บ้านหนังสือ - ตามล่าพระเจ้าในกาฐมาณฑุ ราคาเต็ม 195
ข้อมูลสินค้า
ราคา
156.00 บาท
ขายแล้ว
2 ชิ้น
ร้านค้า
บ้านหนังสือ - ตามล่าพระเจ้าในกาฐมาณฑุ (Arresting god in Kathmandu)
รวมเรื่องสั้นของนักเขียนชาวเนปาล ที่ตีแผ่สังคมของเนปาลกับเรื่องราวของวัฒนธรรมใหม่และเก่า
ผลงานชิ้นเยี่ยมของ สัมรัต อุปัชฌาย์ แปลโดย วรวดี วงศ์สง่า
............................................
📌📝รีวิวโดย/ ไพวรินทร์ ขาวงาม
หนังสือ “ตามล่าพระเจ้าในกาฐมาณฑุ"
ที่อยากเขียนถึง เพราะอ่านแล้วชอบ รู้สึกเหมือนได้ไปเที่ยวเนปาลในอีกมิติหนึ่ง เป็นมิติทางวัฒนธรรมที่ลึกซึ้ง สวยงาม และแสนเศร้า
ว่ากันว่า บางคนเมื่อเลือกไปเที่ยวที่ไหน จะหาอ่านวรรณกรรมของที่นั่นก่อน
สัมรัตเป็นคนกาฐมาณฑุ ไปใช้ชีวิตสอนหนังสืออยู่ที่อเมริกา เขาเขียนหนังสือเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ และหนังสือเล่มนี้ของเขาก็ทั้งได้รางวัลและขายดีที่นั่น จนเกิดคำกล่าว “ผลงานการค้นพบที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งในอเมริกา”
อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านเรื่องสั้นทั้งหมดแล้ว ความรู้สึกบอกผมว่า ผมได้กลิ่นเนปาล กลิ่นกาฐมาณฑุ แม้แต่กลิ่นอินเดีย หรือเอเชีย
สัมรัตเล่าเรื่องผู้คนในบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ สังคมเคร่งครัดวัฒนธรรมประเพณีแบบเนปาลก็สั่นสะเทือน เมื่อคนชนบทต้องเข้าไปเรียนหรือทำงานในเมือง เมื่อคนเมืองต้องไปเรียนหรือทำงานต่างประเทศ เข้าเมืองแล้วก็ต้องกลับชนบท ไปต่างประเทศแล้วก็ต้องคืนสู่มาตุภูมิ สลับไปสลับมาตลอดเวลา
อะไรเหล่านี้ จิตใจของผู้คนย่อมหวั่นไหวไปตามแรงลม ความแปลกแยกแตกต่างปรุงรสกันจนกลายเป็นกลิ่นใหม่ๆ ของชีวิต บางเรื่องผมเห็นปัญหาเดียวกับสังคมไทย
ผู้หญิงบางคนไปเรียนอเมริกา ก็ไปเป็นแบบคนที่นั่นเขาเป็น แม้กระทั่งเรื่องเซ็กส์ แต่เมื่อกลับบ้าน เธอก็ต้องตกอยู่ในอาณัติครอบครัว ต้องเลือกผู้ชายที่ทางบ้านจัดให้มาดูตัว
บางคนแม่ส่งไปเรียนเมืองหลวง กลับบ้านอุ้มท้องมาฝาก แม่อับอายขายหน้า ก็บังคับให้แต่งงานกับคนไม่เอาไหนที่แม่เองไม่ชอบเอาเสียเลย แต่เพื่อรักษาหน้าว่างั้นเถอะ
คลุมถุงชน, พบได้แทบจะทุกเรื่องในรวมเรื่องสั้นชุดนี้ และนั่นได้กลายเป็นเงื่อนปมทางใจในสถาบันครอบครัวที่ยากจะแก้ไขได้ง่ายๆ กระทั่งคู่ผัวตัวเมียเมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ก็อาจเกิดอาการดิ้นรนที่จะออกจากกรงกรอบครอบครัว แสวงหาความตื่นเต้นทางเพศที่สุ่มเสี่ยง เช่นถ้าเป็นผู้ชายก็กับลูกศิษย์ เลขา คนใช้
มันเป็นความจริงที่ยากจะยอมรับ เนปาลถือเป็นดินแดนแห่งจิตวิญญาณ แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ ล้วนตกเป็นเหยื่อของตัณหาราคะทางโลก ในเรื่องราวเหล่านี้ ผู้เขียนคือ สัมรัต อุปัชฌาย์ สามารถผูกเรื่อง เล่าเรื่อง ได้อย่างน่าสะทกสะท้าน เขาไม่เพียงสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หากขุดลึกถึงก้นบึ้งจิตวิญญาณมนุษย์ และวัฒนธรรมสังคม
ไม่สรุปหรือชี้เป็นชี้ตายทางความคิด แต่ทำให้อ่านแล้วคิดต่อถึงธรรมชาติมนุษย์ ที่ไม่เพียงแต่คนเนปาลเท่านั้น…ถึงบรรทัดนี้ ผมก็ทำท่าจะจบไม่ลงเสียแล้วละครับ!
กาฐมาณฑุ, พระเจ้ามีความผิดอะไรนักหรือ นักเขียนผู้นี้จึงตามล่า