พระเจ้าเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้ทรงพระเมตตาแห่งอาณาจักรล้านนา (หน้าตัก5นิ้ว)
พระเจ้าเม็งรายมหาราช-กษัตริย์ผู้ทรงพระเมตตาแห่งอาณาจักรล้านนา-หน้าตัก5นิ้ว
พระราชประวัติพ่อขุนเม็งราย

“พ่อขุนเม็งราย” หรือที่คนล้านนารู้จักกันในนาม “พญามังราย” เป็นราชโอรสของ “พระเจ้าลาวเมง” แห่งราชวงศ์ลวจักราช ผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับ “พระนางอั้วมิ่งจอมเมือง” หรือ “พระนางเทพคำ” ขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781 เมื่อมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระบิดาได้สู่ขอ ธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองมาเป็นคู่อภิเษกแล้วโปรดให้เมงรายเป็นมหาอุปราช เมื่อพระเจ้าลาวเมงสวรรคตในปี พ.ศ.1802 เมงรายราชโอรสจึงได้ครอง
พระราชกรณียกิจของพ่อขุนเม็งราย

1. ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่
-เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.1805
-เมืองกุมกาม (ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่) เมื่อ พ.ศ.1829
-เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.1834
นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ทรงบูรณะ “เมืองหิรัญนครเงินยาง” และในปี พ.ศ.1811 ได้บูรณะเมืองฝางเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ “ขุนอ้ายครือคำลก” หรือ “ขุนเครื่อง” ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง
2. ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ
กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำได้แล้ว ในปี พ.ศ.1824 ตีเมืองหริภุญชัยจาก “พระยายีบา” กษัตริย์ขอม พระยายีบาหลบหนีไปอยู่กับพระเบิกที่นครเขลางค์พ.ศ.1828 พระยายีบา และพระยาเบิกยกทัพขอมมาเพื่อตีเมืองหริภุญชัยคืน พ่อขุนเมงรายจึงทรงแต่งตั้งพระโอรสคือ ขุนคราม ยกทัพออกไปต้านทาน ได้รบกับ “พระยาเบิก” และจับพระยาเบิกสำเร็จโทษ พระยายีบารู้ข่าวว่าเสียบุตรจึงทิ้งเมืองเขลางค์หนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าขุนครามจึงได้เมืองเขลางค์อีกเมืองหนึ่งนับว่าดินแดนภาคเหนือทั้งหมดพ่อขุนเมงรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขตกว้างไกลดังนี้
ทิศเหนือ จรด สิบสองปันนา
ทิศใต้ จรด อาณาจักรสุโขทัย
ทิศตะวันออก จรด แคว้นลาว
ทิศตะวันตก จรด แม่น้ำสาละวิน
พ.ศ.1829 ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดี “พระเจ้าหงสาวดีเจงพยุเจง” เกรงพระบารมีจึงแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นไมตรีโดยยกพระราชธิดาพระนามว่า “นางปายโค” (ตะละแม่ศรี) ให้เป็นบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งราย พ.ศ.1832 ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระเจ้าอัง
3. ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนา
โดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่างๆ เช่น ช่างฆ้อง, ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนชาวลานนาไทย จึงเข้าใจว่าศิลปต่างๆ ของพุกามที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะเริ่มมาแต่นั้นเมื่อจำนวนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์มีมากขึ้น ก็ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตร และการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า
คำที่เกี่ยวข้อง
พ่อขุนเม็งรายมหาราชพระหน้าตัก 5 นิ้วพระแก้วมรกต หน้าตัก 5 นิ้วพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้วพระปางสมาธิหน้าตัก 5 นิ้วพระล้านนาไส้อั่วเม็งรายพ่อขุนเม็งรายพระเจ้า ตากสิน มหาราชพระเจ้าตากมหาราช

สินค้าใกล้เคียง