แซยิดหลวงพ่ออิฏฐ์ รุ่น1 วัดจุฬามณี 2559
แซยิดหลวงพ่ออิฏฐ์-รุ่น1-วัดจุฬามณี-2559
ข้อมูลสินค้า
ราคา
3,339.00 บาท
ร้านค้า
เนื้อตะกั่ว หมายเลข496

#ส่วนหนึ่งของหนังสือจดหมายเหตุ


เหรียญหูเชื่อม รุ่น ๑ พระอุปัชฌาย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ฉลองชนมายุ ๖๐“ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ”

๑๐.เหรียญตะกั่ว ชนวนเหรียญจำปีท้าวเวสสุวรรณ ปี ๔๕ “ไร้ห่วง” จัดสร้างเพื่อมอบให้แก่ ผู้ร่วมจองขันบูชาครู จำนวน ๑,๕๑๐ เหรียญ (ตอกโค้ด “เต็กเหล็ง” ด้านหลังเหรียญฝั่งซ้ายมือ ระหว่าง ตัวอักษร “ศิษย์ – ลาภ มีหมายเลขกำกับทุกเหรียญ)

เนื้อตะกั่วทั้ง ๒ ประเภทนี้ ได้นำเนื้อตะกั่วชนวนเหรียญท้าวเวสสุวรรณ จำปี ปี ๒๕๔๕ อันโด่งดัง
น้ำหนัก ๒๙.๕ กิโลกรัม นำมาจัดสร้าง ตะกั่วนี้เป็นตะกั่วเก่า หรือที่เรียกกันว่าตะกั่วนม ที่ทำการขุดพบที่ จ.กาญจนบุรี ล้วนๆ ลักษณะตะกั่วจำพวกนี้มีอายุอานาม หลายร้อยหลายพันปี

เหรียญเนื้อตะกั่วชุดนี้ จัดสร้างตามดำริขององค์หลวงพ่อฯ เป็นที่แปลกอย่างยิ่ง ที่เหรียญเมื่อทำการปั๊มออกมาแล้ว เพียงไม่นาน เมื่อสัมผัสอากาศ ผิวจะกลับออกดำทันที บางเหรียญมีคราบสนิมแดงขึ้นด้วยซ้ำ ซึ่งไม่เหมือนเนื้อตะกั่วในยุคปัจจุบัน

โบราณาจารย์ นิยมสร้างพระเครื่องเครื่องรางต่างๆด้วยโลหะเนื้อตะกั่ว อาทิเช่นพระปิดตา พระพุทธพิมพ์ รวมถึงตะกรุดต่างๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ตะกั่วนั้นมีน้ำหนักถอพอเท่ากับน้ำหนักเนื้อทองคำ มีคุณวิเศษเฉกเช่นเดียวกัน วัตถุมงคลชนิดใดก็ตามที่สร้างขึ้นจากเนื้อทองคำ หรือเนื้อตะกั่วนั้น จะเก็บกักรักษาพระพุทธคุณได้กว่าเนื้อโลหะชนิดอื่นๆ ไม่เสื่อมถอยได้โดยง่าย ผู้มีวิชาต่างๆก็ไม่สามารถมาคัดคุณวิเศษออกจากโลหะทั้ง ๒ ชนิดนี้ได้ ผู้ที่ต้องการความคงกระพันชาตรี ในสมัยโบราณจึงนิยมใช้โลหะนี้มาจัดทำเป็นตะกรุด เพื่อไม่ให้ศัตรู ฝ่ายตรงกันข้ามหักหาญคัดความคงกระพันออกจากตัวได้ แม้พระคณาจารย์บางสำนัก ระบุชัดเจนถึงขั้นว่า จะสร้างเครื่องรางเพียงแต่ทองคำ และตะกั่วเท่านั้นฯ

#ตำหนิเหรียญ

ภาพด้านหน้าเหรียญ จะมีขนแมวยาวใต้คาง บางเหรียญเส้นขนแมวลากยาวจนถึงขอบสังฆาฏิ

ด้านหลังเหรียญ มีเส้นแตกจากอักขระแถวที่ ๓ ตัวที่ ๔ “มะ” วิ่งขึ้นด้านบนเกือบชนอักขระแถวที่ ๒ ตัวที่ ๓ “สะ”


๗.เหรียญมหาชนวน จำนวน ๒,๐๐๐ เหรียญ (ตอกโค้ด “เต็กเหล็ง” ที่สังฆาฏิ มีหมายเลขกำกับทุกเหรียญ) เนื้อมหาชนวน คือเหรียญที่จัดสร้างตามเจตนาขององค์หลวงพ่อฯ ที่ให้จัดพิธีหล่อหลอมชนวนมวลสารขึ้น เพื่อที่จะนำไปปั๊มเหรียญเนื้อมหาชนวนนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งรวบรวมชนวนมวลสารต่างๆอย่างเอกอุ อาทิเช่นเหรียญพระคณาจารย์ต่างๆพันกว่าสำนัก พันกว่าหลวงพ่อฯ พันกว่าอาราม ทั้งแผ่นยันต์ เหรียญ รูปหล่อ พระบูชา ทั้งโลหะต่างๆอีกมากมาย หากใครได้มาร่วมพิธีในวันหล่อชนวนฯ ก็คงได้ทราบถึงพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนั้น

ฉะนั้น!!! โลหะที่ทำการปั๊มเหรียญเนื้อมหาชนวนนี้ จึงถือได้ว่ารวบรวมโลหะธาตุไว้มากมายอย่างหลากหลายอยู่ในเหรียญเดียวกัน สีสันวรรณะของเหรียญเนื้อนี้จึงแปลกแต่งต่างไปจากเหรียญพระคณาจารย์ทุกๆสำนัก และที่สำคัญทางโรงงานได้แจ้งมาว่า เหรียญเนื้อนี้ปั๊มยากที่สุด เหตุเพราะโลหะต่างๆที่นำมาผสมกันนั้น เป็นโลหะหลากหลายชนิด ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาโรงงานจะปั๊มเหรียญพระคณาจารย์ต่างๆ โดยปกติ จะใช้แผ่นโลหะที่ทางโรงงานทำการรีดหลอมมาจำเพาะ มีส่วนผสมในอัตรามาตรฐานเท่านั้น เพื่อให้เนื้อโลหะมีความยืดหยุ่นสามารถปั๊มเหรียญได้โดยง่าย

ด้วยเหตุที่กล่าวมา เหรียญเนื้อนี้ ได้ใช้ชนวนล้วนๆ ที่ทำการหล่อหลอมขึ้นในวันพิธี ไปปั๊ม เหรียญนี้ เหรียญจึงมีเอกลักษณ์จำเพาะตัวโดยปริยาย ทั้งวรรณะผิวเหรียญ ความด่างของเหรียญ รวมถึงลักษณะเกิดกาบขึ้นบนพื้นเหรียญ อันเกิดจากโลหะบางชนิดที่ทำการหล่อหลอมและรีดเป็นแผ่นแล้วอาจจะไม่เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน ลักษณะจะเหมือนเหรียญหลวงพ่อคงรุ่น ๑ ที่จะมีรอยกาบเกิดขึ้นตามพื้นของเหรียญ ซึ่งไม่อาจจะมีผู้ใดปลอมแปลงได้ง่ายๆแน่นอน และในอนาคตตำหนิ อันมีวรรณะสีผิวของเหรียญที่ต่างจากเหรียญพระคณาจารย์อื่นๆ ร่องรอยกาบตามผิวเหรียญที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวชี้วัด แท้ปลอมในอนาคตได้อย่างชัดเจน

๙.เหรียญทองแดงรมดำ ห่วงเชื่อม แจกทาน สำหรับแจกในวันเกิดหลวงพ่อฯ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ (ตอกโค้ด “เต็กเหล็ง” ที่สังฆาฏิ , ห่วงเชื่อมสนิทกัน)

การที่ทำการเชื่อม "ห่วงเหรียญ" ให้ติดสนิทกันนั้น ได้ซ่อนความหมายไว้ ๒ นัยยะ ด้วยกัน
ประการที่ ๑ การจัดสร้างเหรียญในสมัยโบราณ ห่วงที่คล้องร้อยไว้กับเหรียญนิยม จะเชื่อมให้ติดกัน ด้วยเหตุในสมัยก่อนไม่ได้มีการเลี่ยมกรอบห่มจีวรกันดั่งปัจจุบัน ผู้ที่รับเหรียญมา ก็นำมาร้อยสายสร้อยห้อยกันตามสภาพ บางทีห่วงอ้าง้าง ทำให้เหรียญหลุดได้โดยง่าย ฉะนั้นผู้ที่รับเหรียญมา จึงทำการเชื่อมห่วง ไม่ให้อ้าง้างได้ จะเห็นได้จากเหรียญคณาจารย์ในแถบลุ่มน้ำแม่กลอง อาทิเช่น เหรียญหลวงพ่อไพล วัดบางแคกลาง , เหรียญหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เป็นต้น

ประการที่ ๒ การที่ได้ทำการเชื่อมห่วงไว้ให้สนิทไม่คลาดจากกันนั้น ทางผู้จัดสร้างได้ซ่อนนัยยะอันสำคัญไว้ ดังที่ พระครูไพศาลกิจจาภรณ์ และท่านผู้จัดสร้าง ซึ่งเป็นศิษย์ ได้กล่าวไว้ว่า " เหรียญนี้ ตั้งใจกระทำไว้ให้หลวงพ่อฯ ท่านแจก ท่านปรารภเห็นว่าดี ด้วยใจอันมีเมตตายิ่งของท่าน เหรียญแจก!!! แจกโดยใจบริสุทธิ์ของท่านเอง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง แจกกันจนถ้วนทั่ว ใครตั้งใจมาวันงาน ก็จะแจกหมด ไม่ได้หวังอามิส อันใด มิได้หวังสิ่งตอบแทนอันจะย้อนกลับมา เพียงแค่กล่าวสั้นๆว่า "ขอให้แจกได้ทั่วๆทุกๆคนที่มาแล้วกัน" การที่หลวงพ่ออิฏฐ์ ท่านปรารภเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านห่วงทุกคน ถ้าหากเราทำเหรียญมาให้ท่านแจกแล้ว ถ้าทำน้อยก็กลัวว่าจะไม่เพียงพอกับลูกๆของท่านที่มาในงาน นี่!!! คือความเมตตาอย่างยิ่ง ที่ผู้เป็นพ่ออาทรต่อบุตร โดยไม่คิดหวังสิ่งตอบแทนใดๆ
เหรียญรูปหลวงพ่อฯ ผูกติดอยู่กับห่วง เหรียญนั้นคือพ่อฯ ห่วงนั้นคือลูก พ่อไม่ทอดทิ้งลูก ฉันใด เหรียญก็จะไม่ทิ้งห่วงฉันนั้น!!!"
คำที่เกี่ยวข้อง
หลวงพ่ออิฏฐ์เหรียญหลวงพ่ออิฏฐ์หลวงพ่อวัดบ้านแหลม รุ่น 1ท้าวเวสสุวรรณวัดจุฬามณีรุ่นแรกลูกสะกดหลวงพ่ออิฏฐ์เหรียญท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี รุ่นแรกวัดจุฬามณีหลวงพ่อรวย2559เวสสุวรรณวัดจุฬามณีแหวนวัดจุฬามณี

สินค้าใกล้เคียง