มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน เล่มที่ 4
มรรควิธีที่ง่าย-พุทธวจน-เล่มที่-4
ข้อมูลสินค้า
ราคา
80.00 บาท
ขายแล้ว
12 ชิ้น
ร้านค้า
คำนำ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้คนแข่งกันรู้ให้ได้เร็วที่สุด ไว้ก่อนนั้น ได้นำพัสังคมไปสู่วิถีชีวิตที่เสพติด ในความง่ายเร็วลัด ของขั้นตอนการ เรียนรู้โดยละทิ้งความถูกต้องตรงจริง ในการรู้นั้นไว้เป็นอันดับรอง ในแวดวงของ ชาวพุทธ ยุคใหม่ แม้ในส่วนที่มีปัญญาพอเห็นโทษภัยในทุกข์ มีจิตน้อมไปในการ ภาวนาแล้วก็ยังไม่พ้นที่จะมีการพูดถึงเกี่ยวกับ มรรควิธี ที่ง่าย ลัดสั้นปัญหามีอยู่… คือ การหมายรู้ ในคำว่า “ง่าย”โดยในแง่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนั้น มีความหมายไม่ตรงกับ รายละเอียด ในมรรควิธีที่ง่าย ซึ่งบัญญัติโดยพระตถาคต

เมื่อนิยามตั้งต้นไม่ตรงกันเสียแล้ว จะต้องกล่าวไปไยในรายละเอียดอื่นๆ ที่ตามมา เมื่อพูดถึงคำว่า “ง่าย” โดยทั่วไป มักจะถูก เข้าใจในลักษณะว่า เป็นอะไรสักอย่าง ที่ได้มาโดยไม่มีขั้นตอนยาก ได้มาโดยไม่ต้องลงแรง โดยไม่ต้องใช้ความ พยายามมาก ใช้การขวนขวายน้อย ใช้ข้อมูลน้อย ใช้การใคร่ครวญน้อยใช้การกระทำน้อย …กระทั่ง ไม่ต้อง ทำอะไรเลยในขณะที่ปฏิปทา (วิธีการกระทำเพื่อให้ได้มา) ที่นำไปสู่การบรรลุ มรรคผล ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายไว้นั้น ประกอบด้วยหลักการที่วางต่อกันอยู่ ๒ ส่วน คือ

๑. ส่วนของมรรควิธีที่เลือกมาใช้ ซึ่งเป็นตัวกำหนด ระดับความสบายในการ ปฏิบัติ

๒. ส่วนของเหตุในความเร็วช้าในการบรรลุ ซึ่งแปรผันตามระดับความอ่อนแก่ ของ อินทรีย์ห้า

ในส่วนแรก คือ มรรควิธีที่เลือกมาใช้นั้น ทรงแบ่งออกไว้เป็นสองแบบคือ ทุกขาปฏิปทา และ สุขาปฏิปทาทุกขาปฏิปทา คือมรรควิธีที่ไม่ได้สุขวิหาร ในขั้นตอนปฏิบัติ เพราะเน้น การใช้ทุกข์เป็นเครื่องมือในการรู้แจ้ง ซึ่งอริยสัจ ส่วนสุขาปฏิปทา คือการอาศัยสุขเป็น เครื่องมือในการรู้ผู้ปฏิบัติ จึงได้สุขวิหาร ไปด้วยในระหว่างปฏิบัติ เพื่อสิ้นทุกข์ ในส่วน ของเหตุที่บรรลุเร็ว หรือช้านั้น คืออินทรีย์ห้า (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ผู้มีศรัทธาในตถาคตมาก (อินทรีย์ คือ ศรัทธา) ก็ย่อมจะเชื่อใน พุทธปัญญาญาณ ย่อมจะศึกษา ทรงจำ สั่งสมสุตะเฉพาะที่เป็น พุทธวจน ไว้มาก จึงรู้แง่มุมของจิต และวิธีการปฏิบัติ ที่ถูกต้อง ไว้มาก

บุคคลผู้มีปัญญาเห็นได้เร็ว (อินทรีย์ คือ ปัญญา) เลือกหนทางที่สะดวก ก็ย่อมจะไปถึง จุดหมายได้เร็วกว่า แม้รู้หนทางที่ถูกแล้ว แต่เพียรน้อย (อินทรีย์คือ วิริยะ) มิได้ปฏิบัติ ธรรม ให้สมควรแก่ธรรม ฝึกสติน้อย ทิ้งสมาธิเหินห่างจากฌาน ก็ย่อมถึงที่หมายได้ช้า …ดังนี้ เป็นต้น

อีกทั้งแง่มุมที่ควรให้ความสำคัญว่าเป็นมรรควิธีที่ง่ายคือ สิ่งที่พระตถาคต ทรงแสดง สอนบ่อยๆ บอกตรงๆ ว่าเป็นวิธีที่สะดวก ต่อการเข้ามรรคผล ทรงใช้บอกสอนกับคนชรา คนเจ็บป่วย ใกล้ตาย มีกำลังน้อย มีเวลาในชีวิต เหลือน้อย คือ มรรควิธีที่ตรัสบอก ถึงอานิสงส์ไว้ดังนั้น มรรควิธีที่ง่าย

จึงไม่ใช่ว่า ง่าย ในแบบที่เข้าใจกันว่าใช้ความพยายามน้อย ใช้การกระทำน้อย ขวนขวายน้อยแต่ง่าย ตามเหตุปัจจัยอันสมควร แก่กรณีนั้นๆภายใต้ขีดจำกัด ของสาวก ซึ่งพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า แม้อรหันต์ผู้ปัญญาวิมุตติ ต่างก็เป็น ได้เพียงแค่ มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรคมาทีหลัง)

จึงไม่แปลกที่เราจะได้รู้ได้ฟังการอธิบายแจงแจกมรรควิธีที่ง่าย ตามแบบของ สาวกในรูป แบบต่างๆ กันไป ซึ่งตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง และไม่สามารถนำมา ใช้อ้างอิง เป็นหลัก มาตรฐานได้หากเปรียบการบรรลุมรรคผล

คือการถึงจุดหมายหนังสือเล่มนี้ คือ แผนที่ ซึ่งเขียนโดย มัคคโกวิโท (ผู้ฉลาด ในมรรค คือพระตถาคต) และชาวพุทธต้อง หันกลับมาใช้แผนที่ฉบับถูกต้องนี้ เป็นมาตรฐาน เดียวเหมือนครั้งพุทธกาล

คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะต่อ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้ง พุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการสืบทอด พุทธวจน คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว

ตถาคตสาวโก
คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง
คำที่เกี่ยวข้อง
พุทธวจนเล่มเล็กพุทธวจนพุทธวจน หนังสือวิทยุพุทธวจนหนังสือพุทธวจนเสื้อพุทธวจนพุทธวจน วิทยุพุทธวจน เสียงพุทธวจน usbพุทธวจนปิฎก

สินค้าใกล้เคียง