ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ (ปกแข็ง,ปกอ่อน)
ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ-ปกแข็ง-ปกอ่อน
ข้อมูลสินค้า
ราคา
750.00 บาท
ขายแล้ว
49 ชิ้น
ร้านค้า
ชื่อ = ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ (ปกแข็ง)
จัดพิมพ์เมื่อ = 2566
ผู้เขียน/ผู้แต่ง/ผู้รวบรวม = เอริค ฮ็อบส์บอม
ผู้แปล = ภัควดี วีระภาสพงษ์
จำนวนหน้า = 568
ขนาดเล่ม = - ซม.
(T)
รหัสเลข isbn ปกแข็ง = 9786169430308
รหัสเลข isbn ปกอ่อน = 9786169399490
Skybook
Attorney285

คำนำ

เอริค ฮ็อบส์บอม (Eric Hobsbawm, 1971–2012) เป็นนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์ชาวอังกฤษผู้ผลิตผลงานซึ่งกลายเป็นหลักหมายสำคัญในวงวิชาการ ถึงแม้ผลงานของเขาจะถูกกล่าวถึงและอ้างอิงไม่น้อยในวงวิชาการไทย ทว่ายังไม่มีนส.เล่มสำคัญของนักประวัติศาสตร์ผู้นี้ปรากฏออกมาเป็นภาษาไทยแม้แต่เล่มเดียว ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์ถือเป็นเรื่อง “ล้าสมัย” ไปแล้วสำหรับนักวิชาการไทยกระแสหลัก หรืออาจเพราะงานของเขามุ่งเน้นศึกษาประวัติศาสตร์ของสามัญชนคนธรรมดา มิใช่ชนชั้นสูงที่นักประวัติศาสตร์กระแสหลักมักให้ความสำคัญกว่า หรือเนื้อหาในนส.ไม่ได้กล่าวถึงสังคมไทย จึงดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย หรือความยากและยาวของเนื้อหาเนื่องจากผู้เขียนเป็นผู้รู้ศาสตร์หลายแขนง ซึ่งทำให้การถ่ายทอดข้ามภาษาจำเป็นต้องอาศัยนักแปลที่มีทั้งความสามารถและความมานะบากบั่น

ความมุ่งหวังของฟ้าเดียวกันที่จะตีพิมพ์นส.ชุดของฮ็อบส์บอมในพากย์ภาษาไทยคงเป็นจริงได้ยาก หากภัควดี วีระภาสพงษ์—นักแปลงานวิชาการที่มีเจตจำนงชัดเจนว่างานแปลของเธอคือส่วนหนึ่งของการวิพากษ์สังคมการเมืองในตัวมันเอง—มิได้เข้ามารับเป็นผู้แปล ทั้งยังอุตสาหะค้นคว้าเพิ่มเติมทำเชิงอรรถผู้แปลที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้เขียนกล่าวถึงได้กระจ่างยิ่งขึ้น โดยทำงานร่วมกับวริศา กิตติคุณเสรี บรรณาธิการแปล ตลอดจนกองบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ จนนส.เล่มนี้ปรากฏออกมาได้

กล่าวสำหรับนส. The Age of Revolution (1789–1848) หรือในพากย์ไทยชื่อ ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ถือเป็นปฐมบทของ “ศตวรรษที่19อันยาวนาน” ตามคำของฮ็อบส์บอม ซึ่งค้นคว้า วิเคราะห์ และบรรยายตีความช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกระบวนการ modernization ที่ตามมาหลังจากนั้น โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการปฏิวัติทวิภาค (dual revolution) กล่าวคือ การปฏิวัติฝรั่งเศสในทางการเมือง และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทางสังคมเศรษฐกิจเป็นหลักในอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนส่งต่อกระแสคลื่นการปฏิวัติที่ระบาดลุกลามไปทั่วโลกตะวันตกระหว่างปี 1815–1848 ทั้งในสเปน อิตาลี กรีซ เบลเยียม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ โรมาเนีย ตุรกี ฮังการี โปแลนด์ ซีกตะวันตกของรัสเซีย อเมริกาเหนือ รวมถึงขบวนการปลดแอกของกลุ่มชาตินิยมต่างๆ ในลาตินอเมริกา

การปฏิวัติทวิภาคอันสะเทือนเลื่อนลั่นนี้ยังก่อร่างสร้างแนวคิดสำคัญๆ ที่จะพัฒนาและส่งอิทธิพลต่อกันและกันจนเกิดเป็นอุดมการณ์ มโนทัศน์ และบรรทัดฐานของสังคมสมัยใหม่ที่เราคุ้นชินกันทุกวันนี้ เช่น ความคิดที่ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสิทธิตามธรรมชาติ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน สิทธิเลือกตั้ง การปกครองด้วยเสียงส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างนายทุน-แรงงาน กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม การแบ่งชนชั้นทางสังคมตามฐานะเศรษฐกิจและรายได้ซึ่งต่างจากในยุโรปยุคกลาง การเลื่อนชั้นทางสังคมตามความสามารถ ไม่ใช่ตามอภิสิทธิ์แบบขุนน้ำขุนนาง อุดมการณ์เสรีนิยมของชนชั้นกลาง อุดมการณ์ราดิคัลของนักคิดสังคมนิยม มิพักต้องกล่าวถึงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาที่การปฏิวัติทวิภาคช่วยเปิดช่องทางความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ และความเฟื่องฟูด้านศิลปะวรรณกรรมที่ให้กำเนิดศิลปินนามอุโฆษจำนวนมาก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการปฏิวัติทวิภาคและผลกระทบที่ตามมาทั้งดีและร้ายหลังจากนั้น

ฮ็อบส์บอมบรรยายเรื่องราวเหล่านี้อย่างละเอียดพิสดารด้วยการถักทอเชื่อมร้อยองค์ความรู้ขนาดมหึมาและกว้างใหญ่ไพศาลเข้าด้วยกัน บางเรื่องบางตอนอาจแลดูห่างไกลและเข้าใจยากอยู่สักหน่อย แต่อย่างน้อยที่สุดผู้อ่านน่าจะได้ตระหนักว่า แท้แล้วสรรพสิ่ง “สมัยใหม่” ที่รายล้อมเราไม่ว่าทางวัตถุหรืออุดมการณ์ความคิดนั้น มิเคยเกิดขึ้นมาเอง หรือเกิดจากฟ้าประทาน ทว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากจินตนาการ ความใฝ่ฝัน และการลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงของบรรพชนนักปฏิวัติทั้งหลายแห่งการปฏิวัติทวิภาคอันยิ่งใหญ่

ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ เป็นเล่มแรกในผลงานชุดไตรภาคของเอริค ฮ็อบส์บอม อันประกอบด้วย The Age of Revolution (1789–1848), The Age of Capital (1848–1875), The Age of Empire (1875–1914) และภาคต่อเล่มที่สี่คือ The Age of Extremes (1914–1991) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการนส.ชุดที่สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันตั้งใจผลักดันให้สำเร็จลุล่วง ด้วยภารกิจหนึ่งของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันคือการนำองค์ความรู้เชิงวิพากษ์จากภายนอกเข้าสู่สังคมไทยผ่านการแปล เพราะเราเชื่อว่าการแปลไม่เพียงเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งต่อความรู้ข้ามพรมแดนภาษา แต่ยังเป็นสะพานเชื่อมโลกทัศน์และความเข้าใจต่อวัฒนธรรมของชนชาติอื่นไปพร้อมกันด้วย

สารบัญ

คำนำสำนักพิมพ์

คำนำผู้แปล

อารัมภบท

คำนำ

ภาค 1 พัฒนาการ

บทที่ 1 โลกในทศวรรษ1780

บทที่ 2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

บทที่ 3 การปฏิวัติฝรั่งเศส

บทที่ 4 สงคราม

บทที่ 5 สันติภาพ

บทที่ 6 คลื่นการปฏิวัติ

บทที่ 7 ลัทธิชาตินิยม

ภาค 2 ผลพวงที่ตามมา

บทที่ 8 ที่ดิน

บทที่ 9 สู่โลกอุตสาหกรรม

บทที่ 10 เส้นทางอาชีพเปิดโอกาสแก่ผู้มีความสามารถ

บทที่ 11 คนจนผู้ใช้แรงงาน

บทที่ 12 อุดมการณ์ : ศาสนา

บทที่ 13 อุดมการณ์ : ฆราวาส

บทที่ 14 ศิล
คำที่เกี่ยวข้อง
ยุคสมัยแห่งธิดาอ๋องยุคสมัยแห่งความสิ้นหวังปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียวปกอ่อนปก อ่อนปกแข็งโลกแห่งมหาศึกชิงบัลลังก์ (ปกแข็ง)ยุคสมัยกระดาษแข็งปกสมุดปกอ่อน

สินค้าใกล้เคียง