ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการ
ความรุนแรงซ่อน-หาสังคมไทย-ชัยวัฒน์-สถาอานันท์-บรรณาธิการ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
820.00 บาท
ร้านค้า
ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์มติชน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มี ๕๑๒ หน้า

ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการ

ปัญหาความรุนแรงเป็นปัญหาหนึ่งที่สั่งสมมานานในสังคมไทยภายใต้ความเชื่อที่ว่าคนไทยรักสงบ ผู้คนทำนุบำรุงในศาสนา แต่ทว่ามายาคติดังกล่าวกลับขัดแย้งกับภาพเหตุการณ์นานาทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏ

หนังสือเรื่อง ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย ตีพิมพ์เมื่อปี 2553 รวบรวมผลงาน 6 เรื่อง ของนักวิชาการ 7 คน จึงเปรียบเสมือนพาหนะที่จะนำพาผู้อ่านทุกท่านให้โลดแล่นเข้าสู่การสำรวจความรุนแรงที่ถูกซุกซ่อนไว้ และชักชวนให้ผู้อ่านทบทวนตนเองว่าเราเป็น “ส่วนหนึ่ง” หรือ “ส่วนร่วม” ของขบวนการความรุนแรงใดๆ หรือไม่ ตลอดจนการค้นหาคำตอบในการคลี่คลายความรุนแรงต่างๆ ที่ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บรรณาธิการของหนังสือได้ทิ้งท้ายไว้ในบทนำว่า “...เมื่อรู้ “ที่ซ่อน” ของความรุนแรง จัดวางตำแหน่งแห่งที่ของปรากฏการณ์นี้ได้ในองค์ความรู้ทางวิชาการความรุนแรงทางการเมืองระดับสากล จนพอจะ “หา” พบแล้ว (สังคมไทย) จะได้อะไร”1

กำเนิดและพัฒนาการขององค์ความรู้ทางวิชาการว่าด้วยความรุนแรงทางการเมือง: บทสำรวจงานวิชาการในโลกตะวันตก

ประจักษ์ ก้องกีรติ

บทเริ่มต้นของหนังสือเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจพื้นฐานของเหตุการณ์ความรุนแรง และแนวคิดจากต่างประเทศเพื่อปูทางเข้าสู่เหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ในบทนี้ผู้เขียนยกตัวอย่างเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น การปราบปรามผู้ชุมนุมโดยรัฐในเหตุการณ์ 14 ตุลา, สงครามการปราบปรามยาเสพติดและวิสามัญฆาตกรรมภายใต้รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้นเป็นระยะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต แต่ปะทุรุนแรงขึ้นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับจากปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์เหล่านี้จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ชั้นดีที่ผู้เขียนชี้ชวนให้เห็นถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเหตุการณ์ความรุนแรงได้ดียิ่งขึ้น ประจักษ์ ก้องกีรติจึงทำการสำรวจเหตุการณ์ความรุนแรงในโลกตะวันตก ผ่านงานเขียนและงานวิจัยในประเด็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สงครามกลางเมือง สงครามแบ่งแยกดินแดน การจราจล ความรุนแรงโดยรัฐในมิติการศึกษาทางรัฐศาสตร์และมานุษยวิทยา โดยมุ่งหวังให้องค์ความรู้ในงานวิชาการดังกล่าว เกิดประโยชน์ในการจัดการความขัดแย้งที่อาจจะขยายตัวให้เกิดเป็นความรุนแรงในสังคมไทยได้

ปฏิบัติการสงครามของการรณรงค์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย

พวงทอง ภวัครพันธุ์

ในราวปี พ.ศ. 2546 คำว่า “ฆ่าตัดตอน” ดูจะเป็นคำที่ทุกคนคุ้นเคยและยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทย ตามที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศสงครามกับยาเสพติด โดยสื่อมวลชนรายงานว่าผู้ต้องสงสัยส่วนใหญ่ถูก “วิสามัญฆาตกรรม” ขณะที่รัฐบาลให้คำอธิบายต่อสาธารณะว่าเป็นการฆ่าปิดปากของผู้ค้ายาเสพติดด้วยกัน

ความน่าสนใจที่ พวงทอง ภวัครพันธุ์ นำเสนอในงานชิ้นนี้คือสถิติจำนวนคดียาเสพติด ข่าวพาดหัวเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวนประชากรที่ใช้ยาเสพติด ซึ่งเป็นการเปิดเผยให้เห็นภาพลวงของการนำเสนอข้อมูลตัวเลขอันนำไปสู่การสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน ความกลัวต่อยาเสพติดนี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญให้รัฐบาลสามารถใช้อำนาจควบคุมประชาชนและผลิตซ้ำวาทกรรมการใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องประเทศชาติ แทนที่จะส่งมอบความรู้และความจริงให้กับประชาชนเพื่อใช้ในการร่วมหาทางออกของปัญหาได้อย่างถูกต้อง
คำที่เกี่ยวข้อง
หมีความรุนแรงสู่สังคมไทยเสมอหน้าa level สังคม ไทยสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทยพระชัยวัฒน์อานันท์ ปันยารชุนสร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการซ่อนความลับนักสู้ อานันท์หมีรุนแรง

สินค้าใกล้เคียง