หลักกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม สุริยา ปานแป้น อนุวัฒน์ บุญนันท์
หลักกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม-สุริยา-ปานแป้น-อนุวัฒน์-บุญนันท์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
275.00 248.00 บาท
ขายแล้ว
6 ชิ้น
ร้านค้า
หลักกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม สุริยา ปานแป้น อนุวัฒน์ บุญนันท์
ผู้แต่ง : สุริยา ปานแป้น , อนุวัฒน์ บุญนันท์
ปีที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 : มิถุนายน 2564
จำนวนหน้า: 300 หน้า
ขนาด : 18.5x26 ซม.
รูปแบบ : ปกอ่อน
9786165825023


คำนำ

พระราชธรรมศาลยุติธรรมเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม โดยกำหนดชั้นศาลยุติธรรม ประเภทของศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ การบริหารงานศาลยุติธรรมบางกรณี ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาลและผู้ทำการแทน อธิบดีผู้พิพากษาภาคและผู้ทำการแทน เขตอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว องค์คณะผู้พิพากษา การทำการแทนองค์คณะผู้พิพากษา และการบริหารสำนวนคดี เพื่อให้สอดคล้องกับการแยกศาลยุติธรรมออกเป็นอิสระโดยไม่อยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมอีกต่อไปและหลักการนั่งพิจารณาคดีของศาลต้องมีผู้พิพากษาครบองค์คณะ ตลอดจนหลักการจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติและหลักการห้ามเรียกคืนหรือโอนสำนวนคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 236 มาตรา 249 และมาตรา 275
ผู้เขียนจัดทำหนังสือ “หลักกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม” ขึ้นเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และนักศึกษาเนติบัณฑิต ตลอดจนเป็นตำราค้นคว้าสำหรับผู้สอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยอธิบายเนื้อหาให้สอดคล้องกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ นักศึกษาเนติบัณฑิต ผู้สอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจ
ผู้เขียนขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกคนที่กรุณาชี้แนะแนวทางการปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ครบถ้วน ตลอดจนได้จัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เขียน อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อแน่ว่าหนังสือเล่มนี้คงปรากฏข้อบกพร่องให้ผู้อ่านได้กรุณาชี้แนะเพิ่มเติมอยู่อีกไม่น้อย ซึ่งผู้เขียนขอน้อมรับข้อบกพร่องและคำชี้แนะไว้ด้วยความขอบคุณเพื่อนำไปปรับปรุงในโอกาสต่อไป หากผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะประการใดสามารถติดต่อผู้เขียนได้ที่ www.facebook.com/rompo2015

สุริยา ปานแป้น
อนุวัฒน์ บุญนันท์

สารบัญ

บทที่ 1 การจัดองค์กรศาลยุติธรรม
1. ชั้นของศาลยุติธรรม
1.1 ศาลชั้นต้น
1.2 ศาลชั้นอุทธรณ์
1.3 ศาลฎีกา
2.การบริหารงานศาลยุติธรรม
2.1 การแบ่งส่วนราชการเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
2.2 การเปิดทำการสาขาของศาลชั้นต้น
2.3 การกำหนดและเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาล
2.4 การวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมและคำแนะนำ
2.5 การจัดตั้งและยุบเลิกศาลหรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาล
2.6 การกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม

บทที่ 2 ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม
1. ประเภทของผู้พิพากษา
1.1 ผู้พิพากษาอาชืพ
1.1.1 ผู้พิพากษาที่มีอำนาจเต็ม
1.1.2 ผู้พิพากษาที่ถูกจำกัดอำนาจ
1.1.2.1 ผู้พิพากษาประจำศาล
1.1.2.2 ผู้พิพากษาอาวุโส

1.2 ดะโต๊ะยุติธรรม
1.3 ผู้พิพากษาสมทบ
2. ผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
2.1 ตำแหน่งผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
2.2 อำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
2.2.1 อำนาจหน้าที่ทั่วไป
2.2.2 อำนาจหน้าที่เฉพาะเรื่อง
2.3 ตำแหน่งรองผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
2.4 การทำการแทนผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
2.4.1 เหตุที่ทำให้ต้องทำการแทนผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
2.4.2 ผู้พิพากษาผู้ทำการแทนผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบราชการศาล
3. อธิบดีและรองอธิบดีผู้พิพากษาภาค
3.1 อธิบดีผู้พิพากษาภาค
3.2 รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค
3.3 การทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาภาค
บทที่ 3 เขตอำนาจศาล
1. อำนาจศาล
1.1 อำนาจศาลชั้นต้น
1.1.1 อำนาจศาลคดีแพ่ง
1.1.2 อำนาจศาลคดีอาญา
1.1.3 อำนาจศาลจังหวัด
1.1.4 อำนาจศาลแขวง
1.1.5 อำนาจศาลชำนัญพิเศษ
2. เขตศาล
2.1 เขตศาลชั้นต้น
2.1.1 เขตศาลแพ่งและศาลอาญา
2.1.2 เขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี
2.1.3 เขตศาลจังหวัด
2.1.4 เขตศาลแขวง
2.1.5 เขตศาลชำนัญพิเศษ
2.2 เขตศาลชั้นอุทธรณ์
2.2.1 เขตศาลอุทธรณ์
2.2.2 เขตศาลอุทธรณ์ภาค
2.2.3 เขตศาลอุทธณร์คดีชำนัญพิเศษ
2.3 เขตศาลฎีกา
บทที่ 4 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวและองค์คณะผู้พิพากษา
1. อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว
1.1 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในทุกชั้นศาล
1.1.1 ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น
1.1.2 ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพากแห่งคดี
1.2 อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น
1.2.1 ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
1.2.2 ไต่สวนและมีคำสั้งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
1.2.3 ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
1.2.4 พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพากไม่เกินสามแสนบาท
1.2.5 พิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. องค์คณะผู้พิพากษา
2.1 องค์คณะผู้พิพากษาในศาลชั้นต้น
2.1.1 องค์คณะผู้พิพากษาที่เป็นบทหลัก
2.1.2 องค์คณะผู้พิพากษาที่เป็นข้อยกเว้น
2.1.2.1 องค์คณะผู้พิพากษาในศาลแขวง
2.1.2.2 องค์คณะผู้พิพากษาในศาลชำนัญพิเศษ ที่มีผู้พิพากษาสมทบ
2.1.2.3 องค์คณะผู้พิพากษาในคดีแพ่ง เกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดกอิสลามศาสนิก
2.2 องค์ตณะผู้พิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกา
2.2.1 องค์คณะผู้พิพากษาที่เป็นบทหลัก
2.2.2 องค์คณะผู้พิพากษาที่เป็นข้อยกเว้น
2.2.2.1 องค์คณะผู้พิพากษากรณีเข้าที่ประชุมใหญ่ ในศาลหรือแผนกคดี
2.2.2.2 องค์คณะผุ้พิพากษาในศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
2.2.2.3 องค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง

บทที่ 5 การทำการแทนอ
คำที่เกี่ยวข้อง
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม สุริยาหลักกฎหมายพระธรรมนูญย่อหลักพระธรรมนูญศาลยุติธรรมสุริยา ปานแป้นพระธรรมนูญศาลยุติธรรมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม สหรัฐหนังสือพระธรรมนูญศาลยุติธรรมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม สมชัยระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรมปานแป้น

สินค้าใกล้เคียง