ความฝันในหอแดง ฉบับสมบูรณ์ แปลโดย วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์
ความฝันในหอแดง-ฉบับสมบูรณ์-แปลโดย-วิวัฒน์-ประชาเรืองวิทย์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
2,400.00 บาท
ขายแล้ว
116 ชิ้น
ร้านค้า
ความฝันในหอแดง ถือเป็นสารานุกรมที่ครบถ้วนด้วยแขนงความรู้ต่างๆ ในวัฒนธรรมจีน ผู้ที่ต้องการเข้าใจสภาพสังคมและประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ชิง หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอ่าน “ความฝันในหอแดง”



นาย ธนัสถ์ สุวัฒนมหาตม์ ผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ มาให้บรรยายในฐานะนักวิชาการอิสระ “นักหอแดงวิทยา” ผู้รู้เรื่องวรรณกรรม ความฝันในหอแดง ที่ดีสุดท่านหนึ่งของไทย ในหัวข้อ “ความฝันในหอแดง : เพชรเม็ดงามแห่งวรรณกรรมจีนที่ไม่ควรมองผ่าน” จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ทั้งยังได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม เกี่ยวกับความรู้วรรณกรรม ความฝันในหอแดง

ปริศนาผู้ประพันธ์

อาจารย์ ธนัสถ์ เปิดการบรรยายด้วยการเจาะลึกเกี่ยวกับตัวผู้แต่งนิยาย ความฝันในหอแดง ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักหอแดงวิทยา สำหรับ ความฝันในหอแดง ประพันธ์โดย เฉาเสวี่ยฉิน (曹雪芹) ปี ค.ศ. 1744 - 1755 รวมเวลาสิบปีระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง (ปี ค.ศ. 1735 - 1795) นิยายเรื่องนี้ มีชื่อเดิมว่า “บันทึกแห่งศิลา” หรือ สือโถ่วจี้ (石头记)

ต้นฉบับ ความฝันในหอแดง ที่เฉาเสวี่ยฉินเป็นผู้ประพันธ์นั้นไม่จบสมบูรณ์ มีเพียง 80 ตอน โดยข้อมูลทั่วไประบุว่า เฉาเสวี่ยฉิน แต่งนิยายไปได้ 80 ตอน ก็ถึงแก่กรรม ขณะที่ผู้อ่านติดนิยายเรื่องนี้กันมาก จนเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแต่งนิยายต่อจนจบ จึงมีนักประพันธ์หลายท่าน มาแต่ง “ภาคต่อ” บางฉบับมี 20 ตอน บางฉบับมี 30 ตอน

ความฝันในหอแดง “ภาคต่อ” แต่งโดยเกาเอ้อ (高鹗) จำนวน 40 ตอน ได้รับเลือกให้ผนวกเข้ากับฉบับดั้งเดิม 80 ตอน ของเฉาเสวี่ยฉิน กลายเป็น ความฝันในหอแดง ฉบับสมบูรณ์ 120 ตอน ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะในปี ค.ศ. 1791 และถือเป็นฉบับแพร่หลาย แต่ก็มีผู้วิจารณ์ว่า “ภาคต่อ” ของเกาเอ้อนั้น ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเฉาเสวี่ยฉิน
2
อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักหอแดงวิทยา อาทิ โจวหรูชัง (周汝昌) ระบุว่า เฉาเสวี่ยฉิน แต่งนิยาย ความฝันในหอแดง จบบริบูรณ์ รวมทิ้งสิ้น 108 ตอน แต่ 28 ตอนนั้น ได้สูญหายไป

คุณค่าและสถานะทางประวัติศาสตร์ของความฝันในหอแดง

แกนเรื่องนิยาย ความฝันในหอแดง เป็นเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวในตระกูลมั่งคั่งในระบบสังคมศักดินา คือ จย่าเป่าอี้ว์ หลินไต้อี้ว์ และเชวียเป่าไช เป็นนิยายแนว “สัจจนิยม” (Realism) ที่มุ่งสะท้อนความฟอนแฟะของระบบสังคมศักดินา เปิดโปงชีวิตฟุ้งเฟ้อของชนชั้นสูง จึงเป็นหนังสือต้องห้ามในยุคนั้น ราชสำนักใช้ “คุกอักษร” (文字狱) จัดการกับผู้ประพันธ์หนังสือต้องห้าม เฉาเสวี่ยฉิน จึงไม่แต่งง่ายๆ แสดงนัยออกมาตรงๆ แต่ได้ซ่อนความจริงไว้ในระหว่างบรรทัดของเรื่องราว

ความฝันในหอแดง เมื่ออ่านโดยผิวเผินแล้ว อาจดูเป็นนิยายรักๆใคร่ๆ สัมพันธ์ชู้สาวผิดศีลธรรม โศกนาฏกรรมครอบครัวชนชั้นสูง ทว่า เบื้องลึกของเรื่องราวดังกล่าว ได้แฝงซ่อนความจริงที่ฟอนเฟะแห่งยุคราชวงศ์ชิง ดั่งที่ อาจารย์ ธนัสถ์ กล่าวว่า “การอ่านนิยายความฝันในหอแดงต้องอ่านในแนวลึก มิใช่แนวราบ แต่จุดที่ยากไปกว่านั้นคือ การอ่านลึกควรจะลึกแค่ไหน หากอ่านลึกเกินไป ก็เกินเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์เฉาเสวี่ยฉิน หากอ่านตื้นเกินไป ก็เข้าไม่ถึงเจตนารมณ์ของเฉาเสวี่ยฉิน”

อาจารย์ ธนัสถ์กล่าวถึงคุณูปการของนิยาย ความฝันในหอแดง ว่าเป็นการถ่ายทอดจิตวิญญาณของคนจีนสมัยราชวงศ์ชิง ว่าควรเปลี่ยนโลกทัศน์ที่เหยียดผู้หญิงที่ต้องประสบชะตากรรมต่างๆอย่างน่าสะเทือนใจและไม่เป็นธรรม

ความฝันในหอแดง ถือเป็นสารานุกรมที่ครบถ้วนด้วยแขนงความรู้ต่างๆ ในวัฒนธรรมจีน ความคิดคนจีน โลกทัศน์จีน ศาสนา ปรัชญา อาหาร การแพทย์ ตำรับยา สถาปัตยกรรม การจัดสวน เป็นต้น ผู้ที่ต้องการเข้าใจสภาพสังคมและประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ชิง หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอ่าน “ความฝันในหอแดง”

“ในเมืองจีนถือวรรณกรรมความฝันในหอแดง เป็นผลงานชิ้นเอก เทียบเท่ากับกำแพงเมืองจีนเลยทีเดียว”

“ในแง่มุมศาสนาปรัชญา ในความเห็นส่วนตัวของผม ความฝันในหอแดง ได้รวมสามลัทธิเข้าด้วยกัน ทั้งขงจื่อ พุทธ และเต๋า ในวรรณกรรมจีนทุกเรื่องได้สะท้อนสามลัทธิศาสนานี้ สำหรับความฝันในหอแดงนั้น โจมตีลัทธิขงจื่อ ซึ่งทำให้ชีวิตผู้หญิงจีนสมัยก่อนต้องทุกข์ระทมแหลกเหลว ระบบการสอบ “ปากู่เหวิน” (八股文)เพื่อเข้ารับราชการเป็นขุนนาง ก็เป็นลัทธิขงจื่อ ซึ่งพระเอกเป่าอี้ว์ไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม ขงจื่อก็มีทั้งจุดที่ดีและจุดที่ไม่ดี” อาจารย์ ธนัสถ์ กล่าวเพิ่มเติมในการให้สัมภาษณ์


ความฝันในหอแดง : พินิจเพชรเม็ดงามแห่งวรรณกรรมจีน
เฉาเสวี่ยฉินเรียกร้องความเสมอภาคแก่สตรี และตำหนิกรอบจารีตในลัทธิขงจื่อ ที่กำหนดบทบาทผู้หญิงที่ดี ต้องยึดถือ “สามคล้อยสี่คุณธรรม” ได้แก่ สามคล้อยคือ ยังไม่ออกเรือนคล้อยตามบิดา ออกเรือนคล้อยตามสามี สามีถึงแก่กรรมแล้วคล้อยตามบุตรชาย ส่วน “สี่คุณธรรม” คือ นารีธรรม นารีพงษ์ นารีลักษณ์ นารี

การทำความเข้าใจความฝันในหอแดง

...คำพ้องเสียงบอกความนัย “แท้จริงเป็นเรื่องน่าเวทนา”
จากตอนที่หนึ่งของนิยาย เฉาได้ตั้งชื่อตัวละครโดยใช้คำพ้องเสียงที่จีนเรียก “เสียอิน” (谐音) เพื่อบอกความนัยแก่ผู้อ่าน ว่านิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ต้องแฝงเร้นไว้ อาทิเช่น

การตั้งชื่อตัวละครเปิดเรื่อง เจินซื่ออิ่น (甄士隐) พ้องเสียงกับ “เจินซื่ออิ่นชี่ว์” (真事隐去) ที่แปลว่า แฝงเร้นเรื่องจริง, จย่าอี่ว์ชุน (贾雨村)พ้องเสียงกับ จย่าอี่ว์ชุนเยียน (假语存焉) ที่แปลว่า เหลือคำเท็จไว้

เฉาเสวี่ยฉินใช้คำพ้องเสียงซ่อนความจริงไว้ในชื่อตัวละครอีกมาก เช่น ชื่อของสี่คุณหนูแห่งตระกูลจย่า คือ หยวนชุน (元春), อิ๋งชุน (迎春), ทั่นชุน (探春), และชีชุน (惜春)โดยเสียงของอักษรตัวแรกในชื่อเหล่านี้ คือ หยวน-อิ๋ง-ทั่น-ซี พ้องเสียง กับ หยวนอิ่งทั่นซี (原应叹息) เพื่อที่จะสื่อความหมาย “แท้จริงเป็นเรื่องน่าเวทนา”
คำที่เกี่ยวข้อง
ความฝันในหอแดงเปาบุ้นจิ้น ฉบับสมบูรณ์พรหมชาติฉบับสมบูรณ์รามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์ประมวลรัษฎากรฉบับสมบูรณ์หนังสือ รามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์ตำรา พรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์พูดอังกฤษฉบับสมบูรณ์สามก๊กฉบับสมบูรณ์คู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์

สินค้าใกล้เคียง