💎แก้วโป่งข่าม แร่เขี้ยวหนุมาน Quartz with Inclusion 100g. หิน เศษพลอย พร็อพถ่ายรูป ประดับ แต่งตู้ปลา แต่งต้นไม้ วัถุมงคล
ข้อมูลสินค้า
ราคา
60.00 บาท
ขายแล้ว
31 ชิ้น
ร้านค้า
💧⭐️☁️ แก้วโป่งข่าม เป็นหินแก้วตระกูลแร่ควอตซ์ (Quartz) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แร่เขี้ยวหนุมาน” โดยตามมาตรความแข็งของโมส์ (Moh’s scale of hardness) ควอตซ์มีค่าความแข็งอยู่ในอันดับที่ 7 (ความแข็งมี 10 อันดับ เพชร แข็งที่สุด คืออันดับ 10) โดยลักษณะของควอตซ์จะมีความโปร่งใส ไปจนถึงทึบแสง และมีมากมายหลายสี ควอตซ์จึงจัดเป็นรัตนชาติตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่ง และหลายพื้นที่ในประเทศไทยพบควอตซ์หลายชนิด แต่ชนิดที่นำมาทำแก้วโป่งข่ามนั้น พบมากที่ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
“แก้ว” ตามความหมายโดยทั่วไป หมายถึง หินใส ที่สามารถมองเข้าไปข้างในได้
“โป่ง” หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลม หรือแก๊ส เช่น ดินโป่ง (ดินที่มีเกลือ) เป็นต้น
“ข่าม” เป็นภาษาถิ่น หมายถึง อยู่ยงคงกระพัน
“แก้วโป่งข่าม” จึงมีความหมาย คือ หินใสที่มองเล็ดลอดเข้าไปข้างในและมีความอยู่ยงคงกระพัน โดยเกิดจากการผุดขึ้นมาจากช่องดิน
แก้วโป่งข่าม เป็นอัญมณีศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเถินมาช้านาน เชื่อกันว่าสามารถคุ้มภัยให้คุณในทางที่ดี อีกทั้ง อำเภอเถินยังมีแหล่งกำเนิด (ขุมแก้ว) ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่ “ดอยโป่งหลวง” บ้านนาบ้านไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ถอด มีการขุดพบโป่งข่ามยักษ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2545 ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์ วัดบ้านนาบ้านไร่ เป็นองค์พระเจ้าแก้วโป่งข่ามที่องค์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสูง 99 เซนติเมตร วัดรอบฐาน 66 เซนติเมตร น้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม อันเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน
แน่นอนว่า เมื่อมีแหล่งกำเนิดอยู่ใกล้ชุมชน ต้องเกิดอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ ชาวบ้านจึงได้ขุดเอาหินแก้วโป่งข่ามจากแหล่งแก้วศักดิ์สิทธิ์นี้ นำมาเจียระไน โดยอาศัยประสบการณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ก่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้แก่คนในชุมชนจนกลายเป็นอุตสาหกรรมประจำหมู่บ้าน เมื่อหน่วยงานภาครัฐเล็งเห็นถึงศักยภาพของคนในชุมชน จึงได้ให้การสนับสนุน ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มเจียระไนแก้วโป่งข่าม ตำบลแม่ถอด โดยมีผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ทั้งแหวน ล็อกเกต กำไลข้อมือ จี้สร้อย รวมไปถึงการแกะสลักพระพุทธรูป ซึ่งถือเป็นความมีสิริมงคลและความขลัง
เมื่ออยู่ภายใต้ผิวดิน แก้วโป่งข่ามสามารถที่จะดูดขับพลังงานจากธรรมชาติได้ ตลอดจนแสดงพลังงานออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปจนคนโบราณสังเกตพบ และกำหนดชื่อเรียกขานแก้วแบบนั้นๆ ตามลักษณะ และรูปแบบพลังงานที่แสดงออกมาเพื่อสะดวกแก่การจดจำ และใช้สอย จึงจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้