ต้นหูเสือ หอมด่วนหูเสือ หอมด่วนหลวง เนียมหูเสือ สมุนไพร​ไทย​ ผักสวนครัว
ต้นหูเสือ-หอมด่วนหูเสือ-หอมด่วนหลวง-เนียมหูเสือ-สมุนไพร-ไทย-ผักสวนครัว
ข้อมูลสินค้า
ราคา
25.00 20.00 บาท
ขายแล้ว
757 ชิ้น
ร้านค้า
#ต้นหูเสือ #สมุนไพร​ไทย​ #ผักสวนครัว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.
( Syn. Coleus amboinicus Lour.)

ชื่อสามัญ : Indian borage
วงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)

สมุนไพรหูเสือ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า #หอมด่วนหูเสือ #หอมด่วนหลวง (ภาคเหนือ), #เนียมหูเสือ (ภาคอีสาน), #ผักฮ่านใหญ่ (ไทใหญ่), #ผักหูเสือ (ไทย), #เนียมอีไหลหลึง #โฮว้หีเช่า (จีน) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้ : ใบสด

สรรพคุณของหูเสือ
1.ต้นและใบมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้นและใบ)[1]
2.ใบหูเสือมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)[1],[4]
3.ตำรับยาบำรุงเลือดลม ระบุให้ใช้รากหูเสือนำมาต้มกับน้ำกิน จะช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ (ราก)[4]
4.ต้นและใบนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู จะช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหูได้ (ต้นและใบ, ใบ)[1],[2],[4]
5.ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการนำรากหูเสือมาแช่กับน้ำธรรมดา แล้วนำมากินและอมบ่อย ๆ (ราก)[4]
6.ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะแก้อาการปวด ลดไข้ (ใบ)[1]
7.ต้นและใบใช้ตำแล้วนำมาโปะหน้าผากหรือกระหม่อมเด็กเล็กจะช่วยลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็กได้ (ต้นและใบ,ใบ)[1],[4]
8.ใบนำมาขยี้ดม จะช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูกได้ (ใบ)[1],[4]
9.ตำรับยาแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 1 ลิตร กินครั้งละครึ่งแก้ววันละ 3 เวลา (อาจจะใส่น้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อยด้วยก็ได้) โดยให้กินก่อนหรือหลังอาหาร อุ่นเช้าและเย็น สัก 2 วัน ต้มดื่มเรื่อย ๆ จะช่วยทำให้อาการไอและเจ็บคอดีขึ้นและหายได้ หรืออีกวิธีให้ใช้ใบหูเสือสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาสับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียด ใช้ต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น โดยให้กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้าและเย็น ส่วนตำรับยาแก้ไอในเด็ก ระบุให้นำใบหูเสือมานวดกับเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือด แล้วนำมาให้เด็กกิน (ใบ)[1],[4]
10.ช่วยแก้โรคหืดหอบ ด้วยการนำใบหูเสือสดมารับประทานร่วมกับน้ำพริก แจ่ว จะช่วยแก้หอบหืด ทำให้หายใจโล่ง อีกทั้งยังช่วยแก้ไอ แก้หวัดได้อีกด้วย (ใบ, ต้นและใบ)[1],[4]
11.ต้นและใบนำมาขยี้ใช้ทาท้องเด็กเพื่อแก้อาการท้องอืดได้ (ต้นและใบ, ใบ)[1],[4]
12.ยางจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินจะช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย (ยางจากใบ)[1]
13.ใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ใบ)[1]
14.ใบนำมาต้มกับน้ำกินหลังคลอดจะช่วยขับน้ำคาวปลา (ใบ)[1]
15.ต้นและใบนำมาขยี้ใช้เป็นยาปิดห้ามเลือด (ต้นและใบ, ใบ)[1],[4]
16.ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการนำใบหูเสือมาล้างให้สะอาด ตำแล้วนำมาโปะตรงที่เป็นแผล จะช่วยทำให้แผลไม่เปื่อย ไม่พอง และไม่ลุกลาม (ใบ)[1],[4]
17.ใบนำมาคั้นเอาใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง แผลที่มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเป็นตุ่มพุพอง (ใบ)[1],[4]
18.ใบนำมาขยี้ทารักษาหิด (ใบ)[1],[4]
19.ใบใช้ภายนอกนำมาขยี้ทาหรือใช้เป็นยาพอกแก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด (ใบ)[1],[4]
20.ช่วยรักษาอาการบวม ใช้ตำพอกแก้ปวดข้อ (ใบ)[1],[4]
21.ใบใช้เป็นยาแก้ลมชักบางประเภท (ใบ)[1]
22.ช่วยบำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี (ใบ)[4]
23.บางข้อมูลระบุว่าหูเสือยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (นำใบมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา), ช่วยลดเสมหะ (นำใบสดมาต้ม ใส่ใบกระวานและกานพลูเล็กน้อย ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน) (ไม่มีแหล่งอ้างอิง)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหูเสือ
1.สารสำคัญที่พบได้ในใบหูเสือ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย carvacrol, cyperene, thymol, γ-terpinene เป็นต้น[3]
2.หูเสือหรือเนียมหูเสือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อรา ยับยั้งยีสต์ ฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่น และยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV[3]

ประโยชน์ของหูเสือ
1.ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบทุกชนิด ก้อย แจ่วป่น ซุปหน่อไม้ ซุบมะเขือ ใช้ใส่ในแกงต่าง ๆ ใช้รับประทานสดเป็นผักแกล้มกับอาหารอื่น ๆ ใช้กินกับหมาก รวมทั้งยังนำมาใช้แทนใบกะเพราในแกงกบ แกงปลาไหล ผัดหมูสับ เป็นต้น เนื่องจากผักหูเสือมีน้ำมันหอมระเหยสูง จึงช่วยย่อยและดับกลิ่นคาวได้ดีมาก[1],[2],[4]
2.กลิ่นหอมของใบหูเสือจะคล้ายกับเครื่องเทศ "ออริกาโน" (Oregano) ที่ใช้โรยหน้าพิซซ่า หากใครที่ชอบกลิ่นของออริกาโน ก็สามารถนำใบหูเสือมาตากให้แห้งสนิทในที่ร่ม แล้วบดให้ละเอียด เพียงเท่านี้ก็สามารถนำมาใช้แทนออริกาโนได้เลย[4]
3.ต้นนำมาตำหรือบดใช้ซักผ้า สระผมได้[5]
4.ใบสามารถนำไปทำเป็นยานัตถุ์ได้ เพราะมีกลิ่นหอม หรือจะนำมาใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง ใช้ดับกลิ่นคาวอาหารก็ได้[1],[4]
5.หูเสือ เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย ตามบ้านเรือนต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะพบหูเสือถูกปลูกอยู่ในกะละมัง แม้ว่าผักหูเสือจะไม่ใช่ผักหรือสมุนไพรที่โดดเด่น แต่แทบทุกบ้านมักจะปลูกไว้เป็นไม้คู่บ้าน โดยชาวบ้านในแถบทางภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ[4]
คำที่เกี่ยวข้อง
ต้นเนียมหูเสือเนียมหูเสือต้นหูเสือต้นหูเสือด่างต้นใบหูเสือหูเสือเปราะหูเสือต่างหูเสือหูเสือด่างหูเสือดาว

สินค้าใกล้เคียง