คำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ปัญญา ถนอมรอด
คำอธิบาย-ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-ยืม-ค้ำประกัน-จำนอง-จำนำ-ปัญญา-ถนอมรอด
ข้อมูลสินค้า
ราคา
350.00 314.00 บาท
ขายแล้ว
1,300 ชิ้น
ร้านค้า
คำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ปัญญา ถนอมรอด
ผู้แต่ง : ปัญญา ถนอมรอด (ศูนย์หนังสือเนติบัณฑิตยสภา)
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่ 17 : 2565
จำนวนหน้า : 457 หน้า
ขนาด : มาตราฐาน
รูปแบบ : ปกอ่อน
9786164041066

คำนิยม

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เป็นวิชาหนึ่งที่อยู่
ในหลักสูตรการเรียนการสอน ภาคหนึ่ง ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
โดยมีคำถามเกี่ยวกับวิชานี้ครั้งแรกในการสอบสมัยที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๙๖
เรื่องจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๑๖ และมาตรา ๗๑๘
สำหรับเนื้อหาสาระของกฎหมายในสวนนี้ จะศึกษาปัญหาในกฎหมายตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติว่าด้วยเอกเทศสัญญา ยืม ค้ำประกัน จำนอง
และจำนำ โดยการวิเคราะห์หลักกฎหมาย ทฤษฎีและคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้สามารถ
ปรับใช้บทบัญญัติของกฎหมายได้ในเชิงปฏิบัติ
อาจารย์ปัญญา ถนอมรอด เป็นอาจารย์ผู้บรรยายภาคปกติ วิชากฎหมายแพ่ง
ษณะยืน ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณ
าเป็นระยะเวลากว่ายี่สิบปีและเป็นหัวหน้าภาควิซาดังกล่าวของสำนักอบ
กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะและประสบการณ์ที่สั่งสมมาจาก
การเป็นข้าราชการตุลาการเป็นระยะเวลานานจนดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เรียบเรียง
คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เล่มนี้
มอบให้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์ เพื่อเป็น
ตำราประกอบการเรียนแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวม เนื้อหามาจากการศึกษาตัวบทกฎหมาย หลักกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกา คำบรยายและความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหลายท่าน
ตลอดจนได้แสดงทรรศนะแง่มุมของการใช้กฎหมายจากประสบการณ์ของท่านในการ
ปฏิบัติหน้าที่ทางตุลาการ และในฐานะอาจารย์ผู้บรรยายของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย
แห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยจัดทำสารบาญไว้อย่างละเอียดเพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าสืบค้น
ได้โดยง่าย
หนังสือคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน
จำนอง จำนำ เล่มนี้ ได้จัดพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งจำหน่ายหมดไปอย่างรวดเร็ว
แล้ว ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๑๗ นี้ ท่านอาจารย์ปัญญา ถนอมรอด ได้ปรับปรุงแก้ไขโดย
เพิ่มเติมคำพิพากษาศาลฎีกาจนถึงปีปัจจุบัน อีกทั้งเรียบเรียงเนื้อหาในบางส่วนขึ้นใหม่ให้
สอดคล้องกับกฎหมายที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้ความวิริยะและ
อุตสาหะเป็นอย่างยิ่งจนสำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมา หนังสือเล่มนี้จึงเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่า
เล่มหนึ่งในวงการกฎหมายไทย
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาขอขอบคุณท่านอาจารย์ปัญญา
ถนอมรอด ที่ได้กรุณาอุทิศเวลาเรียบเรียงตำราเล่มนี้ซึ่งเนื้อหาสาระเป็นไปตามลำดับ
ขั้นตอน อ่านเข้าใจได้ง่าย และมอบให้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เป็นผู้จัดพิมพ์ตลอดมา หวังว่าตำราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักกฎหมายและผู้ที่สนใจ
เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้ารวมตลอดถึงในทางปฏิบัติ และเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าแก่

วงการกฎหมายสืบไป
(นายศักดา ช่วงรังษี)
เลขาธิการ
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

สารบาญ
ยืม
บททั่วไป
๑. เจตนาของคู่สัญญา
๒. ความสามารถในการทำนิติกรรม
๒.๑ กรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นคู่สัญญา
๒.๒ กรณีนิติบุคคลเป็นคู่สัญญา
๓. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
ยืมใช้คงรูป
บทที่ ๑ ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป
๑. เป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน
๒. เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน
๓. เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม
๔.เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
บทที่ ๒ หน้าที่และความรับผิดของผู้ยืมใช้คงรูป
๑. หน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป
๒. ความรับผิดของผู้ยืมในกรณีที่ ทรัพย์สินที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย
๒.๑ ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเมื่อผิดหน้าที่
๒.๒ ผู้ยืมฟ้องผู้ทำละเมิดทำให้ทรัพย์สินที่ยืมเสียหายได้หรือไม่
บทที่๓ ความระงับของสัญญายืมใช้คงรูป
๑.สัญญาระงับเพราะผู้ยืมตาย
๒.สัญญาระงับเพราะเหตุอื่น
บทที่ ๔ อายุความ
๑. อายุความเรียกค่าทดแทน
๒. อายุความเรียกคืนทรัพย์สินที่ยืม
ยืมใช้สิ้นเปลือง
บทที่ ๑ลักษณะของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน
เป็นสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม
๒.๑ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้ยืม
๒.๒ กรณีที่เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินที่ยืม
๓. วัตถุแห่งหนี้ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองต้องเป็นทรัพย์ชนิดใช้
ไปสิ้นไป
เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
สัญญาจะให้ยืม
หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง
๑. หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ส่งมอบและส่งคืน
๒. หน้าที่คืนทรัพย์สิน
๓. กำหนดเวลาที่จะต้องคืนทรัพย์สิน
๓.๑ สัญญายืมที่มีกำหนดเวลาใช้คืน
๓.๒ สัญญายืมไม่มีกำหนดเวลาใช้คืน
บทที่ ๓ อายุความ
๑. กรณียืมใช้สิ้นเปลืองทั่วไป
๒. กรณีที่ผ่อนชำระหนี้เป็นงวด
กรณีผู้ยืมตายก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ
บทที่ ๕ กู้ยืมเงิน
สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
กรณีที่ไม่ใช่กู้ยืมเงิน
๓. การส่งมอบเงินที่ยืม
๔. หลักฐานแห่งการกู้ยืม
๑ ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
๔.๒ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น
ผู้กู้พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงไดหรือตราประทับ
บทที่ ๒
๔.๓
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด
กรณีหลักฐานแห่งการกู้ยืมหาย
P.A
การกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ยกขึ้นฟ้องหรือต่อสู้คดีไม่ได้
๕. กรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม
๕.๑ แก้ไขจำนวนเงินในขณะเขียนสัญญากู้
๕.๒ แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เดิมเมื่อมีการกู้ยืมครั้งใหม่
๕.๓ แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ยินยอม
สัญญากู้ไม่ได้กรอกจำนวนเงิน
P.A.๑ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินสูงกว่าที่กู้จริง
๕.๔.๒
ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินตามที่กู้จริง
e.๕
กรณีที่กู้ยืมเพียงครั้งเดียวแต่ผู้กู้ลงชื่อไว้ใน
สัญญากู้ ๒ ฉบับ
๖. ดอกเบี้ย
๑. ดอกเบี้ยที่กำหนดโดยกฎหมาย (พ.ศ. ๒๕๖๔)
ดอกเบี้ยเกินอัต
คำที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “ลักษณะละเมิด”ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคลคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกค้ำประกัน จำนอง จำนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2566ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เล็ก

สินค้าใกล้เคียง