ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู 2 ภาษา กรมศิลปาก
ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู-2-ภาษา-กรมศิลปาก
ข้อมูลสินค้า
ราคา
1,500.00 บาท
ร้านค้า
หนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายูรวมภาพถ่ายประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก ตลอดจนเมืองในแหลมมลายู ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เก็บรักษาอยู่ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่าวาสุกรี คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาจัดทำหนังสือประมวลภาพประวัติศาสตร์ไทยคัดเลือก ศึกษา และจัดทำคำบรรยายภาพ ที่ได้ประมวลไว้ในหนังสือเล่มนี้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงหัวเมืองทางภาคใต้ของไทยแต่เดิมว่าแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งอ่าวไทย เรียกโดยรวมว่า หัวเมืองปักษ์ใต้ ได้แก่ เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา และเมืองตานี (ปัตตานี) ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน เรียกโดยรวมว่า หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก ได้แก่เมืองภูเก็ต เมืองพังงา เมืองตรัง นอกจากนี้ ยังมีหัวเมืองมลายูประเทศราช ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู
หัวเมืองเหล่านี้ในสมัยโบราณนับว่าห่างไกลจากเมืองหลวง ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มิได้ปรากฎว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จพระราชดำเนิน จนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีเรือกลไฟเป็นพระราชพาหนะแล้ว กอปรกับพระราชนิยมในการเสด็จประพาสหัวเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนหัวเมืองปักษ์ใต้โดยเสด็จฯ ไปถึงเมืองสงขลาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๑ และถึงเมืองตานีในปีพุทธศักราช ๒๔๐๖
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสหัวเมืองในแหลมมลายูเป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓ คราวเสด็จเมืองสิงคโปร์และเมืองปัตตาเวีย โดยได้ทรงแวะประพาสเมืองสงขลาด้วย ต่อมาในการเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศอินเดียในปีถัดมา จึงได้เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันตก คือ เมืองภูเก็ต และเมืองพังงา ตลอดจนเมืองประเทศราชในแหลมมลายู คือเมืองไทรบุรี เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสหัวเมืองเหล่านี้อีกหลายครั้ง ได้แก่การเสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ การเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันตกเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒ และพุทธศักราช ๒๔๓๓ การเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ และแหลมมลายู ในคราวเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และชวาครั้งที่สอง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๙ การเสด็จประพาสเมืองปีนัง ในคราวเสด็จประพาสทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ การเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันตกเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๑ พุทธศักราช ๒๔๔๒ และพุทธศักราช ๒๔๔๓ การเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ในคราวเสด็จประพาสประเทศชวาครั้งที่สาม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๔ และการเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ครั้งสุดท้ายในรัชสมัย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๘
ในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองทางไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชนิพนธ์ระยะทาง รายงานสภาพบ้านเมืองตลอดจนเหตุการณ์ตามเส้นทางเสด็จ หรือมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานมายังคณะผู้รักษาพระนคร นอกจากนี้ยังมีจดหมายเหตุของทางราชการซึ่งโดยมากเป็นพระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ และบางคราวมีการตีพิมพ์เป็นระยะในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา เอกสารเหล่านี้ให้ข้อมูลปฐมภูมิที่สะท้อนถึงความเจริญของบ้านเมืองในครั้งนั้น ทั้งยังเป็นภาพสะท้อนถึงน้ำพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยทุกข์สุขของทวยราษฎร ทั้งหัวเมืองชายพระราชอาณาเขต ตลอดถึงเมืองประเทศราช ที่แม้จะแตกต่างกันในเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ก็ยังคงอยู่ร่วมกันได้ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
อย่างไรก็ดี ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ ย่อมเป็นเอกสารจดหมายเหตุสำคัญอีกประเภทหนึ่ง ที่บันทึกเรื่องราวของการเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองปักษ์ได้ หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกตลอดจนเมืองในแหลมมลายูในครั้งนั้น ในอีกรูปแบบหนึ่ง ภาพเหล่านี้บางภาพเคยตีพิมพ์มาก่อนแล้วในหนังสือบางเล่ม แต่ก็มีเพียงจำนวนน้อย สาหรับการจัดพิมพ์ในครั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯได้ประมวลภาพถ่ายเกือบทั้งหมดที่เก็บรักษาอยู่ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทั้งภาพจากชุดฟิล์มกระจกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และสมุดภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเรียงภาพตามลำดับเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินได้รวม ๕ คราว คือในพุทธศักราช ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘) พุทธศักราช ๒๔๓๓ (ร.ศ. ๑๐๙) พุทธศักราช ๒๕๓๙ (ร.ศ. ๑๑๕) พุทธศักราช ๒๔๔๑ (ร.ศ. ๑๑๗) และพุทธศักราช ๒๔๔๘ (ร.ศ.๑๒๔) ตามลำดับ โดยบางภายมีคำบรรยายภาพเป็นลายพระราชหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงบันทึกไว้อย่างย่อสำหรับความทรงจำ ขณะที่ภาพจำนวนมากไม่มีคำบรรยายภาพมาแต่เดิม คณะอนุกรรมการ ฯ จึงต้องศึกษาหาหลักฐาน ข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียงลำดับรูปภาพใหม่ให้ถูกต้องที่สุด ซึ่งมีบางภาพไม่สามารถระบุหลักฐานที่ชัดเจนได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลาใด ก็จะนำภาพมาเรียงไว้ที่ส่วนท้ายของเรื่องเดียวกัน อนึ่ง การเรียบเรียงคำอธิบายภาพนั้น พระอิสริยยศเจ้านาย บรรดาศักดิ์ข้าราชการ คงใช้ในระยะเวลาที่ปรากฏเหตุการณ์ รวมทั้งการเรียกขานนามเมืองต่างๆ ยังคงใช้ว่า เมือง มิได้ใช้ว่า จังหวัด ดังเช่นปัจจุบัน นอกจากนี้ในการทำคำบรรยายภาพ เช่น เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู ได้มีการสอบถามนักวิชาการในพื้นที่ที่สามารถให้ข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย

พิมพ์ครั้งที่ ๑
พ.ศ.๒๕๖๓
จำนวน ๒๑๖ หน้า
คำที่เกี่ยวข้อง
ชาไทยปักษ์ใต้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าผงชาไทยปักษ์ใต้ใบชาไทยสูตรปักษ์ใต้พระคัมภีร์ 2 ภาษาสมเด็จพระนเรศวรสมเด็จพระพุฒาจารย์สมเด็จพระเทพสมเด็จพระเทพฯสมเด็จพระปฐมปางพระนิพพาน

สินค้าใกล้เคียง