ท้าวเวสสุวรรณ ราชาโชค หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563
ท้าวเวสสุวรรณ-ราชาโชค-หลวงปู่หา-สุภโร-วัดสักกะวัน-อำเภอสหัสขันธ์-จังหวัดกาฬสินธุ์-ปี-2563
ข้อมูลสินค้า
ราคา
379.00 361.00 บาท
ร้านค้า
ท้าวเวสสุวรรณ ราชาโชค หลวงปู่หา สุภโร
วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563
เนื้อทองทิพย์ลงยาขาว
มีโค๊ตและเลขกำกับ
จัดสร้าง 400 เหรียญ สีละ 100 เหรียญ
(สีเขียว สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว)
ขนาดประมาณ กว้าง 2.5 ซม x ยาว 4.0 ซม
พร้อมกล่อง รับประกันพระแท้

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อร่วมบูรณะปฎิสังขรณ์เสนาสนะ ศาสนสถาน ภายในวัดภูกุ้มข้าว

ประวัติหลวงปู่หา สุภโร (หลวงปู่ไดโนเสาร์) วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
พระญาณวิสาลเถร (หลวงปู่หา สุภโร) มีนามเดิมว่า หา เกิดในสกุล ภูบุตตะ เมื่อขึ้น ๑๐ ค่ําเดือน ๘ ปีฉลู ตรงกับ วัน ศุกร์ ที่ ๒ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่บ้านนาเชือก ตําบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตําบลนาเชือก) อําเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอําเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดาชื่อ คุณปู่สอ ภูบุตตะ โยมมารดาชื่อ คุณย่า บัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวม กัน ๗ ท่าน

ตระกูลของท่านเป็นตระกูลคหบดีแห่งหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวกว่า ๒๐๐ ตัว มีที่นา กว่า ๓๐๐ ไร่ โยมแม่เลี้ยงหม่อนกว่า ๙๐๐ กระด้ง จัดว่ารวยที่สุด ในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านช่วยพ่อแม่ทํางานทุกอย่าง และที่สําคัญ ท่านเป็น “นักมวย” แต่ด้วยโยมบิดา ท่านไม่ชอบ ให้ท่านเป็นนักมวย จึงยื่นคําขาดให้ท่านเลิกเสีย ท่านจึงเบื่อหน่าย การครองเพศฆราวาส แล้วออกบรรพชา

ท่านบรรพชา เมื่ออายุ ๑๙ ปี ที่วัดสุวรรณชัยศรี (ปัจจุบันนี้เป็นท่านาชาวบ้าน ในตําบลท่าเรือ อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์) โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อ มาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านจึงได้อุปสมบท ที่อุโบสถหลังเดิม และพระอุปัชฌาย์องค์เดิม แต่เนื่องจากสมัยนั้นคณะธรรมยุต กับคณะมหานิกายยังไม่แยกจากกันอย่างเป็นทางการ และ คณะสงฆ์ยังทําสังฆกรรมร่วมกันอยู่ การอุปสมบทของท่านจึง เป็นการรวมทั้งสองนิกาย คือ พระอุปัชฌาย์เป็นคณะมหานิกาย
ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์เป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อท่านอุปสมบทแล้วจึงมีคําสั่งให้แยกคณะกันชัดเจน และแยกกันทําสังฆกรรม จึงเป็นปัญหาที่หลวงปู่ เพราะพระอาจารย์ท่าน (พระครูประสิทธิ์สมณญาณ) เป็นคณะธรรมยุต แต่พระอุปัชฌาย์ท่าน (หลวงปู่ลือ) เป็นคณะมหานิกายท่านจึงต้องญัตติ (คือ การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจร่วมกัน, บอกแจ้งให้รู้) เป็นคณะธรรมยุต อีกครั้งหนึ่งโดยชัดแจ้ง

ท่านญัตติเป็นคณะธรรมยุตที่พัทธสีมาวัดสุวรรณชัยศรี ตําบลเว่อ อําเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน จักกธมฺโม (พระราชธรรมานุวัตร อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่สุข เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”

ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ทางราชการได้มีโครงการกั้น แม่น้ําลําปาวทําเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าและใช้ประโยชน์จากน้ํา จึงได้ มีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่อําเภอเมืองและชาวอําเภอสหัสขันธ์ ซึ่งเป็นเขตเขื่อนที่น้ําจะท่วมถึง ได้อพยพขึ้นบนที่สูง เพื่อจับจองพื้นที่ใหม่ ซึ่งวัดป่าสักกะวันก็อยู่ในเขตน้ําท่วมนั้นด้วย จึงได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่ทางนิคมสร้างตนเองลําปาวจัดสรรให้ แต่ปรากฏว่าพื้นที่ที่ทางราชการจัดสรรให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นที่ใกล้ชุมชนในอนาคต ใกล้ทางสัญจร จึงขอเปลี่ยนที่ใหม่เพราะ พื้นที่ดังกล่าวไม่สัปปายะ เป็นที่พลุกพล่านของผู้คนไม่เหมาะ แก่การบําเพ็ญสมณธรรม นายอําเภอสหัสขันธ์ในสมัยนั้นจึงนิมนต์ ให้หลวงปู่ขึ้นรถส่วนตัวของท่านเพื่อเลือกหาสถานที่เพื่อสร้างวัด

เมื่อนั่งรถผ่านภูกุ้มข้าวพระเดชพระคุณหลวงปู่จึงขอลงสํารวจพื้นที่และตกลงเลือกสถานที่นี้เพื่อสร้างวัดทั้งๆ ที่ภูกุ้มข้าว ไม่มีสายน้ําหรือตาน้ําเพื่อใช้สอยเลย อีกทั้งเป็นสถานที่กันดารลําบาก (ในสมัยก่อนคนกาฬสินธุ์ เรียกอําเภอสหัสขันธ์ ว่า อําเภอสาหัสสากรรจ์) ไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีเพียงต้นไผ่ขนาดเล็กที่ชื่อว่า “ต้นเล็ก” เท่านั้นเอง แต่หลวงปู่ท่านก็เลือกสถานที่แห่งนี้ โดยให้เหตุผลว่า ห่างไกลผู้คน นายอําเภอจึงได้อนุโมทนา ที่หลวงปู่จะพัฒนาสถานที่นี้และกล่าวคําถวายสถานที่ให้หลวงปู่ดูแลภูเขาทั้งลูก หลวงปู่ก็รับไว้ด้วยความยินดี ท่านจึงได้มาพัฒนาที่ภูกุ้มข้าว และได้เปลี่ยนชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่ในที่แห่งนี้จาก “วัดป่าสักกะวัน” เป็น “วัดสักกะวัน” แล้วท่านก็เริ่มปลูกต้นไม้ เจาะหาน้ําบาดาล และขุดสระ สร้างเสนาสนะ มีศาลาการเปรียญ และอุโบสถ เป็นต้น จนได้เจริญรุ่งเรืองสืบมายังปัจจุบัน และ วัดสักกะวันก็มีชื่อเรียกที่ติดปากชาวบ้านว่า “วัดภูกุ้มข้าว” นับ ตั้งแต่นั้นมา
คำที่เกี่ยวข้อง
หลวงปู่หา สุภโรท้าวเวสสุวรรณวัดจุฬามณี2563ท้าวเวสสุวรรณหลวงปู่โทนท้าวเวสสุวรรณ หลวงปู่กาหลงท้าวเวสสุวรรณหลวงปู่ทิมท้าวเวสสุวรรณ หลวงปู่หงษ์ท้าวเวสสุวรรณ หลวงปู่หมุนท้าวเวสสุวรรณ วัดสุทธารามหลวงปู่ขันธ์หลวงปู่หา

สินค้าใกล้เคียง