องค์การและการจัดการ (สมคิด บางโม)
ข้อมูลสินค้า
ราคา
285.00 257.00 บาท
ขายแล้ว
320 ชิ้น
ร้านค้า
องค์การและการจัดการ
ผู้เขียน สมคิด บางโม
ปีที่พิมพ์ ครั้งที่ : / 2562
จำนวนหน้า : 396 หน้า
ขนาด : 18.5 x26 ซม.
รูปแบบ : ปกอ่อน
9786160835188
se-ed
นำเสนอความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ โครงสร้างขององค์การธุรกิจ การวางแผน การจัดองค์การ การอำนวยการ การจัดการงานบุคคล ฯลฯ ทั้งยังมีเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดทางการบริหารสมัยใหม่ตามแนวของชาวอเมริกันและญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของการจัดการที่ประสบความความสำเร็จ เช่น การรื้อปรับระบบ กลุ่มควบคุมคุณภาพ ไคเซ็น เป็นต้น
พร้อมตัวอย่างโครงการและแบบฟอร์มโครงการต่างๆ ขององค์การธุรกิจที่น่าสนใจ ตลอดจนกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการการทำงานเป็นทีม การบริหารความขัดแย้ง และแนวคิดทางการบริหารที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารคุณภาพรวม การวิเคราะห์สวอต การบำรุงรักษาทวีผล ตัวชี้วัด บาลานซ์สกอร์การ์ด เบนซ์มาร์กกิงซิกซ์ซิกมา และระบบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมด้วยแนวความคิดในการบริหาร วัฒนธรรมเน้นผลงานผู้นำแบบ 4E การเขียนแผนธุรกิจ องค์กรอัจฉริยะ การประเมินผลแบบ 360 องศา รางวัลคุณภาพแห่งชาติ และอุปนิสัย 7 ประการของผู้มีประสิทธิภาพสูง
รองศาสตราจารย์สมคิด บางโม
หนังสือ "องค์การและการจัดการ" เล่มนี้ สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี วิชาเอกในกลุ่มการบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น วิชาเอกการบริหารธุรกิจ การจัดการ การตลาด การบัญชี การเงินการธนาคาร เป็นต้น เนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวกับองค์การ ทฤษฎีองค์การ การเปลี่ยนแปลงองค์การ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดการงานบุคคล การอำนวยการ การควบคุมงาน ภาวะผู้นำกับการจัดการ การทำงานเป็นทีม การบริหารความขัดแย้ง แนวคิดการบริหารสมัยใหม่ รวมถึงการจัดการระหว่างประเทศ โดยในเล่มได้อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด เป็นลำดับขั้น พร้อมตัวอย่างหลากหลาย เข้าใจง่าย ตลอดจนมีแบบฝึกหัดท้ายบทสำหรับทบทวนความรู้ให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
สารบัญ
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับองค์การ
บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงองค์การ
บทที่ 4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการ
บทที่ 5 การวางแผน
บทที่ 6 การจัดองค์การ
บทที่ 7 การจัดการงานบุคคล
บทที่ 8 การอำนวยการ
บทที่ 9 การควบคุมงาน
บทที่ 10 ภาวะผู้นำกับการจัดการ
บทที่ 11 การทำงานเป็นทีม
บทที่ 12 การบริหารความขัดแย้ง