ธนบัตร 100 โทมัส ร.9 สภาพผ่านการใช้งานยังสวย ไม่มีขาด ไม่มีรู พิจารณาความสมบูรณ์ตรงตามรูปส่องไฟครับ
ข้อมูลสินค้า
ราคา
399.00 350.00 บาท
ขายแล้ว
9 ชิ้น
ร้านค้า
ธนบัตร 100 โทมัส ร.9 สภาพผ่านการใช้งานยังสวย ไม่มีขาด ไม่มีรู พิจารณาความสมบูรณ์ตรงตามรูปส่องไฟครับ
ข้อมูลธนบัตร
ธนบัตร 100 บาท รุ่น 4 แบบ 9 มีรูปลักษณะคล้ายกันกับธนบัตร 100 บาท รุ่น 3 แต่มีส่วนที่เปลี่ยนแปลงคือใช้พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นภาพลายน้ำแทนการใช้ภาพพานรัฐธรรมนูญอย่างที่เป็นมานับตั้งแต่ธนบัตรรุ่น 1 - 3
จุดเด่นสำคัญที่ง่ายต่อการสังเกตของธนบัตร 100 บาท รุ่น 4 คือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นภาพพระชนมพรรษามากขึ้นหรือที่เรียกกันว่า พระพักตร์แก่ ไม่มีตัวการันต์ที่คำว่าธนบัตร เมื่อยกส่องจะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 และเห็นแถบเส้นใยเคลือบโลหะฝังในแนวตั้งของธนบัตร
ธนบัตร 100 บาท รุ่น 4 แบบ 9 นี้ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2502
ขนาดธนบัตร
8.70 x 14.70 เซนติเมตร
หมวดอักษรและหมายเลข
ข ๙๔ - ข ๑๐๐, ค ๑ - ค ๑๐๐, ง ๑ - ง ๑๐๐ และ จ ๑ - จ ๑๓๓
ธนบัตรด้านหน้า
มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องแบบจอมทัพอยู่ทางซ้าย มีรูปพระครุฑพ่าห์อยู่กึ่งกลางตอนบน มีรูปช้างไอราพตสามเศียรอยู่มุมขวาล่าง มีภาพประกอบที่ตำแหน่งกลางคือซุ้มประตูยอดมงกุฎ วัดอรุณราชวราราม หมวดอักษรและหมายเลขธนบัตรพิมพ์ด้วยหมึกสีดำ คำว่าธนบัตรไม่มีตัวการันต์ เมื่อยกส่องจะเห็นแถบเส้นใยเคลือบโลหะฝังตามแนวตั้ง และลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9
ธนบัตรด้านหลัง
ภาพประธานคือภาพพระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่ภายในกรอบล้อมรอบด้วยลายเฟื่อง พิมพ์ข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรไว้ที่ตรงกลางด้านล่าง
ข้อความการแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่น 1 - 3 โดยโทษเดิมเขียนว่า "โทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตรคือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่พันบาทถึงหมื่นบาทหรือหรือสิบเท่าราคาธนบัตรปลอมแล้วแต่จำนวนไหนจะมากกว่ากัน" โทษใหม่ที่หนักกว่าเดิมเขียนว่า "โทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตร คือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงยี่สิบปี และปรับอย่างสูงสี่หมื่นบาท" เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายอาญาที่เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2500
ลายมือชื่อบนธนบัตร
ส. - โชติ
โชติ - โชติ
สุนทร - ป๋วย
ส. - ป๋วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายเสริม วินิจฉัยกุล (26 ก.ย. 2500 - 20 ต.ค. 2501)
นายโชติ คุณะเกษม (10 ก.พ. 2502 - 1 พ.ค. 2502)
นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ (1 พ.ค. 2502 - 8 ก.ค. 2508)
นายเสริม วินิจฉัยกุล (8 ก.ค. 2508 - 15 ต.ค. 2516)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
นายโชติ คุณะเกษม (24 ก.ค. 2501 - 3 พ.ค. 2502)
นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ (11 มิ.ย. 2502 - 15 ส.ค. 2514)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง
การพิมพ์หมึกนูน ลายน้ำในเนื้อกระดาษ แถบเส้นใยเคลือบโลหะฝังในเนื้อกระดาษ