เหรียญปราบไพรี หลวงปู่บุญ ปริปุนณสีโล ที่ระลึกสร้างศาลาปฎิบัติธรรม วัดป่าแดนสงบ จังหวัดนครราชสีมา ปี 2558
ข้อมูลสินค้า
ราคา
445.00 423.00 บาท
ร้านค้า
เหรียญปราบไพรี หลวงปู่บุญ ปริปุนณสีโล
ที่ระลึกสร้างศาลาปฎิบัติธรรม วัดป่าแดนสงบ
ตำบลสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ปี 2558
เนื้อทองแดง (มันปู)
จัดสร้าง 2,000 เหรียญ
มีเลขกำกับ
ขนาดประมาณ กว้าง 2.5 ซม x ยาว 4.0 ซม
พร้อมกล่อง รับประกันพระแท้
หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺสีโล อายุ 76 พรรษา 40 ด้วยปฏิปทานอย่างมุ่งมั่นของหลวงปู่ที่ต้องการสำเร็จมรรคผลนิพพานตามหลักแห่งสัมมาสัมพุทธเจ้านำไว้ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่เพศบรรพชิตนั้น
หลวงปู่ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติซึ่ง วิปัสนา กรรมฐานมาต่อเนื่อง ตั้งแต่เข้าสู่ร่มกาสาวพัฒน์จนกระทั่งปัจจุบัน และด้วยวัตรปฏิบัติที่งดงามของหลวงปู่เป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วไปทั้งในเขตปักธงชัยรวมถึงในเขตจังหวัดโคราช หลายปาฏิหารย์เกิดขึ้นจากศรัทธาที่มีแก่หลวงปู่สมบุญอริยสงฆ์แห่งปักธงชัย
ประวัติสังเขปของหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล
บิดา นายหลอด แรมกิ่ง
มารดา นางคำ แรมกิ่ง
เกิดที่บ้านปอแดง หมู่ที่ 4 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2478 อุปสมบทเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2514 ณ พัทธสีมา วัดบ้านห้วยสะแกราช ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา โดยมี พระครูสาทรคณารักษ์ (หลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท) วัดบ้านห้วยสะแกราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสุขวัฒน์ วัดสุขวัฒนาราม เป็น
กรรมวาจาจารย์ พระครูสุทธิสีลคุณ วัดบ้านห้วยสะแกราช เป็นอนุสาวนาจารย์
หลวงปู่มีอภิญญาสูงได้ปฏิบัติ ธุดงควัตรในตั้งแต่แรกยาวนาน ถึง 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2518 จวบจนถึง ปี 2538 ในระยะเวลาการเดินธุดงค์ของหลวงปู่นั้นมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหารย์มากมายรวมถึงเจอสิ่งแปลกๆ ในป่าช้า ป่าใหญ่กลางเขามากมาย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ที่ติดตามหลวงปู่อย่างใกล้ชิด หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว
ก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆ จาก หลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท โดยหลวงปู่ก้อนเห็นว่าหลวงปู่สมบุญนั้นสนใจศึกษาและสัมมาปฏิบัติ จึงถ่ายทอดวิชาวิทยาคมต่างๆให้โดยไม่มีปิดบังให้แก่หลวงปู่สมบุญ เปรียบเหมือนกับไม่มีอะไรเหลือในมือของอาจารย์แล้ว สำหรับหลวงปู่ก้อนนั้นเป็นที่รู้กันดีในยุคของท่านนั้นถือได้ว่าเป็นเอกอุเกจิอาจารย์ โดยมีผู้คนมากมายเดินทางไกลมากราบนมัสการขอบารมีหลวงปู่เป็นประจำ หลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญาผู้สืบสายอาคมวิชาแห่งสำเร็จลุน สังฆราชแห่งประเทศลาวผู้เป็นปรมาจารย์แห่งลุ่มน้ำโขง ปาฏิหารย์ของสำเร็จลุน หลวงปู่โต หลวงปู่ก้อนมีมากมาย เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาลูกศิษย์ ลูกหา และชาวบ้านทั่วไป โดยไม่มีข้อกังขา
หลวงปู่บุญเริ่มต้นการธุดงค์โดยไปศึกษาวิชากรรมฐานและวิทยาอาคมเพิ่มเติม กับหลวงปู่ชา สุภัทโทแห่งวัดหนองป่าพงแล้วจึงออกธุดงค์ไปสักการะดินแดงแห่งมหาบูรพาจารย์สำเร็จลุนที่ภูเขาควาย ณ ประเทศลาว และธุดงค์ต่อเนื่องจนทั่วภาคอีสาน เหนือ กลาง ตะวันออก ตะวันตกของประเทศไทย จนถึงประเทศพม่า ทั้งยังได้เพียรศึกษาและปฏิบัติวิชากรรมฐานและวิทยาอาคมต่างๆ จากบูรพาจารย์หลายท่านมากมาย
เป็นต้นว่า หลวงพ่ออาสภะมหาเถโร ต้นตำรับกรรมฐานแบบ ยุบหนอ พองหนอ, หลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุ, พระมหาธนิต ปัญญาปสุโต ผู้ริเริ่มงานปริวาสกรรมที่วัดปอแดง, หลวงพ่อเต๋ คงทอง สุดยอดตะกรุดแห่งนครปฐม, หลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้าศิษย์เอกของ ครูบาศรีวิชัย,หลวงปู่จันทโรภาส วัดป่าข่อยซึ่งเป็นศิษย์ธรรมทายาทของหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จากการที่หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล มุ่งหวังมรรคผลนิพพานจึงได้ปฏิบัติธุดงควัตรอย่างยาวนานถึง๒๐ปีและด้วยอภิญญาที่สะสมและวิทยาคมอันเป็นที่สุด
หลวงปู่บุญ ท่านได้สร้างสวนนิพพานขึ้น โดยมีประสงค์เพื่อ “สร้างดวงตาให้ชาวโลก และเพื่อแสดงกตเวทีบูชาต่อบูรพาจารย์” สวนนิพพานมีอาณาเขตประมาณ 300 ไร่ เป็นวิเวกสถานแหล่งปฏิบัติธรรม และเป็นสถานปฏิบัติกรรมฐาน วิปัสนาแก่พระสงฆ์โดยทั่วไป โดยมีการจัด งานปริวาสกรรมทุกๆ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๓ ซึ่งจะมีทั้ง
พระสงฆ์และฆาราวาสเข้าร่วมงานนี้มากกว่า 2000 คนในทุกๆปี
หลักธรรมที่ทางหลวงปู่สมบุญ เทศนาสั่งสอนญาติโยมอย่างต่อเนื่องคือ ลดละไฟ 3 กอง คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หากสามารถดับไฟ 3 กองนี้หรือเพียงแค่ลดได้ชีวิตนี้ก็จะเป็นสุข หรือปริศนาธรรมหลายอย่างที่หลวงปู่สร้างขึ้นเพื่อเตือนสติของเหล่าศิษยานุศิษย์ผู้ศรัทธาท่านคือ “เชิงตะกอนสำหรับตัวท่านเอง”
เพื่อเตือนสติเหล่าศิษย์ว่าทุกอย่างล้วนมีสิ้นสุด เมื่อวันสุดท้ายมาถึงตัวเราไม่สามารถเอาอะไรไปได้ ด้วยเมตตาของหลวงปู่สมบุญ มีเหลือคณา หลวงปู่ได้ออกช่วยเหลือนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆโดยนำปัจจัยที่ได้รับจากการถวายจากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาต่อหลวงปู่นำไปซื้อเครื่องเขียน หนังสือ เครื่องกีฬาต่างๆที่จำเป็น ไปช่วยเหลือเด็กๆ ตามโรงเรียนที่ขาดแคลนด้วยความเมตตา