เศียรปู่พระภรตฤๅษี (พ่อแก่)ขนาดครอบ
เศียรปู่พระภรตฤๅษี-พ่อแก่-ขนาดครอบ
งานเกรดพรีเมี่ยมส่งออกต่างประเทศ
ความเชื่อ
การ จัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน

พิธีไหว้ครู
หมาย ถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ ศิษย์ และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ

พิธีครอบครู
เป็น พิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา ครูจะช่วยเหลือแม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด อีกประการหนึ่งพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้

การจัดตั้งหิ้งบูชา

การ จัดตั้งหิ้งบูชา.จะต้องหันหน้าไปทางทิศ
๑.เหนือ
๒.ตะวันออกเฉียงเหนือ
๓.ตะวันออก เท่านั้น

ที่เหลืออีก 5 ทิศเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ควรไว้รองจากพระพุทธรูป การจัดตั้งเครื่องสังเวยหน้าหิ้งบูชาควรจัดข้าวน้ำ ผลไม้ให้ครบองค์กร กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ขนุน ขนมถ้วยฟู ต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูช้าง ขนมถั่ว-ขนมงา เครื่องกระยาบวช ทั้ง ๕ คือ
๑.กล้วยบวชชี
๒.ฟักทองแกงบวช
๓.เผืกแกงบวช
๔.มันแกงบวช
๕.ขนมบัวลอย

จะทำรวมกันเป็นที่เดียวก็ได้ ถ้าหากมีทุเรียน ทับทิม ฟักเงิน(ฟักทอง) แตงไทย แตงกวา แตงโม สัปปะรด จะเป็นมงคลยิ่ง โดยเฉพาะกล้วยควรใข้กล้วยน้ำไทย หาไม่ได้ก็ไช้ กล้วยน้ำว้า

พิธีเช่นนี้ จะขาดไม่ได้คือ บายสีปากชาม ถ้าหากว่าจะทำได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีมากขึ้นอีก เช่น บายสีพรหม บายสีเทพ บายสีตอ เป็นต้นการจัดตั้งหิ้งถ้าหากเจตนาอัญเชิญเทพไม่ควรจะมีของคาว ควรจะจัดเพิ่มให้มีนม เนย เผือก มัน ทั้งดิบ และสุก ถั่วงา ทั้งสุกและดิบ ให้ครบ

ทุกๆพิธี จะต้องมี น้ำร้อน น้ำชา หมากพลู บุหรี่ น้ำเปล่า ตั้งเอาไว้ประจำไม่ต้องลา ทั้งกล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน ปูอาสนะด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์เครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรทุกอย่างจะต้องเป็นของใหม่ๆ ทุกอย่าง

ผลไม้ที่เป็นมงคล
๑.ขนุน
๒.ทุเรียน
๓.กล้วยหอม
๔.ทับทิม
๕.ลูกอินทร์
๖.ลูกจันทร์
๗.องุ่น
๘.แตงไทย
๙.มะม่วง
๑๐.ลูกเกตุ
๑๑.ลูกตาล
๑๒.ลูกอินทผลัม
๑๓.แอปเปิ้ล
๑๔.ลิ้นจี่
๑๕.ลำใย
๑๖.สัปปะรด

ผลไม้ที่ห้ามขึ้นหิ้งบูชา
๑.ละมุด
๒.มังคุด
๓.พุทรา
๔.น้อยหน่า
๕.น้อยโหน่ง
๖.มะเฟื่อง
๗.มะไฟ
๘.มะตูม
๙.มะขวิด
๑๐.กระท้อน
๑๑.ลูกพลับ
๑๒.ลูกท้อ
๑๓.ระกำ
๑๔.ลูกจาก
๑๕.รางสาด

คาถาบูชาพ่อแก่
นะโม 3 จบ
อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง  อะหังวันทา อาจาริยัง  สัพพะสัยยัง  วินาสสันติ สิทธิการิยะ
อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม  ทุติยัมปิ อิมัง  อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา  อาจาริยัง สัพพะสัยยัง

วินาสสันติ สิทธิการิยะ  อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง  อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา
อาจาริยัง สัพพะสัยยัง  วินาสสันติ สิทธิการิยะ   อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม

คาถาบูชาพระฤาษี
โอม...อิมัสมิง พระประโคนธัพ  พระมุนีเทวา หิตาตุมเห  ปะริภุญชันตุ 
ทุติยัมปิ...อิมัสมิง  พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา  หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ  
ตะติยัมปิ...อิมัสมิง   พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา  หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ 

คาถาบูชาพระฤาษี 108 (รวม)
โอม สรเวโภย ฤ ษิโภย นะมัห 

บทอธิฐานขอพรพระฤาษี (ใช้ได้กับทุกๆ พระองค์)
โอม ตวะเมวะมาตา จะบิตา ตวะเมวะ 
ตวะเมวะพันธุศจะ สะขา ตวะเมวะ 
ตวะเมวะวิทะยา ทรวิณัม ตวะเมวะ 
ตวะเมวะสรวัม มะมะ เทวะ เทวะ 
คำที่เกี่ยวข้อง
เศียรพ่อแก่ขนาดครอบเศียรพ่อแก่ขนาดเล็กเศียรพ่อแก่ขนาดกลางเศียรพ่อแก่ขนาดห้อยคอหนวดฤๅษีหมวกฤๅษีเศียรพ่อแก่เศียรครูพ่อแก่เศียรพ่อแก่จิ๋วเศียรพระพิฆเนศขนาดครอบหัว

สินค้าใกล้เคียง