สมเด็จศาสดา ญสส. วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2534
สมเด็จศาสดา-ญสส-วัดบวรนิเวศวิหาร-พ-ศ-2534
ข้อมูลสินค้า
ราคา
200.00 บาท
ร้านค้า
การสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 1500 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมา ถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
พระศาสดา สร้างคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระพุทธชินสีห์ ได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดไม่มีผู้ปฏิสังขรณ์ จึงได้อัญเชิญพระศาสดามาไว้ ที่วัดบางอ้อช้าง ทางแม่น้ำอ้อม จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ต้นสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติปฏิสังขรณ์วัดประดู่ คลองบางหลวง จึงได้ขออัญเชิญพระศาสดาไปเป็นพระประธาน

ล่วงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชดำริว่า "พระศาสดา"เป็นพระพุทธรูปอยู่ที่พระอารามหลวงมา แต่โบราณ ไม่สมควรอยู่ที่วัดอื่น จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ที่มุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ต่อมาได้ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาและพระพุทธชินสีห์ เคยประดิษฐานอยู่ในพระอารามเดียวกันที่เมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นใน วัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระศาสดาจากวัดสุทัศน์ ฯ ไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖

สมเด็จศาสดา ญสส. วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2534 คัดสภาพสวย เนื้อจัด ผิวเดิมๆ น่าเก็บไว้บูชาครับ
#สมเด็จพระศาสดา
#วัดบวรนิเวศวิหาร
#สมเด็จพระสังฆราช
คำที่เกี่ยวข้อง
วัดบวรนิเวศวิหารพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหารวัดบวรนิเวศวัดบวรนิเวศ...พระนิรันตราย วัดบวรนิเวศพระอุปคุต วัดบวรนิเวศพระไพรีพินาศวัดบวรนิเวศพระอุปคุต วัดบวรนิเวศ ประวัติวัดบวรพระกริ่งวัดบวร

สินค้าใกล้เคียง