ออติวา 250ml.ไดฟีโนโคนาโซล+อะซอกซีสโตรบิน สารป้องกันกำจัดโรคพืช กำจัดเชื้อรา โรคกาบใบแห้ง
ข้อมูลสินค้า
ราคา
509.00 บาท
ขายแล้ว
16 ชิ้น
ร้านค้า
ชื่อการค้า : ออติวา
ชื่อสามัญ : ไดฟีโนโคนาโซล (difenoconazole) + อะซอกซีสโตรบิน (azoxystrobin)
กลุ่มสารเคมี : Strobilurin type
: Methoxyacrylate +triazole กลุ่ม 3+11 สารป้องกันกำจัดโรคพืช
สารสำคัญ : methyl(E)-2{2-[6-(2-cyanophenoxy) pyrimidin-4-yloxy]-3-methoxyacrylate+cis,trans-3-chloro-4-[4-methyl-2-(1H-1,2,4-triazol-1-ylmethyl)-1,3-dioxolan-2-yl]phenyl 4-chlorophenyl ether............20%+12.5% W/V SC
ออติวา
(ไดฟิโนโคนาโซล+อะซอกซีสโตรบิน)
สารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดดูดซึม ป้องกันกำจัดโรคใบจุดสีม่วง และ หอมเลื้อย ในพืชตระกูลหอมกระเทียม ป้องกันกำจัดโรคช่อดำและแอนแทรคโนสในมะม่วง โรคใบจุดในลำไย โรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคราสนิมในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โรคกาบใบแห้ง กาบใบเน่า ใบจุดสีน้ำตาล และเมล็ดด่างในนาข้าว โรคแอนแทรคโนส(โรคกุ้งแห้ง)ในพริก โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง โรคสแคป (scab)ในองุ่น
ออติวา
คุ้มครองและปกป้องคุณภาพผลผลิต ด้วยสูตรน้ำ ออกฤทธิ์กว้างขวางในการป้องกันกำจัดโรคพืชหลายชนิด ทั้งพืชผัก ผลไม้ และนาข้าว ด้วยสารออกฤทธิ์สองชนิด ทำให้ออติวาให้ผลในการป้องกันกำจัดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ ปลอดภัยต่อพืชทุกระยะ ดูดซึมได้เร็ว รวมถึงช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว
ประโยชน์และวิธีใช้
ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืช ดังนี้
พืชโรคพืชอัตราการใช้ ต่อน้ำ 20 ลิตรวิธีการใช้
พริก : โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici 10 มิลลิลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 7 วัน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Exserohilum turcicum 5-10 มิลลิลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 10 วัน
โรคราสนิม(Rust)ในข้าวโพด ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Puccinia polysora อัตราการใช้ 15-20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยอัตราการใช้น้ำ 80 ลิตรต่อไร่ พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค ติดต่อกันทุก 7 วัน
ข้าวโพดหวาน : โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern corn leaf blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Exserohilum turcicum 5-10 มิลลิลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 10 วัน
มันฝรั่ง : ใช้ป้องกันกำจัด โรคใบไหม้ (late blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora infestans
25 มิลลิลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 5 วัน
ข้าว : ใช้ป้องกันกำจัด โรคเมล็ดด่าง (dirty panicle) ในข้าว ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae, Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Fusarium incarnatum, Sarocladium oryzae และ Trichoconis padwickii 10-15 มิลลิลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่) พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกในระยะข้าวตั้งท้อง และครั้งที่สองในระยะข้าวออกรวง 5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ป้องกันกำจัด โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown spot) ในข้าว ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Bipolaris oryzae
10-15 มิลลิลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่) พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 10 วัน
ใช้ป้องกันกำจัด โรคกาบใบแห้ง (sheath blight) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris) 10-15 มิลลิลิตร (อัตราการใช้น้ำ 80 ลิตร ต่อไร่)
พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 10 วัน
โรคกาบใบเน่า (sheath rot) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sarocladium oryzae
15-20 มิลลิลิตร พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพบการระบาดของโรค และครั้งที่สองหลังจากพ่นครั้งแรก 14 วัน
มะม่วง : โรคแอนแทรคโนส (anthracnose) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
10 มิลลิลิตร พ่นครั้งแรกเมื่อมะม่วงติดผลอ่อนขนาด 0.5 เซนติเมตร พ่นซ้ำทุก 7 วัน จนถึงระยะห่อผล
องุ่น : โรคสแคป (scab) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Sphaceloma ampelinum 10-15 มิลลิลิตร
พ่นสารเมื่อพบการระบาดของโรค พ่นซ้ำทุก 4 วัน
ลำไย : โรคใบจุด (blackspot) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
5 มิลลิลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค
หอมหัวใหญ่ : โรคใบจุดสีม่วง (purple blotch) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria porrl
5 มิลลิลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน
วิธีเก็บรักษา
ต้องเก็บ ออติวา ในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ และไม่ให้ถูกแสงแดด สถานที่เก็บต้องแห้ง และเย็น ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่ม สัตว์เลี้ยงและเปลวไฟ
#ออติวา #ไดฟีโนโคนาโซล #อะซอกซีสโตรบิน #สารป้องกันกำจัดโรคพืช #กำจัดเชื้อรา #โรคกาบใบแห้ง #โรคกาบใบเน่า #ใบจุดสีน้ำตาล #โรคเมล็ดด่าง #โรคแอนแทคโนส #โรคช่อดำ #โรคกุ้งแห้งพริก #โรคใบไหม้ #โรคราสนิม #โรคใบไหม้แผลใหญ่ #โรคใบจุด #โรคสแคป #โรคใบจุดสีม่วง #โรคหอมเลื้อย #ซินเจนทา