พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 (ฉบับปัจจุบัน) ฉบับปฏิบัติงาน ประทีป ทับอัตตานนท์
ข้อมูลสินค้า
ราคา
320.00 288.00 บาท
ขายแล้ว
62 ชิ้น
ร้านค้า
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 (ฉบับปัจจุบัน) ฉบับปฏิบัติงาน ประกอบด้วยกฎกระทรวง ข้อบังคับ และคำพิพากษาศาลฎีกา ประทีป ทับอัตตานนท์
ผู้แต่ง : ประทีป ทับอัตตานนท์
ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 1 : 2565
จำนวนหน้า : 372 หน้า
ขนาด : 26x18.5 ซม.(T)
รูปแบบ : ปกอ่อน
9786165945516
คำนำ
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒. เป็นกฎหมายที่ประชาชนสัมผัส
มากที่สุด แต่จากข้อเท็จจริงปรากฎว่าประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย
ฉบับนี้น้อยที่สุด ซึ่งพิจารณาจากกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนี้จำนวนมาก ซึ่งอาจเกิด
จากความเคยชินในการกระทำผิด ซึ่งประชาชนอาจได้รับความรู้นี้มาจากคำบอกเล่าจาก
บุคคลอื่น รวมทั้งผู้บังคับใช้กฎหมาย และเจ้าพนักงานตำรวจจราจร พนักงานอัยการ และ
ผู้พิพากษาต่างก็หาที่ใช้ปฏิบัติงานยากลำบาก ด้วยเหตุว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
กฎหมายฉบับนี้อยู่กระจัดกระจาย ไม่มีการรวบรวมไว้เป็นหลักแหล่ง
ดังนั้น ผู้รวบรวมจึงทำการรวบรวมอนุบัญญัติที่เป็นกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ
ต่าง ๆ ที่อาศัยอำนาจจากกฎหมายว่าด้วยจราจรในการตราอนุบัญญัติเหล่านี้มารวมอยู่กับ
มาตราต่าง ๆ ของกฎหมายฉบับนี้ เพื่ออธิบายบทบังคับใช้กฎหมายนี้ และเป็นการแจ้ง
มาตรฐานการบังคับใช้ให้แก่ประชาชนผู้ถูกบังคับใช้กฎหมายนี้ ประกอบคำพิพากษาศาลฎีกา
ที่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายนี้
เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ยังเชื่อมโยงถึงความเสียหายอันเกิดจากการฝ่าฝืน
กฎหมายนี้ จึงทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายว่าการกระทำอย่างใดที่ผู้กระทำต้องชดใช้ค่า
เสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งกรณีใดบ้างที่ทำให้
ผู้เสียหายไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำของผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้ ซึ่งได้รวบรวมไว้ใน
ส่วนท้ายของเล่มนี้แล้ว
ผู้รวบรวมหวังว่า ข้อมูลในเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อการปฏิบัติให้
ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก และใช้ป้องกันตนเองจากการใช้อำนาจโดยมิชอบ
จากบุคคลอื่น รวมทั้งผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย
รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประทีป ทับอัตตานนท์
สิงหาคม ๒๕๖๕
สารบัญ
บทที่ ๑ ความทั่วไป
อำนาจในการเปรียบเทียบปรับ
ความผิดตามกฎหมายว่าการจราจรที่พนักงานสอบสวน
ไม่อาจทำการเปรียบเทียบปรับได้
การริบรถ
การร้องขอคืนของกลาง
ข้อสังเกต
การโอนทรัพย์ในคดียังไม่ถึงที่สุด
การขอรับทรัพย์สินนั้นกลับไปครอบครองก่อนศาลมีคำพิพากษา
การยึดใบอนุญาตขับขี่ การเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่.
(๑) มาตรการทางปกครอง
ก) คำสั่งยึดใบอนุญาตหรือให้ระงับการใช้รถชั่วคราว
กรณีผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ร่างกาย ทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น ตามมาตรา ๑๔๐/๒
ระเบียบว่าด้วยการยึดใบอนุญาตขับขี้ การบันทึกการยึดใบอนุญาตขับขี่
ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระงับการใช้รถเป็นการชั่วคราว
พ.ศ. ๒๕๖๕.
ข) คำสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ กรณีผู้ขับขี่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ
หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ตามมาตรา ๑ ๔๐/๓
ค) คำสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ กรณีผู้ขับขี่กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถ
หรือการใช้ทาง และอาจน่าจะก่อให้ให้เกิดอันตรายอย่าง
ร้ายแรงตามสาธารณะ หรือเป็นภัยแก่ประชาชนอย่าง
ร้ายแรงตามมาตรา ๑ ๔๒/๕
ง) คำสั่งยึดหรือพักใช้ใบอนุญาตชับขี่ กรณีที่ผู้ขับขี่เคยต้องคำสั่ง
ให้พักใช้ใบอนุญาตสองครั้งภายในสามปี และมีเหตุอันสมควร
ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ตามมาตรา ๑๔๒/๖
จ) คำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ กรณีเคยต้องคำสั่งให้ยึดหรือ
พักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามมาตรา ๑๔๒/๖ มาแล้ว และถูก
สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่อีกภายในหนึ่งปีนับแต่พ้นกำหนดเวลา
ที่ถูกยึดหรือถูกสั่งพักใบอนุญาตขับขี่อีก ตามมาตรา ๑๔๒๘
(๒) มาตรการพิเศษเพิ่มเติมในการบังคับโทษทางอาญาของศาลยุติธรรม
ก) กรณีผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษทางกฎหมาย หรือวัตถุออกฤทธิ์
ต่อจิตและประสาท
ข) กรณีกระทำผิดฐานแข่งรถในทาง
ค) กรณีผู้ขับขี่ในขณะเมาหรือของเมาอย่างอื่น.
ง) กรณีเป็นการลงโทษทำนองเป็นการกระทำผิดซ้ำ
จ) ศาลเห็นสมควร
การกระทำผิดซ้ำ
การกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำผิดพิเศษ
การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
การดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนในคดีจราจร.
อำนาจในการตรวจยึดรถของกลางในคดีอาญา
รูปแบบการสอบสวนในคดีจราจร
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
บทที่ ๒ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒
บททั่วไป
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒.
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๕๒๔/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้า
เจ้าพนักงานจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ระเบียบว่าด้วยการประสานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับประวัติ
และการกระทำความผิดตามกฎหมายของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูล
ทะเบียนรถ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๕
คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๕๒๙/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจร
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ลักษณะ ๑ การใช้รถ.
หมวด ลักษณะของรถที่ใช้ในทาง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบสภาพของรถที่อาจทำให้
เสื่อมเสียสุขภาพอนามัย พ.ศ. ๒๕๔๖
ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ
พ.ศ.๒๕๔๑
กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ.๒๕๒๒.
ข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าควันดำ ก๊ช และระดับเสียง
ของรถ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยินยอมให้นำมาใช้ในทางเดินรถได้
หมวด 2 การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณของรถ.
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจร
ทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒.
ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณ
วับวาบ เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมายแสดง
ลักษณะของรถฉุกเฉิน
ข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง ชนิด ลักษณะ จำนวนของธงหรือไฟสัญญาณ
สำหรับรถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ
กฏกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒..
หมวด ๓ การบรรทุก
กฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ