วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ แปล
วิมุตติมรรค-พระอุปติสสเถระ-รจนา-พระพรหมบัณฑิต-ประยูร-ธมฺมจิตฺโต-และคณะ-แปล
ข้อมูลสินค้า
ราคา
650.00 บาท
ร้านค้า
วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ แปล สำนักพิมพ์ศยาม พ.ศ. ๒๕๕๗ มี ๗๒๐ หน้า 9789743158803

มีคนดีที่เหมือนคนตาบอด ผู้เที่ยวไปในโลกกว้างโดยปราศจากผู้นำทาง ทั้ง ๆ ที่เขาปรารถนาความหลุดพ้น แต่เขาไม่เคยได้ยินการสอนเรื่องความหลุดพ้น เพราะเขาไม่ได้รับรู้เรื่องความหลุดพ้น และเพราะรับรู้มาผิด ๆ เพราะเหตุนี้ เขาถูกครอบงำห่อหุ้มมากไปด้วยความทุกข์ เขาจึงไม่ได้รับความหลุดพ้น แม้เขาปรารถนาจะได้รับความหลุดพ้น แต่เขายังไม่มีหนทางสู่ความหลุดพ้น หนทางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบรรลุความหลุดพ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ยังมีสัตว์โลกที่มีธุลี คือกิเลสเพียงเล็กน้อยในปัญญาจักษุ พวกเขาจะเสื่อมไปเพราะไม่ได้ฟังธรรม" พระพุทธเจ้ายังตรัสอีกว่า "ภิกษุทั้งหลาย มีปัจจัยสองประการที่ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิ ปัจจัยสองประการเป็นไฉน คือ ปรโตโมสะ (ฟังจากผู้อื่น) และโยนิโสมนสิการ (พิจารณาโดยแยบคาย)" เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
จึงแสดง "วิมุตติมรรค"

"วิมุตติมรรค" เป็นวรรณคดีบาลีประเภทประกรณ์พิเศษ ที่อธิบายไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็น "วิมุตติมรรค" (ทางแห่งความหลุดพ้น) เป็นคู่มือสำหรับศึกษาและปฏิบัติธรรม ซึ่งแต่งก่อนหนังสือที่มีชื่อคล้ายกัน คือคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์ พระเถระผู้รจนาวิมุตติมรรค มีชื่อว่า "พระอุปติสสเถระ" ประวัติความเป็นมาของท่านไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน ศาสตราจารย์นาไกสันนิษฐานว่า ผู้รจนา คือ "พระอรหันต์อุปติสสะ" ชาวลังกา ผู้ชำนาญพระวินัย และมีชื่อปรากฏอยู่ในคัมภีร์ "ปริวาร" ของพระวินัยปิฎก ท่านมีผลงานแพร่หลายในรัชกาลของพระเจ้าสภะ ผู้ครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ. 603-653


คำนิยม

หนังสือ "วิมุตติมรรค" เล่มนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแปลถึง 11 ท่าน แต่ละท่านก็มีลีลาและสำนวนต่าง ๆ กัน คงจะเป็นเพราะท่านเจ้าคุณพระเมธีธรรมาภรณ์ ผู้เป็นประธานมีความรู้ภาษาบาลีแตกฉาน จึงสามารถขัดเกลาสำนวนแปลที่มีลีลาหลากหลาย ให้กลายเป็นสำนวนลีลาเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ อ่านแล้วรื่นหูรื่นตาดีมาก ซึ่งยากที่คนอื่นจะทำได้ จึงขอยกความดีนี้ถวายพระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต ซึ่งทำได้ดีเกินคาด เมื่อได้ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ท่านเจ้าคุณก็ได้พยายามปรับปรุงแก้ไขสำนวนและความถูกต้องให้ดียิ่งขึ้น ทำให้การอ่านนั้นเพลิดเพลินและได้อรรถรสยิ่งขึ้นศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ- ราชบัณฑิต
สารบัญ

บทที่ 1 นิทานกถา
บทที่ 2 ศีลปริจเฉท
บทที่ 3 ธุดงคปริจเฉท
บทที่ 4 สมาธิปริจเฉท
บทที่ 5 กัลยาณมิตรปริจเฉท
บทที่ 6 จริยาปริจเฉท
บทที่ 7 กัมมัฏนารัมมณปริจเฉท
บทที่ 8 กัมมัฏฐานปริจเฉท
บทที่ 9 อภิญญาปริจเฉท
บทที่ 10 ปัญญาปริจเฉท
ฯลฯ
ข้อมูลเพิ่มเติม

- แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ
คำที่เกี่ยวข้อง
วิมุตติมรรคพระวิสุทธิมรรคพระพรหมพระอุปคุตพระสังกัจจายน์ พระอุปคุตพระอุปคุต พระสีวลี พระพระสีวลี พระ พระอุปคุตพระอุปคุต วัดอุปคุตพรหม พระพรหมพระ

สินค้าใกล้เคียง