คิดแล้ว, คิดอีก (Think Again)
คิดแล้ว-คิดอีก-think-again
ข้อมูลสินค้า
ราคา
395.00 356.00 บาท
ขายแล้ว
45 ชิ้น
ร้านค้า
คิดแล้ว, คิดอีก (Think Again)
ผู้เขียน : Adam Grant
ผู้แปล : วิโรจน์ ภัทรทีปกร
จำนวน : 408 หน้า (T)
9786162875045
amarinbook welearn

เนื้อหาโดยสังเขป

"ความสามารถในการคิดเป็นคุณสมบัติล้ำค่าของมนุษย์
มันช่วยเราแก้ปัญหา เรียนรู้สิ่งใหม่ และสร้างอารยธรรมขึ้นมา

ทว่ามันกลับเป็นจุดอ่อนร้ายแรงของมนุษย์เราเช่นกัน
ซึ่งเราจะเอาชนะมันได้ก็ต่อเมื่อเรา “คิด” แล้ว “คิดอีก”

Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดัง จะพาคุณท่องไปในโลกของความคิด
เพื่อสำรวจว่าอะไรคือสิ่งที่คุณรู้จริง สิ่งที่คุณไม่รู้ และสิ่งที่คุณคิดว่าคุณรู้
รวมถึงสาเหตุที่ผู้คนมากมายยังคงยึดติด มืดบอด และเดินเข้าสู่วงจรหายนะ

เมื่อคิดแล้ว, ก็จงคิดอีก
เพราะมีเพียงการตั้งคำถามกับสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้อง
ที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากวงจรหายนะนี้ได้"

ชัชชาติแนะนำเล่มนี้
รีวิวเล่มนี้โดยชัชชาติ
.
หนังสือเล่มนี้ชือ Think Again หรือ "คิดแล้ว,คิดอีก" เขียนโดย Adam Grant ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา องค์กร อยู่ที่ Wharton School ที่ University of Pennsylvania เขาเขียนหนังสือที่ดีมากๆหลายเล่ม เช่น Originals Give and Take และ Option B ส่วนเล่มนี้เพิ่งออกมาวางขายเมื่อต้นปีนี้ (2565)
.
Think Again เป็นหนังสือที่อธิบายถึงความสำคัญของการ "คิดใหม่" การปรับวิธีคิดเพื่อให้เรากล้าท้าทายความเชื่อเดิมที่เรามี และลองคิดในแบบใหม่ที่จะช่วยเปลี่ยนชีวิตเราได้
.
หัวใจของการคิดแล้ว,คิดอีกมีสามส่วนคือ
- ให้สงสัยในสิ่งที่เรารู้
- ให้อยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เราไม่รู้
- ปรับมุมมอง ความคิด ให้สอดคล้องกับความรู้ใหม่ ข้อมูลใหม่
.
หนังสือเล่มนี้ Adam Grant แบ่งออกเป็นสี่ส่วน คือ
Part 1. Individual Rethinking - การ "คิดใหม่" ของแต่ละคน
Part 2. Interpersonal Rethinking - การเปิดใจให้คนอื่น "คิดใหม่"
Part 3. Collective Rethinking - การสร้างสังคมที่กล้า "คิดใหม่"
Part 4. Conclusions - บทสรุป
.
ผมขอสรุปส่วนที่น่าสนใจมาอย่างย่อๆนะครับ (ตัวอย่างบางอัน ผมใส่มาเพิ่มนะครับ)
.
1. นักเทศน์ อัยการ นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ คุณเป็นแบบไหน?
.
Adam Grant เปรียบเทียบว่าในการคิดและพูด เรามักจะสวมบทบาทของสี่อาชีพนี้ (แนวคิดนี้ไม่ได้บอกว่าอาชีพไหนดีหรือไม่ดี เพียงแต่เปรียบเทียบวิธีการทำงานของแต่ละอาชีพเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น)

นักเทศน์ (Preacher) จะมีความยึดมั่น ศรัทธา ในความเชื่อของตัวเอง คอยพร่ำสอนคนอื่นๆถึงความเชื่อนั้น
.
อัยการ (Prosecutor) จะต้องพยายามหาข้อผิดพลาดของอีกฝ่าย เพื่อหักล้าง โต้แย้ง และ ปกป้องความเชื่อของฝ่ายตนเอง
.
นักการเมือง (Politicians) จะต้องพยายามเอาใจคนส่วนใหญ่ อาจจะแค่เปลี่ยนคำพูด เพื่อโน้มน้าวคน แต่ไม่ได้เปลี่ยนความคิดจริงๆที่อยู่ในใจ
.
นักวิทยาศาสตร์ (Scientists) ตัดสินใจด้วยหลักฐาน ข้อมูล การทดลอง เปลี่ยนความคิดได้ถ้ามีข้อมูลใหม่
.
ในแต่ละวัน เราอาจจะสวมหลายบทบาทในแต่ละเรื่อง แต่เมื่อไรที่เราสวมบทบาทสองอันแรก (นักเทศน์และอัยการ) ก็จะยากที่เราจะเปิดใจในการคิดใหม่ เพราะเราจะพยายามยึดมั่นและปกป้องความเชื่อของเรา
.
แบบนักการเมืองก็น่ากลัว เพราะแค่เปลี่ยนคำพูดเพื่อหวังคะแนน โดยไม่ได้เปลี่ยนความคิดหรือ"คิดใหม่"จริงๆ เช่น ในใจยังชอบเผด็จการไม่เคยเปลี่ยน แต่ต้องพูดว่าเอาประชาธิปไตยเพื่อเอาใจคนส่วนใหญ่
.
แต่ถ้าเราคิดในแบบนักวิทยาศาสตร์ ก็จะเปิดโอกาสให้เราคิดใหม่ได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะไม่ยึดติดกับความเชื่อเดิม และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
.
สาเหตุสำคัญที่เรามักจะยึดติดกับความเชื่อเดิม คือการติดอยู่กับวงจรของ "ความมั่นใจเกิน" (Overconfidence Cycle)
.
ความภูมิใจ > ความมั่นใจ > ความลำเอียง (ฟังแต่สิ่งที่เชื่อ) > การยืนยัน > ความภูมิใจ > ความมั่นใจ ..... (วนไป)
.
ในวงจรนี้ เราอาจจะมีความสุข ความสบายใจ (แบบปลอมๆ) กับการยืนยัน ความมั่นใจนี้ว่าเราเก่ง รู้คิดถูก เรารู้ทุกอย่างแล้ว
ถ้าเราจะคิดใหม่ เราต้องสร้างวงจรของ "การคิดใหม่" (Rethinking Cycle)
.
ความถ่อมตัว > ความสงสัย > ความอยากรู้อยากเห็น > การค้นพบ > ความถ่อมตัว > ความสงสัย ..... (วนไป)
.
วงจรนี้ เราอาจจะไม่สบายใจ หรือจะต้องเหนื่อยกับ "ความสงสัย" ที่ต้องเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ แต่นี่คือสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้นการ "คิดใหม่" ให้เราปรับปรุงตัวและอยู่รอดได้
.
2. ภูเขาแห่งความโง่ (Mount Stupid)
.
เป็นปรากฎการณ์ที่เรียกว่า "Dunning-Kruger Effect" หรือ "คนที่รู้น้อยมักจะคิดว่าตัวเองรู้มาก"
.
เมื่อเราเริ่มมีความรู้ในบางเรื่องบ้าง หลายๆ ครั้งเราจะมีความมั่นใจมากเกินความรู้นั้น และ ติดอยู่บน "ภูเขาแห่งความโง่" (Mount Stupid) ไม่ฟังใคร คิดว่าเรารู้ดีที่สุด ยิ่งเราแวดล้อมด้วยคนที่คอยสนับสนุนเรา เออออกับเรา ประเภท "ได้ครับพี่ ดีครับนาย สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน" อาการก็จะยิ่งหนัก จนกระทั่งถึงวันที่เราตระหนักถึงความไม่รู้ของเรา เราก็มีโอกาสที่จะลงจากยอดเขา และเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น เราถึงจะพัฒนาตัวเองให้ไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืนได้ ต้องคอยถามตัวเองอยู่เสมอว่า เราอยู่บนยอดดอยของความโง่ หรือเปล่า
.
3. ฝึกให้ดีใจ เมื่อรู้ว่าคุณคิดผิด
.
ฝึกตัวเองให้ยอมรับว่ามีเรื่องอีกมากมายที่เราไม่รู้ และจงดีใจเมื่อรู้ว่าคุณผิด เพราะนั่นหมายความว่า ต่อไปคุณจะมีเรื่องให้ผิดน้อยลงไปหนึ่งเรื่อง ที่น่าสนใจคือ Adam เขาแนะนำว่า อย่าเอาตัวตนของเรา (Identity) ไปยึดติดกับความเชื่อ (Belief) ให้เอาไปยึดติดกับคุณค่า (Value) ดีกว่า เพราะในอนาคต เมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ ความเชื่อที่เราเคยมีอาจจะผิดไปแล้ว ถ้าเราเอาตัวเองไปยึดติดกับความเชื่อ ทำให้เราต้องมาปกป้องความเชื่อนั้น และเป็นอุปสรรคต่อการ "คิดใหม่" ของเรา เช่น ถ้าเราเอาตัวเองไปยึดติดกับความเชื่อว่าเพื่อนเราคนหนึ่งเป็นคนดีมากๆ แต่พอมีข้อมูลใหม่ว่าเขาไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราจะเปลี่ยนความคิดเรายาก เพราะเราเอาตัวตนของเราไปยึดติดกับความเชื่อนั้น แทนที่จะไปผูกกับคุณค่าของการกระทำ ทำให้เราต้องพยายามปกป้องความเชื่อนั้นเพราะมันเหมือนเป็นตัวตนขอ
คำที่เกี่ยวข้อง
คิดแล้ว คิดอีกหนังสือคิดแล้วคิดอีกthink again คิดแล้ว, คิดอีกthink again คิดแล้ว คิดอีกคิดแล้วคิดแล้วรวยหนังสือคิดแล้วรวยคิดคิดกระเป๋าคิดคิดคิดคิด หมากฝรั่ง

สินค้าใกล้เคียง