เหรียญไอราพต เหรียญช้างสามเศียร ขนาดสลึง ร.6
ข้อมูลสินค้า
ราคา
380.00 บาท
ขายแล้ว
1 ชิ้น
ร้านค้า
เหรียญสลึง ร.6 เนื้อเงิน ..เหรียญไอราพต เหรียญช้างสามเศียร สภาพสวย
**รับประกันแท้
‐-----------------------------------
ลักษณะเหรียญกลมแบน ขอบมีเฟือง
ด้านหน้า
เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องขวา
ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็ก ที่ริมขอบซ้ายมีพระปรมาภิไธยว่า "มหาวชิราวุธ" ริมขอบขวาว่า "สยามินทร์"
ด้านหลัง
เป็นรูปเอราวัณ ริมขอบซ้ายมีอักษร "สยามรัฐ" ริมขอบขวาเป็นเลขไทย บอกปีที่ผลิต เบื้องล่างมีข้อความบอกราคา
ปีที่สร้างราคา 1 บาท ออกใช้ ครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
1.1 พ.ศ. 2456
1.2 พ.ศ. 2457
1.3 พ.ศ. 2458
1.4 พ.ศ. 2459
1.5 พ.ศ. 2460
1.6 พ.ศ. 2461
เนื่องจากเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
นั้น ยังมีเงินตราชนิดราคา 1 บาท ออกใช้หมุนเวียนอย่างเพียงพอ จึงมิได้ผลิตขึ้นในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2456
จึงได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ตรานี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และได้ผลิตเพิ่มเติมอีกในปี พ.ศ.2457 พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2459
พ.ศ. 2460 และ พ.ศ. 2461 โดยปีพุทธศักราชที่ผลิตดังกล่าวจะปรากฏบนเหรียญ
ต่อมาโลหะเงินมีราคาสูงขึ้น จึงได้ยุติการผลิตเหรียญบาทด้วยเงิน โดยมีการผลิตธนบัตร ชนิดราคา 1 บาทแทน
ตั้งแต่พ.ศ 2461 เป็นต้นมา
ชนิดราคา 2 สลึง
ออกใช้ ครั้งแรกวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2458
2.1 พ.ศ. 2458
2.2 พ.ศ. 2462
2.3 พ.ศ. 2463 มี 2 แบบ ตัวเลข "๖" ต่างกัน
2.4 พ.ศ. 2464
เหรียญเงินในรัชกาลที่ 6 ชนิดราคา 2 สลึงนี้ เริ่มออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2458 และผลิตออกใช้
ในอัตราส่วนผสมระหว่างเงินกับทองแดง 80 ส่วน ต่อ 20 ส่วน อีก 2 ครั้ง คือใน พ.ศ. 2460 และ 2461 ในปี พ.ศ.
2461 เป็นเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ราคาเงินเพิ่มสูงขึ้นมากจึงได้ลดส่วนผสมของเงินที่ใช้ผลิตไปเป็นอัตราส่วน
เงิน 65 ส่วน ต่อ ทองแดง 35 ส่วน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 และในปีเดียวกันนี้เงินมีราคาสูงขึ้นไปอีก
จึงได้ลดอัตราส่วนเงินกับทองแดงไปเป็น 50 ส่วน ต่อ 50 ส่วน เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2462 ต่อมาเมื่อสงครามโลก
ยุติลง ราคาเงินค่อยลดลง จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของเหรียญเงินนี้เป็นเงินต่อทองแดง 65 ต่อ 35
เหรียญชนิดราคา 2 สลึงนี้ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีข้อแตกต่างปรากฏเป็นจุดท้ายคำว่า "สยามรัฐ" กับ "สยามินทร์
เข้าใจว่าอาจเป็นเครื่องหมายแสดงความแตกต่างของอัตราส่วนผสมระหว่างเงินและทองแดง ซึ่งเปลี่ยนแปลงถึง 3 ครั้ง
อนึ่ง จุดที่ปรากฏมีขนาดไม่เท่ากันคือเล็กบ้างใหญ่บ้าง
ราคา 1 สลึง
ออกใช้ ครั้งแรกวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2458
3.1 พ.ศ. 2458
3.2 พ.ศ. 2460
3.3 พ.ศ. 2461
3.4 พ.ศ. 2462
3.5 พ.ศ. 2467
3.6 พ.ศ. 2468
แบบ 3.4 มี 2 รุ่น คือ มีจุดและไม่มีจุด ท้ายคำว่า "สยามินทร์" และ สยามรัฐ เช่นเดียวกับเหรียญชนิดราคาสองสลึง
ขนาดน้ำหนัก
ราคา บาท เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.05 เซนติเมตร น้ำหนัก 14.91 กรัม หนา 0.25 เซนติเมตร
ราคา สลึง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.01 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.78 กรัม หนา 0.15 เซนติเมตร
ราคา 2 สลึง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.51 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.40 กรัม หนา 0.20 เซนติเมตร