หม้อข้าวหม้อแกงลิง ไตรโชคาร์ปา พันธุ์ผสม(ลุ้นสี) แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Nepenthes trichocarpa)
หม้อข้าวหม้อแกงลิง-ไตรโชคาร์ปา-พันธุ์ผสม-ลุ้นสี-แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ-nepenthes-trichocarpa
ข้อมูลสินค้า
ราคา
150.00 บาท
ขายแล้ว
6 ชิ้น
ร้านค้า
ประวัติ: หม้อข้าวหม้อแกงลิงไตรโชคาปา (Nepenthes x trichocarpa) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงลูกผสมระหว่างกราซิลิสและแอมพูลาเรีย ถูกรายงานลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดย บี.เอช. แดนเซอร์ (B. H. Danser) โดยคำว่า trichocarpa มาจากภาษากรีกสองคำคือ trikho เเปลว่า ขน, เส้นด้าย และ -carpus เเปลว่า ผล โดยเวลาเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ ต้องมีตัว X คั่นระหว่างสกุลและชนิด เนื่องจากเป็นลูกผสมข้ามชนิดกัน และเป็นลูกผสมที่สามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติเช่นกันเมื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิงกราซิลิสและแอมพูราเลียมีพื้นที่การกระจายพันธุ์เหลื่อมซ้อนกัน

ลักษณะทั่วไป: ต้นผอมเหมือนกราซิลิส ใบยาวเป็นรูปหอกแต่กว้างเหมือนแอมพูราเลีย และหม้อมีรูปทรงเป็นโถทรงยาวเหมือนการผสมระหว่างกราซิลิสและแอมพูราเลีย สามารถแตกกอได้เป็นจำนวนมากและสามารถออก หม้อผุด ได้

การปลูกเลี้ยง: ต้องการความชื้นสูง อากาศร้อน และแสงแดดจัดอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน ปลูกง่าย โตง่าย อัตราการรอดชีวิตสูง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการปักชำ

วิธีการดูเเลต้นไม้ในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ห้ามเปิดฝา
- ห้ามปล่อยให้โดนอากาศแรง ๆ หรืออยู่ในที่สกปรก เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการปนเปื้อน
- ห้ามโดนแสงแดดโดยตรง เพราะความร้อนจะทำให้ต้นไม้โดนอบและตาย ให้ใช้แสงไป LED ในห้องหรือหลอดไฟ LED แทน
- สามารถนำต้นไม้ออกได้เลยถ้าต้นไม้มีรากแข็งแรงและใบสมบูรณ์ (อ่านตามคู่มือที่แนบไว้)
- สามารถสอบถามเพิ่มเติมการดูแลต้นไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือวิธีการเพิ่มจำนวนต้นไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เลย

ไม้สภาพปลอดเชื้อไม่มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส ไม้ในขวดจะสามารถเติบโตและแตกใบ ราก และหน่อได้อย่างต่อเนื่อง การจะเอาออกมาจากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเอาออกมาก็ต่อเมื่อ
1. ผู้เลี้ยงต้องการนำไม้ออกมาปรับสภาพและปลูกลงกระถางเพื่อให้ไม้แข็งแรง ใหญ่ และสวยงาม
2. ไม้ในขวดเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากฝาขวดเปิด หรือมีรอยรั่ว การขนส่งไม่ดี อากาศร้อน หรือเชื้อราที่เดิมทีแล้วอาจปนเปื้อนมาตั้งแต่แรกแต่ยังอยู่ในสภาวะพักตัว เกิดการตื่นจากการพักตัวและแบ่งเซลล์อีกครั้ง
3. ไม้ในขวดเติบโตจนเต็มขวด หรืออาหารวุ้นถูกพืชดูดดซึมไปใช้จนหมด

วิธีการเอาออกมาจากขวดมีดังนี้
1. ใช้ตะเกียบหรือไม้เสียบลูกชิ้น ค่อย ๆ เขี่ยอาหารวุ้นให้หลุดออกจากขวด
2. ใช้น้ำเปล่าชำระล้างวุ้นออกจากต้นพืชออกให้หมด มิฉะนั้นวุ้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3. นำต้นไม้ที่ล้างแล้วไป่ในยากันเชื้อรา ผู้ขายแนะนำให้ใช้แคปเเทน เพราะหาง่ายและราคาถูก แช่ไว้ประมาณ 30 นาที
4. นำต้นพืชไปแช่ในน้ำยาเร่งรากอีก 30 นาที (ขั้นตอนนี้เป็นการช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วขึ้น อาจไม่จำเป็นก็ได้)
5. นำพืชไปใส่วัสดุปลูกที่ชุ่มน้ำ เช่น ขุยมะพร้าวสับ + เพอร์ไลท์, สแฟคนั่มมอส + เพอร์ไลท์, พีทมอส + เพอร์ไลท์
6. เสร็จแล้วนำไปอบด้วยการใส่ถุงร้อน แล้วเอาไว้ในที่ร่ม ****ห้ามโดนแสงแดดแรงและร้อนจัด เพราะพืชอยู่ในสภาพเย็นและปลอดเชื้อมาก่อน การเอาไว้ในที่ร้อนจะทำให้ต้นไม้น็อคและตายได้
7. หลังจากผ่านไป 3 - 4 อาทิตย์ ถ้าหากว่าพืชมีการสร้างใบขึ้นมาใหม่แปลว่าพืชเริ่มปรับตัวได้แล้ว ให้ค่อย ๆ เจาะรูถุง อาทิตย์ละ 1 - 2 รู *** ขั้นตอนนี้ต้องใจเย็น อย่ารีบเปิดปากถุงทันทีมิฉะนั้นพืชอาจตายได้
8. ค่อย ๆ ย้ายพืชให้รับแสงทีละนิด ๆ จนกว่าจะมั่นใจพอจึงค่อยปลูกเลี้ยงได้ตามปกติ


#ไม้กินแมลง #พืชกินแมลง #หยาดน้ำค้าง #เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คำที่เกี่ยวข้อง
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออุปกรณ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อชุดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพาะเนื้อเยื่อ

สินค้าใกล้เคียง