(2 ถุงx120กรัม)สมุนไพรต้นหญ้าพันงูเขียวตากแห้ง หรือ ต้นน้ำดับไฟ หญ้าหนวดเสือ สี่บาท สารพัดพิษ หญ้าหางงู
ข้อมูลสินค้า
ราคา
136.00 83.00 บาท
ขายแล้ว
109 ชิ้น
ร้านค้า
สมุนไพรต้นหญ้าพันงูเขียวหรือต้นน้ำดับไฟ (ขนาด 120 กรัม)
ส่วนประกอบ ต้นหญ้าพันงูเขียว 100 %
สรรพคุณ ต้นหญ้าพันงูเขียวหรือต้นน้ำดับไฟ ใช้ต้มดื่มแทนน้ำเป็นยารักษาโรคไต เบาหวาน ความดัน โรคกระเพาะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคปวดท้องบิด โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ลดไข้แก้อาเจียน ขับพยาธิ แก้โรคหนองใน รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อ และอาการอักเสบต่างๆตามร่างกาย สมุนไพรตัวนี้จะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย หากจะให้ได้ผลที่ชัดเจนควรทานติดต่อกัน 2 เดือน
วิธีการต้มต่อครั้ง ใช้สมุนไพร 120 กรัมนำสมุนไพรมาล้างผ่านน้ำ เติมน้ำ 4 ลิตร ต้มด้วยไฟปานกลาง ต้มให้เดือดหลังจากเดือดแล้วไฟอ่อนลงเคี้ยวไว้ 20 นาที รอเย็นแล้วใช้ผ้าขาวบางกรองและกรอกใส่ขวดแช่ตู้เย็นหรือทานแบบ ต้มอุ่น ทุกเช้า-เย็น จนรสชาติยาจืด
วิธีดื่ม ดื่มทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น (ก่อนอาหาร) ครั้งละ 1-2 แก้ว
(หมายเหตุ สตรีมีครรภ์และหลังคลอดที่กำลังให้นมบุตร ห้ามรับประทาน)
สมุนไพรพันงูเขียว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เจ๊กจับกบ (ตราด), เดือยงู พระอินทร์โปรย (ชุมพร), หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ), สี่บาท สารพัดพิษ (ภาคกลาง), หญ้าหางงู (ภาคใต้), ลังถึ่งดุ๊ก (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เล้งเปียง (จีนแต้จิ๋ว), ยี่หลงเปียน ยวี่หลงเปียน เจี่ยหม่าเปียน (จีนกลาง), ฉลกบาท, หญ้าพันงูเขียว
ดอกพันงูเขียว
ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงิน เป็นรูปกลมงอเล็กน้อย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีกาบใบ 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันเลื่อย 4-5 หยัก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อน
ผลพันงูเขียว
ผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ พบได้ในบริเวณช่อดอก ถ้าแห้งแล้วจะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ด
สรรพคุณของพันงูเขียว
ทั้งต้นมีรสขม ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง (ทั้งต้น)ตำรับยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น 35 กรัม, เจียไก้หลาน 35 กรัม และอิไต้เถิง 25 กรัม นำมารวมกันตำผสมกับพิมเสนเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณตาที่บวม (ทั้งต้น)
ใบใช้รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำตาล ใช้เป็นยาอม (ใบ, ทั้งต้น)
ช่วยรักษาอาการอาเจียน (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียและโรคบิด (เปลือกต้น)ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคบิด (ใบ)
ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)[1]ใช้ขับพยาธิในเด็ก (ใบ)
ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองใน (ทั้งต้น)ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหนองใน (ราก)[4
รากมีสรรพคุณทำให้แท้ง (ราก)
ต้นสดใช้ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ แผลเปื่อย ฝีและหนอง และพิษอักเสบปวดบวม (ทั้งต้น)
ใบใช้เป็นยาทารักษาฝีหนอง (ใบ)
ตำรับยาแก้บวม ฟกช้ำ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น, โกฐดอกขาว และสือเชียนเถา อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาตำผสมกับกับเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
ใบใช้ตำพอกแก้เคล็ด (ใบ)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ (ทั้งต้น)
ใบใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อย (ใบ)รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย (ทั้งต้น)