5008.กรดเกลือ เข้มข้น 35% ไฮโดรคลอริกแอซิด HCL Hydrochloric Acid 35% ขนาด 1 กิโลกรัม
5008-กรดเกลือ-เข้มข้น-35-ไฮโดรคลอริกแอซิด-hcl-hydrochloric-acid-35-ขนาด-1-กิโลกรัม
ข้อมูลสินค้า
ราคา
65.00 บาท
ขายแล้ว
808 ชิ้น
ร้านค้า
กรดเกลือ (HCl) 35% เป็นสารละลายใส มีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ผุกร่อนอย่างรุนแรง เมื่อสัมผัสกับน้ำ อาจมีควันแสบจมูก



กรดเกลือ (HCl) 35% สามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น

ระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นด่างของน้ำให้เป็นกรด ใช้ในกระบวนการฆ่าเชื้อในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
อุตสาหกรรมฟอกหนัง ใช้เป็นสารฟอกหนัง ฟอกสี
อุตสาหกรรมชุบเคลือบโลหะ
อุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมสี ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมผลิตสี และผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ตัวทำละลายกรด
อุตสาหกรรมน้ำยาทำความสะอาด ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโลหะ
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมโรงชุบและโลหะ
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมถุงมือยาง
อุตสาหกรรมกระดาษ


ข้อมูลความอันตรายของ กรดเกลือ (HCl) 35%

ระบบทางเดินหายใจ กรดเกลือทำให้เกิดอาการระคายเคืองจมูก ลำคอ และเยื่อบุทางเดินหายใจ เมื่อสูดดมเข้าไป 35 ppm จะเริ่มเกิดอาการ หากสูดดมเข้าไป 50 – 100 ppm อาการจะรุนแรง ทำให้เนื้อเยื่อบวม จนอุดตันทางเดินหายใจและ suffocation ได้ ผู้ที่ได้รับพิษรุนแรงจะมีอาการหายใจหอบ หายใจไม่ทัน เนื่องจากภาวะอุดกั้นหลอมลมขนาดเล็ก บางรายอาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำซึ่งอันตรายอย่างมาก สำหรับในเด็ก อาจเกิดอาการคล้ายหืดหอบ
สมดุลกรด – เบส ในร่างกาย อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รับกรดเกลือในระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานกรดเกลือเข้าไป จะทำให้มีอัตราการเผาผลาญสารอาหารมากกว่าปกติ อาจทำให้เสียชีวิตได้
ผิวหนัง เมื่อได้รับพิษจากกรดเกลือโดยการสัมผัสบริเวณผิวหนังในปริมาณมาก จะทำให้เกิดแผลลึกคล้ายไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอาจจะเกิดแผลที่เยื่อบุ หรือถ้าได้รับปริมาณน้อย (สัมผัสกรดเกลือที่เจือจาง) จะทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบและระคายเคือง หากเกิดในเด็กจะมีความรุนแรงมากกว่าในผู้ใหญ่
พิษต่อตา ไอระเหยของไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือกรดเกลือ ทำให้เซลล์กระจกตาตาย เลนต์ตาเกิดเป็นต้อกระจก และความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้นจนเป็นต้อหินได้ กรณีที่สัมผัสกับสารละลายที่เจือจาง จะเกิดแผลที่กระจกตาด้านนอก
ระบบทางเดินอาหาร ก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง กลืนลำบาก คลื่นใส้ อาเจียน การได้รับพิษโดยการกินกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น จะทำให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเกิดเป็นแผล ภายในมีเลือดออก แผลอาจทะลุได้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษจากการกิน การสัมผัสในปริมาณสูง โดย HCl ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร และระบบสมดุลน้ำและของเหลวในร่างกายเสียไป ทำให้ปอดทำหน้าที่ผิดปกติ


ข้อควรระวังและแนวทางปฏิบัติ เมื่อใช้ กรดเกลือ (HCl) 35%

เนื่องจากกรดเกลือมักจะเป็นพิษต่อทางเดินหายใจ และผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ จึงควรสวมหน้ากากป้องกันไอกรด, ถุงมือกันสารเคมีชนิดยาวถึงศอก, แว่นตานิรภัย, รองเท้าที่ทำจาก PVC และเสื้อผ้าคลุมตาม
ควรจัดให้ปฏิบัติงานในห้องที่มีระบบระบายอากาศดี
ควรจัดให้มีก๊อกน้ำ และอ่างล้างในสถานที่ปฏิบัติงาน
ระวังการสัมผัสถูกซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ควรเก็บภาชนะให้ปิดแน่นเสมอ, เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น, ระวังอาจเกิดแรงดันในภาชนะได้
ถ้าสัมผัสถูกให้เปิดน้ำล้างบริเวณที่สัมผัสถูก เช่น ตา, ผิวหนัง, ด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อม ๆ ไปกับถอดเสื้อผ้า และรองเท้าที่เปื้อนออก โดยเฉพาะบริเวณดวงตา เพื่อความแน่ใจว่าล้างสารพิษออกหมด ให้ใช้นิ้วมือดึงหนังตา เปิดล้างด้วยน้ำสะอาดด้วย
หากหายใจเข้าไป ให้นำผู้ป่วยออกมาที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ หากหายใจติดขัด ให้ออกซิเจน
หากผู้ป่วยไม่หายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ วิธีที่ควรใช้คือ ปาก ต่อ ปาก
หากรับประทาน และผู้ป่วยมีสติให้ดื่มน้ำมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาด
รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์
คำที่เกี่ยวข้อง
กรดไฮโดรคลอริก 35%กรดเกลือ 35%กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นกรดไฮโดรคลอริกกรดเกลือ เข้มข้นกรดไฮโดรคลอริก 4%สังกะสีซัลเฟต 35%กรดอะมิโนแอซิดhydrogen peroxide 35%ซิตริกแอซิด

สินค้าใกล้เคียง