากฎหมายที่เริ่มทำงานใหม่ๆ ในฐานะทนายความฝึกหัด
“สังคมหนึ่งรักวิชาชีพทนายความ แต่เหตุใดอีกสังคมจึงเกลียดทนายเหลือเกิน?” การแก้ไขปรับปรุงตำราครั้งที่สอง ผู้เขียนได้เพิ่มเติมบทแรกให้เป็นความรู้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมไปถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวิชาชีพทนายความ ผู้เขียนเพิ่มเติมเรื่องการกำหนดค่าวิชาชีพของสำนักงานทนายความเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงแนวทางที่ควรจะเป็น บางบทได้เขียนใหม่ทั้งหมดโดยเฉพาะเรื่องของการจดทะเบียนที่มีการแก้ไขให้ทันสมัยยิ่งขึ้น การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่สองนี้ล่าช้าไปสองปีเนื่องจากผู้เขียนลาไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศฝรั่งเศสให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับมาเขียนใหม่โดยใช้ภาษาที่เป็นวิชาการมากกว่าการจัดพิมพ์ครั้งที่ 1 ผู้เขียนหวังว่าการจัดทำตำราภาคปฏิบัติให้ลักษณะอ้างอิงเช่นงานวิชาการจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำไปศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป

ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12 มีนาคม พ.ศ. 2556

สารบัญ

ภาค 1 ทนายความกับการให้บริการทางกฎหมาย

บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องวิชาชีพทนายความ
1. ความเบื้องต้น - ประวัติศาสตร์วิชาชีพทนายความ
2. ประเภทของทนายความ
3. หน้าที่ของทนายความ
3.1 ตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรในสำนักงานทนายความ
3.1.1 ทนายความประเภทต่างๆ ในสำนักงานทนายความ
3.1.2 ฝ่ายสนับสนุนในสำนักงานทนายความ
4. รูปแบบการกำหนดค่าทนายความ
4.1 กำหนดค่าทนายความในอัตราร้อยละจากจำนวนค่าเสียหายที่ได้รับตามคำพิพากษาของศาล (Contingency fee ในสหรัฐอเมริกา)
4.2 กำหนดค่าทนายความตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกัน เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น (Conditional fee ในอังกฤษ)
4.3 ข้อจำกัดตามกฎหมายไทยในการกำหนดค่าทนายความ
4.4 การจัดเตรียมสัญญาว่าจ้างทนายความ
4.5 การทำจดหมายเพื่อทำคำเสนอให้บริการวิชาชีพทนายความ
4.6 การทำคำเสนอให้บริการวิชาชีพทนายความ (Company’s profile and legal service quotation for professional fee)

ภาคที่ 2 ทนายความกับงานคดีความ
บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของการเตรียมคดีเบื้องต้น
1. การสอบข้อเท็จจริง
2. การสรุปข้อเท็จจริง
3. การปรับข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและแหล่งหาข้อมูลทางกฎหมาย
4. การควบคุมวันนัดและการควบคุมเวลาการทำงาน

บทที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของการเตรียมคดีในรูปแบบ
1. ขั้นตอนการจัดแฟ้มสำนวนของสำนักงาน
2. การเรียงเอกสารสำนวนฟ้อง
3. สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในสำนวนและที่ศาล

บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของการเตรียมคดีในเนื้อหา
1. การเตรียมคดี
1.1 การวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสีย หรือความคุ้มค่าในการตัดสินใจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี
1.2 การตัดสินใจเลือกรูปแบบคดีที่จะฟ้องร้อง
1.3 แนวทางการรวบรวมพยานหลักฐานที่นำมาใช้ประกอบคดี
1.4 การเลือกรูปแบบคดี
2. การตั้งประเด็นเพื่อฟ้องร้อง หรือการยื่นคำให้การต่อสู้คดี
2.1 เรื่องอำนาจฟ้อง
2.2 เรื่องอายุความ
2.3 การได้มาซึ่งพยานหลักฐานนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

บทที่ 5 ว่าด้วยเรื่องการร่างจดหมายเพื่อติดต่อลูกความ

บทที่ 6 ว่าด้วยเรื่องของงานธุรการศาล และประเภทของคำร้อง
1. ขั้นตอนการติดต่อกับงานธุรการศาลยุติธรรม
2. ลักษณะของคำร้องรูปแบบต่างๆ

บทที่ 7 ว่าด้วยเรื่องขั้นตอนการดำเนินงานของทนายความฝึกหัด
1. ขั้นตอนการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม (Notice)
2. ขั้นตอนการเตรียมคดีและร่างฟ้อง
3. ขั้นตอนวันยื่นฟ้องต่อศาล
4. ขั้นตอนการนำหมายและติดตามคำสั่งศาล
5. ขั้นตอนการส่งหมายให้จำเลยไม่ได้
6. ขั้นตอนการส่งหมายให้จำเลยได้
7. ขั้นตอนวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน

บทที่ 8 ว่าด้วยเรื่องการเตรียมพยานและการจัดเตรียมแนวคำเบิกความพยาน
1. การเตรียมพยาน
1.1 คดีแพ่ง
1.2 คดีอาญา
1.3 แบบการเตรียมพยาน ในกรณีที่เป็นทนายความจำเลย
1.4 แบบการเตรียมพยานเพื่อกำหนดหน้าที่นำสืบ
2. การเตรียมแนวคำเบิกความพยาน
2.1 คดีแพ่ง
2.2 คดีอาญา

บทที่ 9 ว่าด้วยเรื่องการสืบพยาน
1. ข้ออ้าง
2. เหตุผลของข้ออ้าง
3. การขัดกันของเหตุและผล
4. การจัดลำดับคำถาม
5. แบบจดคำพยานในการสืบพยานโต้แย้ง

บทที่ 10 ว่าด้วยเรื่องการเจรจา สืบทรัพย์ สืบจับและการบังคับคดี
1. การเจรจา
2. การสืบจับ
3. การสืบทรัพย์
4. การบังคับคดี
ภาคที่ 3 ทนายความกับงานทะเบียน

บทที่ 11 ว่าด้วยเรื่องการคิดค่าบริการวิชาชีพจากการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
1. การคิดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
2. การคิกค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและออกแบบผลิตภัณฑ์
3. การเสนอการบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
4. การเสนอการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์

บทที่ 12 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
1. การจดแจ้งความเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์
2. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
บรรณานุกรม
ภาคผนวก 1
ภาคผนวก 2
ภาคผนวก 3
ภาคผนวก 4
ภาคผนวก 5
ภาคผน
คำที่เกี่ยวข้อง
หนังสือความรู้เบื้องต้นกฎหมายทั่วไปการให้คำปรึกษาหนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายจิตวิทยาการให้คำปรึกษาทฤษฎีการให้คำปรึกษาหนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้กฎหมายเบื้องต้นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายหนังสือความรู้เบื้องต้นสำหรับเด็กความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

สินค้าใกล้เคียง