สมาชิกสภาคองเกรส คำสัญญา และอำนาจ TOBE A CONGRESSMAN: The Promise and The POWER Edited by Sven Groennings and Jonatha...
ข้อมูลสินค้า
ราคา
680.00 บาท
ร้านค้า
สมาชิกสภาคองเกรส คำสัญญา และอำนาจ TOBE A CONGRESSMAN: The Promise and The POWER Edited by Sven Groennings and Jonathan P. Hawley สเวน โกรนนิงส์ และ โจนาธาน พี.ฮอว์ลี นพมาศ ธีรเวคิน แปล โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ตรวจ หนังสือแปลชุด นวทัศน์ เล่มที่ ๔๒ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา พ.ศ. ๒๕๒๓ มี ๒๖๐ หน้า ๒๔/๑๖
สมาชิกสภาคองเกรส : คำมั่นสัญญาและอำนาจ
สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาเป็นสถาบันการเมืองทรงอำนาจที่ควรศึกษา หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานการศึกษาแง่มุมต่างๆของสภาคองเกรสอย่างพิศดาร ซึ่งผู้เขียน 11 คนได้มีโอกาสคลุกคลีโดยใกล้ชิดในฐานะผู้เคยปฏิบัติงานกับ สส ได้ตรวจสอบองค์ประกอบทีครอบคลุมวิถีชีวิตของสภา สิ่งที่สมาชิกสภาจะต้องเกี่ยวข้องเป็นประจำ การจัด-ควบคุมองค์กรเจ้าหน้าที่ติดต่อกับมหาชน เพื่อนร่วมงานของสมาชิกสภาฯในคณะกรรมาธิการต่างๆ และกลุ่มผลประโยชน์ การเสนอนโยบาย การเผชิญกับอำนาจ การยอมรับความเป็นผู้นำและการปกป้องประวัติการทำงานของตนเองในกรณีที่ สส. ถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ฯลฯ ผู้เขียนเหล่านี้ได้นำเอาประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆมาจาระไนอย่างถี่ถ้วนควรแก่การพิจาณาในแง่ของการปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
แพร่พิทยา
หมายเหตุจากผู้ตรวจ:- สภาคองเกรส คือ สถาบันนิติบัญญัติของสหรัฐอเมริกาซึ่งประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฏร และ วุฒิสภา สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจะได้รับเลือกจากประชาชนโดยถือจำนวนประชาชนแต่ละมลรัฐเป็นเกณฑ์ คือ มลรัฐมีประชาชนมากก็จะมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรน้อยตามสัดส่วน สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจะอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี สำหรับวุฒิสภานั้นทุกมลรัฐจะมีสมาชิกวุฒิสภาได้เท่ากัน คือ มลรัฐละ 2 คน สมาชิกสภาจะอยู่ในตำแหน่งได้ครั้งละ 6 ปี
นำเรื่อง
ในหนังสือเรื่อง สมาชิกสภาคองเกรส:คำสัญญาและอำนาจ ผู้เขียนสิบเอ็ดท่านได้ตรวจสอบองค์ประกอบที่ครอบคลุมวิถีชีวิตของสภาคองเกรส สิ่งที่สมชิกสภาคองเกรสจะต้องเกี่ยวข้องเป็นประจำคือ การณงค์เลือกตั้งเป็นนิจ การจัดและการคุมองค์กรและเจ้าหน้าที่ผู้ติดต่อกับมหาชน และ สนองตอบความต้องการทั้งหลายของคนเหล่านี้ สามชิกสภาคองเกรส เพื่อนร่วมงานในคณะกรรมการธิการต่างๆ และ ในกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เสนอนโยบาย เผชิญกับอำนาจ ยอมรับความเป็นผู้นำ และ ปกป้องประวัติการทำงานของตนเอง ในกรณีที่ถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม
ผู้เขียนเหล่านี้ศึกษาแง่มุมต่างๆที่ได้กล่าวแล้วของสภาคองเกรส ในฐานะที่ตนเองได้เรียนรู้จากการที่เคยทำงานและจากการสังเกตสิ่งต่างๆที่สภาคองเกรสโดยตรง นักรัฐศาสตร์ชื่อ เอฟรอน เอม. เคิร์กแพทริก อธิบายเกี่ยวกับโครงการให้ทุนของสภาคองเกรส สมาชิกสภาผู้แทนฯ วิลเลียม เอ. สไตเกอร์ กล่าวถึงงานของผู้รับทุนในที่ทำงานของท่าน วุฒิสมาชิก ฮิวเบิร์ต เอช. ฮัมฟรีย์ ได้ให้ข้อคิดเห็นส่วนตัว เกี่ยวกับความหมายของการเข้าไปอยู่ในสภาคองเกรส โดยประเมินจากประสบการณ์อันพิเศษของท่าน
สารบัญ
คำกล่าวนำ : การทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเมืองที่สภาคองเกรส
คำนำ : ผู้รับทุนศึกษาวิจัยสภาคองเกรสในสำนังานของสมาชิกสภาคองเกรส สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรวิลเลียม เอ. สไตเกอร์
บทนำ : การเข้าไปอยู่ในสภาคองเกรส มีความหมายอย่างไร
1. การณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
2. สมาชิกหน้าใหม่เข้าสภา
3. ความสัมพันธ์ซึ่งขาดกันไม่ได้ : สภาคองเกรสและหนังสือพิมพ์
4. ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ : การศึกษากรณีร้องเรียนในสภาผู้แทนราษฏร
5. สโมสรในสภาคองเกรส : กลุ่มวันพุธในสภาผู้แทนราษฏร
6. คณะกรรมมาธิการ และ การเมืองในการมอบหมายหน้าที่
7. ระบบอาวุโส และ การเป็นผู้นำในคณะกรรมาธิการ : วิธีเลือก
8. การเมืองเรื่องความอดอยาก : การตั้งคณะกรรมมาธิการพิเศษในวุฒิสภา
9. สภาคองเกรสได้ความคิดใหม่ๆ จากผู้เชี่ยวชาญนอกสภา ฯ
10. ความเป็นผู้นำ : บทบาทและวิธีการของวุฒิสมาชิกเอฟเวอร์เร็ท เดิร์กเส็น
11. สมาชิกสภา ฯ ที่อยู่ในตำแหน่งจะแพ้เลือกตั้งได้หรือไม่