เหรียญเมตตา หันข้าง รุ่นแรก หลวงปู่นงค์ พระครูนิวิฐสมณวัตร วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก
เหรียญเมตตา-หันข้าง-รุ่นแรก-หลวงปู่นงค์-พระครูนิวิฐสมณวัตร-วัดอุดมคงคาคีรีเขต-ตำบลนางาม-อำเภอมัญจาคีรี-จังหวัดขอนแก
ข้อมูลสินค้า
ราคา
450.00 428.00 บาท
ร้านค้า
เหรียญรุ่นเมตตา หันข้าง รุ่นแรก
หลวงปู่นงค์ พระครูนิวิฐสมณวัตร วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 2559
เนื้อทองแดง ไม่ตัดปีก รมดำ ตอกโค๊ด 9 รอบ
ขนาดประมาณ 2.5 ซม x 4.0 ซม
จัดสร้าง 999 เหรียญ
มีโค๊ตและเลขกำกับ
พร้อมกล่อง รับประกันพระแท้

ประวัติพระครูนิวิฐสมณวัตร (นงค์ ปคุโณ นธ.เอก)

พระครูนิวิฐสมณวัตร (นงค์ ปคุโณ นธ.เอก) นามเดิม นงค์ นามสกุล ยะหล่อม เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.2493 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 (ตามปฏิทินจันทรคติ) ปีขาล เกิดที่ ต.ศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น บิดาชื่อ นายเกิ้ง ยะหล่อม มารดาชื่อ นางดี ยะหล่อม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 7

การบรรพชาอุปสมบท
บรรพชาอุปสมบทเมื่อ วันจันทร์ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2515 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 (ตามปฏิทินจันทรคติ) ปีชวด ณ พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น โดยมี
พระมุนีวรญาณ (เจ้าคุณพระมุณีวร ญาณเถร เขียว มหานาโม) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดบุญมา ปิงคิโย เป็นพระกรรมวาจารย์
พระทองดี กันตธัมโม (พระครูกันตธรรมานุรักษ์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า “ปคุโณ”

ลำดับการจำพรรษา
พรรษาที่ 1 – 4 (พ.ศ.2515 – 2518) จำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
สมัยนั้นพระภิกษุบวชใหม่ จะต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ (เจ้าคุณพระมุณีวร ญาณเถร เขียว มหานาโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น(ธ) พระอาจารย์ท่านแรก ซึ่งเปรียบเสมือนลูกอยู่กับพ่อแม่ เพื่ออุปฐาก ดูแลรับใช้พระอุปัชฌาย์ ศึกษาข้อวัตร แนวการปฏิบัติตน รู้พระธรรมวินัย จึงจะสามารถไปเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองต่อไป หลวงปู่นงค์ ศึกษาร่ำเรียนนักธรรมและภาษาบาลี จนจบนักธรรมเอก

ครั้นพอออกพรรษา ที่ 4 หลวงปู่นงค์ มีความรู้สึกว่าจะไม่จำพรรษา ที่ 5 อยู่วัดศรีบุญเรืองต่อ เพื่อจะไปศึกษาด้านปริยัติธรรม หรือการออกธุดงค์ ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตามเทือกเขา ป่าไม้ลำเนาไพร เพราะว่าการออกธุดงค์ เป็นการไม่ยึดติดกับสถานที่ สามารถฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ฝึกสมาธิให้มั่นคง พร้อมได้ศึกษาทบทวนข้อวัตรการปฏิบัติ ท่านจึงได้ตัดสินใจกราบลา พระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์ โดยเดินทางไปทาง จ.สกลนคร ผ่าน อ.ส่องดาว ท่านจึงได้ไปกราบนมัสการ หลวงปู่วัน อุตตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) วัดวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ซึ่งหลวงปู่วัน ท่านก็ได้ให้ปฏิปทากับหลวงปู่นงค์ ว่า “ข้อวัตร การปฏิบัติของพระกรรมฐานที่ดี ต้องมุ่นเน้นพระวินัยเป็นสำคัญ โดยให้ไปศึกษาจากพระปาฏิโมกข์”

หลวงปู่วัน ยังกล่าวอีกว่า “พระปาฏิโมกข์ คือหัวใจสำคัญของพระภิกษุ การท่องการศึกษา พระปาฏิโมกข์นั้นสำคัญมาก พระภิกษุรูปใด ไม่มีบารมี ก็จะไม่สามาถท่องจำได้ แต่ถ้ามีการฝึกฝน มีความขยันหมั่นเพียร ก็จะสามารถผ่านไปได้ ต่อไปก็จะเป็นพระผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า สามารถปกครองดูแลภิกษุหมู่มากได้”

เท่ากับว่าหลวงปู่วัน เป็นพระอาจารย์ท่านที่ ๒ หลวงปู่นงค์ ได้อยู่ดูแลรับใช้อุปฐาก หลวงปู่วัน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงได้กราบลาหลวงปู่ เพื่อออกเดินธุดงค์ไปศึกษาต่อ

จนถึงวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จึงได้เข้ากราบนมัสการ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เพื่อศึกษาข้อวัตรแนวทางปฏิบัต หลวงปู่ฝั้น ท่านก็เมตตา ให้ปฏิปทากับหลวงปู่นงค์ ว่า “รู้ตั้งสมาธิให้มั่นคง สอนกำหนดจิตใจให้สงบ รู้เท่าทันความกลัว กลัวผีกลัวเสือ เช่น ถ้าจิตใจเรากลัวเสือเมื่อไหร่ เสือมันก็กินจิตใจคนได้ ถ้าเราไม่กลัว เสือมันก็แค่กินร่างของคนต่างหาก นั่นแหละเขาจึงพูดกันว่า ผู้ไม่กลัวตายไม่ตาย ผู้กลัวตายต้องตายเป็นอาหารของสัตว์” ท่านเตือนใจ สอนให้รู้จักตนเองอยู่เสมอ

ขณะที่หลวงปู่นงค์ ได้ศึกษาข้อวัตร แนวทางปฏิบัติ และดูแลรับใช้อุปฐากหลวงปู่ฝั้น ที่เป็นพระอาจารย์ท่านที่ 3 อยู่นั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาเยี่ยมหลวงปู่ฝั้น และได้มาประกาศหาพระภิกษุที่มีข้อวัตร มีหลักการ มีแนวทางปฏิบัติ ในสายพระกรรมฐาน ตามรอยธรรมปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สามารถช่วยเหลือดูแลตนเองได้ดีแล้ว ให้ไปเผยแผ่ธรรมและโปรดญาติโยม ที่ภาคตะวันออก ( สำนักสงฆ์ญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี)

- พรรษาที่ 5 (พ.ศ. 2519) จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์ญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี (ปัจจุบันชื่อวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์) หลังจากออกพรรษา ท่านจึงธุดงค์มายังภาคอีสาน
- พรรษาที่ 6 (พ.ศ. 2520) จำพรรษาที่วัดป่าบ้านยาง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
- พรรษาที่ 7 - 19 (พ.ศ. 2521 - 2533) จำพรรษาที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
ยุคที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต(ดูน) รุ่งเรืองสูงสุด คือในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จนกระทั่งหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต มรณภาพในปี พ.ศ. 2525 หลวงปู่ผาง ท่านเป็นประธานเริ่มก่อสร้าง พระเจดีย์ชัยมงคล ในปี พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2522 (ระยะเวลารวม 5 ปี)

พ.ศ. 2521 พระอาจารย์นาวา (ขรัวตาลาย) ศิษย์เก่าหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลานพระยาทรงสุรเดช ได้พาหลวงปู่นงค์ ซึ่งเคยอยู่วัดถ้ำขาม ด้วยกัน มาดูแลรับใช้อุปฐาก หลวงปู่ผาง ในช่วงนั้นพระอาจารย์หม๋วย เป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่ผาง เป็นประธานสงฆ์

- พรรษาที่ 20 - 23 (พ.ศ. 2534 - 2537) จำพรรษาที่วัดป่าบ้านยาง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
- พรรษาที่ 24 - 30 (พ.ศ. 2537-2543) จำพรรษาที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
- พรรษาที่ 31 (พ.ศ. 2544) จำพรรษาที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
- พรรษาที่ 32-33 (พ.ศ. 2545-2546) จำพรรษาที่วัดป่าเวฬุวันอรัญญวาสี อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
- พรรษาที่ 34 (พ.ศ. 2547) จำพรรษาที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
- พรรษาที่ 35-36 (พ.ศ. 2548-2549) จำพรรษาที่วัดป่าหนองหวาย อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
- พรรษาที่ 37-49 (พ.ศ. 2550-2564) จำพรรษาที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น จนถึงปัจจุบัน
คำที่เกี่ยวข้อง
หมื่นคีรีคีรีบอร์ดคีรีวงเหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อรวยเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่หงษ์เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่โต๊ะเหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่บุญฤทธิ์เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อกวยเหรียญหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน รุ่นแรก

สินค้าใกล้เคียง