ใบหญ้าคาสด ชงเป็นชาสมุนไพร Imperata cylindrica ใบหญ้าคา 500 กรัม
ใบหญ้าคาสด-ชงเป็นชาสมุนไพร-imperata-cylindrica-ใบหญ้าคา-500-กรัม
ข้อมูลสินค้า
ราคา
59.00 บาท
ขายแล้ว
18 ชิ้น
ร้านค้า
การเก็บมาใช้และวิธีการใช้สมุนไพรหญ้าคา

ช่อดอกหญ้าคา ให้เด็ดมาทั้งก้านตอนดอกบานในช่วงฤดูร้อนหรือหนาว จะใช้สด ๆ หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ก็ได้ ใช้ช่อดอกแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หากใช้เป็นยาภายนอกให้นำมาตำแล้วพอกหรืออุดที่รูจมูก[1]

ขน (ดอกแก่) ให้เก็บเมื่อช่อดอกแก่เต็มที่แล้ว โดยจะมีลักษณะเป็นสีขาวฟู เก็บมาได้ก็ให้นำมาตากแห้งเก็บไว้ใช้ ใช้ภายใน ให้ใช้ขนแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หากใช้เป็นยาภายนอกให้นำมาตำแล้วพอกหรืออุดที่รูจมุก[1]

ใบหญ้าคา ตัดแล้วนำมาผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ใช้ได้ หากใช้ภายนอกให้นำมาแช่หรือต้มกับน้ำอาบ[1]

รากหญ้าคา ให้เก็บในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว ให้ตัดส่วนที่อยู่เหนือดินทิ้ง แล้วขุดเอาแต่รากหรือลำต้นที่อยู่ใต้ดินนำมาล้างให้สะอาด และขูดเอารากที่เป็นฝอย ๆ ออก จะใช้สดหรือนำมาตากแห้งเก็บไว้ใช้ก็ได้ ใช้ภายใน ให้นำรากแห้งใช้ประมาณ 10-15 กรัม ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน หรือคั้นเอาน้ำกิน หากใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผง[1]


ประโยชน์หญ้าคา หญ้าคาเป็นพืชที่มีธาตุไนโตรเจน ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโพแทสเซียมสูงมาก ช่วยทำให้ดินร่วนซุย ทำให้ออกซิเจนลงไปในดินได้สะดวกขึ้น ทำให้ดินไม่แน่น และเป็นหญ้าที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วคือ เมื่อเน่าเป็นปุ๋ยแล้วจะช่วยป้องกันเพลี้ยและแมลงต่าง ๆ ได้[7] ต้นแห้งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ส่วนในยูกันดามีการนำมาใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา[1] ต้นใช้มัดต้นแผ่นเป็นแผ่นแบน ๆ แล้วทุบให้แตก ตัดใบทิ้ง ใช้เป็นแปรงฉาบน้ำปูนตามผนังตึกหรือกำแพงได้[1] ใบนำมาไพเป็นตับ (ไพหญ้าคา) หรือนำมามัดรวมกันเป็นตับ ตากให้แห้งแล้วนำมาใช้มุงหลังคากระท่อม เล้าไก่ เล้าเป็ด คอกเลี้ยงหมู ฯลฯ[4],[6] สามารถนำมาอัดทำเป็นแผ่น ๆ คล้ายกับไม้อัดทั่วไป สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทำตู้เก็บหนังสือ ตู้เก็บพระคัมภีร์ ทำกรอบรูป ของที่ระลึกต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจาก นศ.ศรีราวรรณ วงษ์โท นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช คณะคหกรรมศาสตร์[6] รากหญ้าคา สามารถนำมาใช้ทำเชือก ใช้สานตะกร้า เสื่อ หรือทำแปรงด้วย[1] ประโยชน์รากหญ้าคา ใช้ทำเป็นน้ำตาลได้ โดยในช่วงฤดูหนาวให้ขุดดินใต้กอหญ้าคาให้เป็นโพรงชอนเข้าไปลึก ๆ และให้ตัดหญ้าคายาว ๆ ออกบ้าง แล้วให้เอาแกลบมาใส่ให้เต็มโพรงที่ขุด และให้หมั่นรดน้ำที่โคนต้นทุกวัน จนเมื่อรากงอกยาวสีขาวงามดีแล้ว ให้เอาแกลบออก จับรากมัดรวมกัน แล้วใช้มีดคม ๆ ปาดเหมือนปาดจั่นมะพร้าวหรือตาลโตนด ทิ้งไว้ 3 วัน เมื่อครบวันก็ให้เอาภาชนะไปรองรับที่มัดรากที่ปาดแล้วนั้น วันรุ่งขึ้นก็ให้มาเก็บน้ำตาล แล้วปากลึกเข้าไปอีกให้ได้ทุกวันจนหมด[1] น้ำร้อนชงสกัดน้ำตาลจากรากนำมาใช้หมักเบียร์[1]
คำที่เกี่ยวข้อง
ใบหญ้าคารากหญ้าคาสดใบตัดหญ้าคาใบ หญ้าใบชาหญ้าหวานใบหญ้านางใบหญ้าหวานใบหญ้าปลอมใบหญ้าเฉาก๊วยใบ หญ้า มัน

สินค้าใกล้เคียง