คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน อ.มานิตย์ จุมปา
คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน-อ-มานิตย์-จุมปา
ข้อมูลสินค้า
ราคา
340.00 306.00 บาท
ขายแล้ว
222 ชิ้น
ร้านค้า
คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน มานิตย์ จุมปา
ผู้แต่ง : มานิตย์ จุมปา
ปีที่พิมพ์ ครั้งที่ 11 : 2565
จำนวนหน้า: 492 หน้า
ขนาด : 18.5x26 ซม.
รูปแบบ : ปกอ่อน
9789740338574

เนื้อหาโดยย่อ

ผู้ศึกษาวิชากฎหมาย ย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาถึงกฎหมายลักษณะทรัพย์ เพราะถือว่าเป็นกฎหมายพื้นฐานอันจะช่วยให้ผู้ที่ศึกษาและเข้าใจกฎหมายลักษณะทรัพย์อย่างละเอียดลึกซึ้งได้เปรียบกว่าบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่น การศึกษาให้รู้ว่า ความหมายของคำว่า “ทรัพย์” มีขอบเขตเพียงใด จะมีส่วนช่วยในการตัดสินความผิดอาญาได้ เช่น ความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จะผิดก็ต่อเมื่อมีการลักเอา “ทรัพย์” ไป ฉะนั้นถ้าสิ่งที่เอาไปไม่ใช่ทรัพย์ ย่อมจะไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่นนี้ การลักกระแสไฟฟ้า หรือการลักลอบจูนโทรศัพท์ จะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่า สิ่งที่มีการลักเอาไปนั้นเป็น “ทรัพย์” หรือไม่
ผู้เขียนได้อธิบายบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทั้งที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 และ บรรพ 4 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายหลักที่กล่าวถึงทรัพย์สิน นอกจากนั้นยังได้อธิบายถึงกฎหมายพิเศษอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินด้วย เพื่อให้เห็นภาพรวมของระบบกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน อาทิเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายที่ราชพัสดุ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายอาคารชุด ตลอดจนพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542
อนึ่ง ผู้เขียนได้ค้นคว้าตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนมาก เพื่อใช้ประกอบการอธิบาย โดยหวังว่าตัวอย่างเหล่านี้จะทำให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจกฎหมายลักษณะทรัพย์ได้อย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงหวังว่าหนังสือนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษากฎหมาย

สารบัญ
บทที่ 1 ลักษณะทั่วไปของทรัพย์สิน
1. ความเบื้องต้น
2. กองทรัพย์สิน
3. ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
4. ทรัพยสิทธิและบุคคลสิทธิ
5. ขอบเขตการศึกษาวิชาทรัพย์
บทที่ 2 ประเภทของทรัพย์สิน
1. อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์
2. ทรัพย์แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
3. ทรัพย์นอกพาณิชย์และทรัพย์ในพาณิชย์
4. ทรัพย์สินของแผ่นดิน
บทที่ 3 ส่วนควบและอุปกรณ์
1. ความหมายของส่วนควบ
2. ข้อยกเว้นเรื่องส่วนควบ
3. ผลของการที่ทรัพย์เป็นส่วนควบ
4. อุปกรณ์
5. ผลของการที่ทรัพย์เป็นอุปกรณ์
6. ความแตกต่างระหว่างส่วนควบและอุปกรณ์
บทที่ 4 ดอกผล
1. ความทั่วไป
2. ลักษณะทั่วไปของดอกผล
3. ประเภทของดอกผล
4. การได้มาซึ่งดอกผล
บทที่ 5 การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิ
1. ความทั่วไป
2. การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
3. การเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน
4. การเปลี่ยนแปลง ระงับ และกลับคืนมาแห่งทรัพยสิทธิ
5. การได้มา เปลี่ยนแปลง ระงับ และกลับคืนมาแห่งสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียน
6. การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในสังหาริมทรัพย์
บทที่ 6 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
1. ลักษณะของกรรมสิทธิ์
2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางอื่นโดยหลักธรรมชาติ
3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางอื่น ตามหลักบัญญัติทางแพ่ง
บทที่ 7 แดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์
1. แดนกรรมสิทธิ์
2. อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์
3. สิทธิพิเศษของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
บทที่ 8 กรรมสิทธิ์รวม
1. ลักษณะของกรรมสิทธิ์รวม
2. ผลของกรรมสิทธิ์รวม
3. การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
4. กรรมสิทธิ์ในอาคารชุด
บทที่ 9 สิทธิครอบครอง
1. ความเบื้องต้น
2. การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง
3. ผลของสิทธิครอบครอง
4. การสิ้นสุดสิทธิครอบครอง
บทที่ 10 ทรัพยสิทธิประเภทอื่น
1. ภาระจำยอม
2. สิทธิอาศัย
3. สิทธิเหนือพื้นดิน
4. สิทธิเก็บกิน
5. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
คำที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคลคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “ลักษณะละเมิด”คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อ.สมยศประมวลกฎหมายแพ่งและสังคมว่าด้วยมรดกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2566

สินค้าใกล้เคียง