พระพรหม หน้าตัก 5 นิ้ว - 9 นิ้ว (พิมพ์ใหญ่)
พระพรหม-หน้าตัก-5-นิ้ว-9-นิ้ว-พิมพ์ใหญ่
ข้อมูลสินค้า
ราคา
1,500.00 บาท
ขายแล้ว
1 ชิ้น
ร้านค้า
✨ #พระพรหม ✨

"พระพรหม" หน้าตัก 5 นิ้ว
ขนาด กว้าง 14 cm. ยาว 16 cm. สูง 30 cm.
น้ำหนักทอง 3 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 1,500 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 7 นิ้ว
ขนาด กว้าง 16 cm. ยาว 19 cm. สูง 35 cm.
น้ำหนักทอง 5 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 2,800 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 9 นิ้ว
ขนาด กว้าง 25 cm. ยาว 27 cm. สูง 51 cm.
น้ำหนักทอง 7 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 5,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 9 นิ้ว (พิมพ์ใหญ่)
ขนาด กว้าง 25 cm. ยาว 27 cm. สูง 55 cm.
น้ำหนักทอง 10 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 5,500 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 12 นิ้ว
ขนาด กว้าง 33 cm. ยาว 33 cm. สูง 69 cm.
น้ำหนักทอง 17 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 10,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 14 นิ้ว
ขนาด กว้าง 33 cm. ยาว 37 cm. สูง 77 cm.
น้ำหนักทอง 20 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 14,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 16 นิ้ว
ขนาด กว้าง 41 cm. ยาว 45 cm. สูง 93 cm.
น้ำหนัก ทอง 35 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 20,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 19 นิ้ว
ขนาด กว้าง 50 cm. ยาว 50 cm. สูง 100 cm.
น้ำหนัก ทอง 40 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 25,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 21 นิ้ว
ขนาด ฐานกว้าง 52 cm. ฐานยาว 62 cm.
แขนกว้าง 80 cm. สูง 120 cm.
น้ำหนัก ทอง 100 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 40,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 25 นิ้ว
ขนาด ฐานกว้าง 70 cm. ฐานยาว 70 cm.
แขนกว้าง 100 cm. สูง 165 cm.
น้ำหนัก ทอง 120 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 65,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 30 นิ้ว
ขนาด ฐานกว้าง 80 cm. ฐานยาว 80 cm.
แขนกว้าง 110 cm. สูง 175 cm.
น้ำหนักทอง 150 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 90,000 บาท

"พระพรหม" หน้าตัก 30 นิ้ว (พิมพ์ใหญ่)
ขนาด ฐานกว้าง 100 cm. ฐานยาว 100 cm.
แขนกว้าง 150 cm. สูง 200 cm.
น้ำหนักทอง 200 กิโลกรัม
ราคา องค์ละ 200,000 บาท

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा พฺรหฺมา; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท

พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์หรือห่าน พระชายาคือพระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้

ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้

และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากท้อง และศูทรเกิดจากเท้า

ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร"

พระพรหม คือ พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของทุกสรรชีวิต เหตุการณ์สำคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม พระพรห คือ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสามตรีมูรติ ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา พระพรหม มีนามหลากหลายชื่อ เช่น พระพรหมมา พระพรหมธาดา ท้าวมหาพรหม

คาถาบูชาพระพรหม

โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง
พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม
ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน
นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ

คาถาบูชาพระพรหม แบบย่อ "โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ"
คำที่เกี่ยวข้อง
พระหน้าตัก 5 นิ้วพระแก้วมรกต หน้าตัก 5 นิ้วพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้วพระปางสมาธิหน้าตัก 5 นิ้วพระหน้าตัก 9นิ้วพระหน้าตัก 9 นิ้วพระพรหม 9 นิ้วพระพรหม 5 นิ้วศาลพระพรหม 9 นิ้วพระปรางสะดุ้งมาร หน้าตัก 9 นิ้ว

สินค้าใกล้เคียง